3056_5172
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ รศ. ดร.ผลิน ภู่จรูญ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ผู้นำกับการชี้นำองค์การก้าว สู่การเปลี่ยนผ่านความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ (Leader on Leading Organizational Transformation to the Greater Challenge) ความโดยสรุปว่า ในขณะที่สภาวะ เศรษฐกิจของโลกมีความผันผวนมาก องค์การธุรกิจส่วนใหญ่จึงต้องพัฒนาปรับตัวครั้ง ใหญ่ อย่างไรก็ดีการปรับตัวที่เกิดขึ้นนั้นกลับทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่า เดิม ที่แย่ไปกว่านั้นคือองค์การธุรกิจที่ต่างมุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่าง กันนั้นต่างมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของโลกอย่างฟุ่มเฟือยมาก ซึ่งทรัพยากรส่วน ใหญ่ถูกนำมาใช้สร้างเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจเพียงด้านเดียวโดยไม่ได้คิดถึงประโยชน์ต่อ สังคมที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ ทำให้ละเลยว่ายังมีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้สัมผัส ได้ใช้สินค้าหรือบริการที่ตนเองดำเนินธุรกิจอยู่เลย กล่าวคือ องค์การส่วนใหญ่มุ่งความ ท้าทายของธุรกิจไปที่การสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน แต่ความยากของความท้าทายดังกล่าวจะไม่มีความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความท้าทายในการยกระดับให้สังคมโดยรวมมีมาตรฐานความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น ให้โอกาสของการที่เกิดมาเป็นมนุษย์กับประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งยังยากจน ไม่มีแม้ กระทั่งปัจจัยสี่ที่เพียงพอในการดำรงชีพ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่นี้จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้นำ ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะหากจัดการให้สังคมและสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนาไปใน ทิศทางเดียวกับองค์การแล้ว ก็จะเป็นการร่วมก้าวเดินไปด้วยกัน ซึ่งเป็นการก้าวไปสู่ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า บทบาทของผู้นำในการจัดการธุรกิจจึงควรมีการคิดทบทวนใหม่ (re-thinking) ที่เป็นการสร้างประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการชี้นำ (leading) และการปฏิบัติการจัดการ (execution) ในประเด็นที่สำคัญ คือ ๑. การชี้นำในการ Creating Shared Value : CSV ผู้นำควรชี้นำให้องค์การธุรกิจสำรวจหาความต้องการที่แท้จริงของสังคม ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่กลุ่มลูกค้าเดิม ๆ แต่หมายรวมถึงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นั้น ๆ ที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในปัจจัยพื้นฐานได้ ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะ แต่สินค้าที่ตนเองผลิต บริษัท เนสท์เล่ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะเข้าใจว่า เป็นหน้าที่ของบริษัทที่ดีที่สมควรกระทำ บริษัทพัฒนาผงปรุงรสอาหารที่มีสารอาหารที่ จำเป็น ที่มีราคาเพียง ๓ รูปี เพื่อเปิดโอกาสให้คนจน คนด้อยโอกาส ของอินเดียได้เข้าถึง สินค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนจนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับระบบชลประทาน คุณภาพน้ำ คุณภาพของดิน อากาศ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างองค์การธุรกิจกับชุมชน และสังคมนั้น ๆ ๒. การชี้นำในการ Creating the Optimal Structure : COS ในการดำเนินธุรกิจนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะการทำกำไรเท่านั้น ผู้นำควรเน้น การสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง มั่งคั่งจากธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ เป็นวัตถุประสงค์ของการทำ ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่กว่า บริษัท โคคา โคล่า คำนึงถึงเหตุผลนี้ตลอดมาซึ่งส่งผลให้บริษัทได้รับ การชื่นชมมากที่สุดบริษัทหนึ่งของโลก หนึ่งในกิจกรรมและนโยบายของบริษัทคือ ใน การขยายธุรกิจเพื่อส่งความสุขในการดื่มโค้กนั้น บริษัทไม่ได้จำกัดเฉพาะการทำธุรกิจกับ นักธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสในการทำธุรกิจ การสร้างหน่วยกระจายธุรกิจขนาดย่อยที่เปิด โอกาสให้คนที่มีเงินทุนน้อยสามารถร่วมธุรกิจได้ โดยตั้งตัวเองเป็นตัวแทนโค้กรายย่อยที่ รับผิดชอบการจัดส่งสินค้าในบริเวณท้องถิ่นของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงาน และการ กระจายรายได้อย่างน่ายกย่อง นโยบายนี้มีการดำเนินการทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่ มีประชากรจำนวนมากและมีความยากจนสูง ๓. การชี้นำในการ Creating Coherence Premium : CCP ผู้นำควรให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อสังคมไปพร้อม