3056_5172
3 ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย จึงมุ่งเน้นการจัดการ ศึกษาโดยยึดมาตรฐานการศึกษาเป็นหลัก การประกันคุณภาพการศึกษา หมายรวมถึง ระบบและกลไกที่สถานศึกษา กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมั่นใจว่า สถานศึกษาบริหารและจัดการศึกษาที่มี คุณภาพและได้มาตรฐาน รวมถึงวิธีการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่สถานศึกษาดำเนิน การเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่มุ่งหวังและสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง ตลอดจนบรรลุมาตรฐานการศึกษาที่ใช้เป็นเกณฑ์การประเมินผลและเป็นไป ตามเงื่อนไขของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบ ด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง และมาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากผลการศึกษาปรากฏว่า การดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกัน คุณภาพการศึกษาในรอบ ๒ ทศวรรษ (พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๕๗) พบว่า การดำเนินการมิได้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่ปรากฏเจ้าภาพดำเนินการตามมาตรา ๔๗ ของพระราช- บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นหัวใจของหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน คุณภาพการศึกษา เพื่อให้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา เกิดสัมฤทธิ์ผลใน การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายการศึกษา แห่งชาติ ในรอบการประกันคุณภาพภาพนอกระยะที่ ๔ จึงต้องเร่งรัดดำเนินการดังนี้ ๑. ให้สภาการศึกษา ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่พัฒนาและนำเสนอมาตรฐานการ ศึกษาของชาติ รวมทั้งการประเมินการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ สภาการศึกษาพึงเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนดำเนินการระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาตามมาตรา ๔๗ ๒. หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา พึงศึกษาทบทวนว่าระบบการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา มีการดำเนินการตามมาตรา ๔๘ มีความสอดคล้องกับ มาตรา ๔๗ และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และการประกันคุณภาพการศึกษา มากน้อยเพียงใด ๓. การดำเนินงานที่ผ่านมาของการประเมินคุณภาพภายนอก ยังไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพภายนอกตามนิยามในมาตรา ๔ ของพระราช- บัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่มุ่งให้การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา ๔. จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาในการกำหนดนิยามความหมายของระบบการ ประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรา ๔๗ สภาการศึกษาน่าจะเสนอให้มีการปรับปรุงและ เพิ่มเติมนิยามสำคัญเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในมาตรา ๔ ของพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยนิยาม “ระบบการประกันคุณภาพภายใน” แทน “การประกันคุณภาพภายใน” ให้มีความหมายครบถ้วนที่เป็นระบบการประกันคุณภาพ ภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งต้องประกอบด้วย การพัฒนา คุณภาพ การติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ มิใช่เน้นแต่การประกันคุณภาพ ภายใน ที่หมายถึงการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบเท่านั้น และนิยาม “ระบบ การประกันคุณภาพภายนอก” แทน “การประกันคุณภาพภายนอก” โดยเน้นย้ำว่า ระบบ การประกันคุณภาพภายนอก ต้องประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายนอก และการ ติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา อีกทั้งควรมีนิยาม “คุณภาพการ ศึกษา” ซึ่งการปรับปรุงนิยามดังกล่าวจะนำไปสู่การปรับปรุงกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ. ดร.สันทัด โรจนสุนทร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เมื่อวันเฉลิม พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม เป็นวันดินโลก ความโดยสรุปว่า ในที่สุดเราก็ได้วันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันดินโลกอย่างสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ทางดินจะได้มีการฉลองกันทั่วโลก เป็นการถาวร เริ่มด้วยการเข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อ มนุษยธรรม” “Humanitarian Soil Scientist” เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ โรงพยาบาลศิริราช และในโอกาสเข้าเฝ้าฯ นั้น ได้ขอวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ให้เป็นวันดินโลกด้วย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO รับเรื่องต่อ โดย จัดงานฉลองที่โรม และนำเข้ากรรมการ FAO เพื่อนำเรื่องส่งต่อไป เข้าสมัชชา สหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์ก ในที่สุดจากผลของการประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๖๘ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ประกาศให้วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก และ กำหนดให้ปี ๒๕๕๘ เป็นปีดินสากลอีกด้วย เรื่องนี้ใช้เวลากว่า ๑๐ ปี ในการประชุมดินโลก ๒ ครั้ง ซึ่งทาง International Union of Soil Sciences หรือ IUSS มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ในเรื่องของวันที่ ๕ ธันวาคม เป็นวันดินโลก (ที่อเมริกาและออสเตรเลีย รวมเป็น ๘ ปี) สำหรับเมืองไทย ผู้บรรยายได้นำเรื่องเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ทางทำเนียบองคมนตรีขอร้องไม่ให้ใช้วันที่ ๕ ธันวาคม เรื่องจึงชะงักไป จนกระทั่ง ผู้บรรยายได้นำผู้แทนของ IUSS ขอเข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่องนี้จึงสำเร็จ ยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์ทางดินของประเทศไทย ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ระบบการตรวจบทความ ของวารสารโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) ความโดยสรุปว่า ผลงานวิจัยสร้างองค์ ความรู้ใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของวารสารที่ เผยแพร่เฉพาะฐานข้อมูล PubMed มากกว่าล้านเรื่องต่อปี และยังมีวารสารวิชาการใน ฐานข้อมูลอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากกว่าหลายเท่า วารสารเกิดใหม่มีเป็นจำนวนมาก โดย เฉพาะวารสารที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้ตลอด (open access) เฉพาะบนฐานข้อมูล ของ DOAJ (Directory of Open Access Journals) มีถึง ๙,๘๐๔ รายการ (ข้อมูลวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗) แสดงให้เห็นว่า การลงพิมพ์ในวารสาร ถ้าจำเป็นต้องใช้ผู้ ตรวจสอบบทความก่อนลงตีพิมพ์ ในแต่ละปีจำเป็นจะต้องมีผู้ตรวจสอบนับเป็นสิบ ๆ ล้านครั้ง ทั้งนี้เพราะใน ๑ บทความจำเป็นจะต้องใช้ผู้ตรวจสอบ ๒-๓ คน และบทความที่ ได้ลงจริงขึ้นอยู่กับวารสารว่าจะปฏิเสธบทความนั้นมากน้อยแค่ไหน มีวารสารจำนวนมาก ตอบรับลงพิมพ์ไม่ถึงร้อยละ ๓๐ ของบทความที่ส่งมาให้พิจารณา จากปัญหาดังกล่าวจะ เป็นปัญหาในระบบการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะปริมาณงานในอนาคตอย่าง แน่นอน เมื่อเร็ว ๆ นี้มีบทความลงพิมพ์ในวารสาร Science เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ผู้นิพนธ์ได้สร้างบทความปลอมโดยใช้คอมพิวเตอร์ เช่น กำหนดให้สมุนไพร เอ รักษาโรค บี ได้ผลดีและเปลี่ยนชื่อสมุนไพรไปหลายชนิด รวมทั้งสร้างบทความปลอมทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างในการสร้าง บทความปลอมขึ้นมาจำนวน ๓๖๐ บทความ และใช้ชื่อผู้นิพนธ์และสถานที่อยู่ปลอมจาก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งไปยังวารสารที่ส่วนใหญ่เป็น open access ผลปรากฏว่ามี บทความถึงร้อยละ ๖๐ ได้รับตอบรับให้ลงพิมพ์ ทั้ง ๆ ที่บทความดังกล่าวใช้ความรู้ของ เด็กมัธยมปลาย ก็สามารถประเมินได้ว่าข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าระบบ การตรวจบทความโดยผู้เชี่ยวชาญได้มีการละเลย หรือไม่ได้มีการตรวจสอบบทความ นั้น ๆ และตอบรับให้ลงพิมพ์ได้เลยทั้ง ๆ ที่เป็นวารสารนานาชาติ หลายวารสารเป็นที่ รู้จักกัน และส่วนใหญ่วารสารจะมุ่งทางการค้า โดยคิดอัตราค่า article processing charge (APC) แสดงให้เห็นว่าน่าจะได้มีการพิจารณาถึงการตรวจสอบบทความก่อน ลงพิมพ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่าระบบ peer review ว่ามีความสมบูรณ์แบบแค่ไหน ในอนาคตระบบการตรวจสอบบทความน่าจะแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ การ ตรวจสอบบทความโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนพิจารณาลงพิมพ์เผยแพร่ และกลุ่มที่ ๒ จะเป็นการตรวจสอบบทความหลังจากที่ได้ลงพิมพ์เผยแพร่แล้ว ทั้งนี้ เพราะวารสารใน อนาคตจะอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ผู้อ่านสามารถอภิปราย ตรวจสอบ วิจารณ์ให้ความเห็น ต่อบทความที่ได้เผยแพร่เหมือนการวิจารณ์ข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต ถ้าในรูปดังกล่าว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ peer review ก่อนการพิจารณาลงพิมพ์ การ เปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตที่จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมไปตามยุคสมัย ๏ วันพุธที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ. เกียรติคุณ ทพญ.ใจนุช จงรักษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ฟันกร่อนจาก เกิร์ด ความโดยสรุปว่า ฟันกร่อน (tooth erosion) หมายถึง การสูญเสียเนื้อฟันใน ช่องปากจากสารเคมี ซึ่งไม่เกี่ยวกับการสูญเสียเนื้อฟันจากแบคทีเรีย สารเคมีที่มีความ Feb2014.indd 3 4/16/14 8:54:55 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=