ๆ กับธุรกิจ และ ควรช่วยพัฒนาบริษัทท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาช่วยเหลือตนเองได้ บริษัท GE เห็นความ สำคัญของคุณภาพชีวิตมนุษย์ จากการเกิดของเด็กในเขตยากจน เด็กบางคนเกิดมาด้วย น้ำหนักตัวที่น้อยมากจำเป็นต้องใช้ตู้อบไฟฟ้าที่มีราคาแพงมากถึง ๒,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตู้ ทำให้สถานพยาบาลไม่สามารถมีตู้อบเพียงพอ GE จึงร่วมมือกับบริษัทท้องถิ่น คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาทดแทน ปรากฏว่าได้ผลงานที่ทำหน้าที่เหมือนตู้อบแต่มีราคา เพียงแค่ ๒๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลทำให้อัตราเด็กที่รอดตายจากการเกิดมีสูงขึ้นอย่าง น่าพอใจ ที่สำคัญบริษัทท้องถิ่นสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดสำหรับคนจนได้อีกมาก เป็นการร่วมมือระหว่างกันแบบเพิ่มพลังระหว่างกันที่ดี ๔. การชี้นำในการ Creating Community Engagement : CCE ผู้นำควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือสังคมในลักษณะที่ให้โอกาสชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา บริษัท DSM จากประเทศเนเธอร์แลนด์ บริษัทที่ผลิตสาร อาหารตั้งต้นคุณภาพสูงสำหรับมนุษย์และสัตว์ มอบความรู้และโอกาสคืนกลับให้สังคมที่ องค์การใช้ในการผลิตสารอาหาร เป็นการให้ความรู้ผ่านการสร้างโรงเรียน การสร้าง เสริมสุขภาพ และพลานามัย รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างถูกวิธีแก่คนด้อยโอกาส คนจน เพื่อจะได้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพของโลกต่อไป ๕. การชี้นำการในการ Creating Eco-System : CES ผู้นำควรชี้นำองค์การให้ใส่ใจกับการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม Broad Group ของประเทศจีนเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการรู้คุณค่าของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป บริษัทได้ออกแบบเทคโนโลยีการสร้างตึกสูง โดยใช้ระยะเวลาสั้นมาก กล่าวคือ สามารถ สร้างตึกสูง ๔๐ ชั้นในเวลาไม่ถึง ๖๐ วัน และเป็นตึกประหยัดพลังงานที่สามารถทนแรง แผ่นดินไหวได้สูงมาก ๖. การชี้นำในการ Creating Supply-chain Accountability : CSA ผู้นำควรสร้างการพัฒนาของตนเองและบริษัทในเครือข่ายไปพร้อมกัน เพื่อ สร้างความเข้มแข็ง บริษัทยูนิลีเวอร์ ไม่ได้มองตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง แต่มองภาพรวม ของอุตสาหกรรมในเครือข่ายของตัวเอง ส่งผลทำให้การสร้างความสามารถในการแข่ง ขันของบริษัทโดดเด่นมาก ที่สำคัญเป็นความร่วมมือตั้งแต่แรงงาน ชาวไร่ เจ้าของ โรงงานอบใบชา รถส่งของ เป็นต้น จนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบริษัททั้งหมดอยู่ในเครือข่าย ของบริษัทยูนิลีเวอร์ ทั้งสิ้น กล่าวโดยสรุปว่า ทั้งหมดเป็นบทบาทและหน้าที่ที่ผู้นำธุรกิจควรดำเนินการเพื่อ สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และแน่นอนว่าบทบาทและหน้าที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้นำธุรกิจ ผู้นำทุกคนควรตระหนักเช่นกันจึงจะสร้างประเทศไทยของเราให้มีความสามารถในการ แข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้ ๏ วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ. ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การย้อนพินิจการ ประกันการศึกษาตามมาตรา ๔๗ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันเป็น ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการพัฒนาประเทศ รวมทั้งสังคมโลกให้มีความก้าวหน้าพัฒนา และเกิด สันติสุข มั่นคงสถาพร การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญ งอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการอบรม การสืบสานทาง วัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อัน เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตการศึกษาซึ่งเป็นการพัฒนาคนเพื่อให้คนพัฒนาชาติบ้านเมือง และประชาคมโลกนั่นเอง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ : ๒๕๔๕) ความสำคัญของการศึกษาและคุณภาพการศึกษา การศึกษามีผลกระทบสำคัญ ต่อเศรษฐกิจหรือรายได้ระดับบุคคล เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับสูงโดย เฉลี่ยจะได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูงกว่า โอกาสในการว่างงานมีน้อยกว่า และได้ทำงานใน อาชีพที่ค่อนข้างได้รับการยอมรับในสังคมมากกว่าผู้ที่ไม่มีการศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ระดับต่ำ สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราผลตอบแทนทางการศึกษาของทุกระดับชั้นมี ค่าเป็นบวก แสดงว่าการศึกษาที่สูงขึ้นส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานได้รับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น Feb2014.indd 2 4/16/14 8:54:53 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=