3055_9772

7 ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๗ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ มนุษย์ในปัจจุบันต้องอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และมุ่งเอาชนะซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งเกิดจากการแย่งชิงผลประโยชน์ ไม่ สามารถแบ่งปันทรัพยากรที่มีจำนวนน้อย วิธีที่จะบำบัดความขัดแย้งในเบื้องต้นได้ คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์กับโลก ได้แก่ การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันหลายสาขาวิชา เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ในทางจิตวิทยา มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกต่อกันในระบบสังคม นักจิตวิทยาจึงให้ความหมายของมนุษย์ในสภาวะ การอยู่ร่วมกันในระบบสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันตามลักษณะของเอกัตบุคคล นอกจากนี้ มนุษยสัมพันธ์ เป็น ศาสตร์และศิลปในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ ความจงรักภักดี และความร่วมมือกัน โดยความ สัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่ว่า “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกัน ในเกียรติ ศักดิ์ และสิทธิ ต่างมี เหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ” ศาสตร์มนุษยสัมพันธ์มีองค์ประกอบ ๓ อย่าง คือ ๑. ตน ๒. ผู้อื่น และ ๓. สภาพแวดล้อม ตนและการพัฒนาตน การพัฒนาตน คือการพัฒนาบุคลิกภาพไปพร้อมกันทั้ง ๒ ลักษณะ ได้แก่ เชิงรูปธรรมและเชิงนามธรรม หรือพัฒนาไปทีละขั้นตอนก็ได้ การ พัฒนาตนเชิงรูปธรรม คือ การพัฒนาลักษณะที่แสดงออกภายนอก การพัฒนาตนเชิงนามธรรม คือ การพัฒนาจิตใจ อุปนิสัยของบุคคลนั้นเอง มนุษย์คนหนึ่ง จะประกอบไปด้วยปัจจัยทั้ง ๓ ประการ คือ ๑. สิ่งที่ถ่ายทอดโดยพันธุกรรม ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นต่อ ๆ ไปทางสายเลือด ได้แก่ จีโนไทป์ และฟีโนไทป์ ๒. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนามนุษย์ เป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์รับผ่านทวาร ประสาทสัมผัส ๑ ใน ๕ ประการ ๓. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคคล มี ๒ ลักษณะ คือ การควบคุมจากกฎเกณฑ์ของสังคม (external social control) หมายถึง การควบคุมพฤติกรรมภายนอกบุคคลให้เป็นไปตามค่านิยมและสัญญาในสังคมโดยวิธีให้รางวัลและลงโทษ และ การควบคุมจากภายในจิต (internal social control) พฤติกรรมสังคมของมนุษย์จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของความปรารถนาของสังคม การนึกถึงคุณค่า ของตนเอง (conscience) ความภาคภูมิใจในตนเอง (pride) ความรู้สึกผิดชอบของตน (guilt) องค์ประกอบที่สำคัญอีก ๒ ประการของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ การเข้าใจผู้อื่น การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และการ ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน โลกเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง แต่มีทรัพยากรน้อยลง ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นสูง ในสังคมไทยพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละบุคคลนั้น มาจากสังคมที่อาศัยอยู่เท่า ๆ กับส่งผลต่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่ ความสำคัญของศาสตร์มนุษยสัมพันธ์ ๑. มนุษยสัมพันธ์มีบทบาทในการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์การ ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตของคนทุก ๆ คน ดังสุภาษิตที่ว่า “วิสาสาปรมาญาติ” คือ ความเป็นกันเองก่อให้เกิดความรู้สึกเสมือนญาติในเรือนตน ฉะนั้น มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงาน ๒. มนุษยสัมพันธ์ยังเป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์ ตั้งแต่ชุมชนไปจนถึงครอบครัว ๓. คนเก่งที่มีความสามารถสูงถ้าขาดมนุษยสัมพันธ์ก็กลายเป็นบุคคลที่เปล่าประโยชน์ เพราะไม่มีโอกาสที่จะปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคน และแสดง ความสามารถให้ปรากฏในกลุ่มคน และความเก่งนั้นก็จะไร้ค่าและหมดความหมายไปในที่สุด สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมเป็นสังคมสัมพันธไมตรีมาแต่ยุคต้นของประวัติศาสตร์ ความมีน้ำใจของคนไทยเป็นที่ปรากฏในสังคมโลกที่เห็นได้ ชัดเจนใน พ.ศ. ๒๕๔๗ เมื่อเกิดสึนามิบุคคลทั่วโลกประจักษ์ในน้ำใจของคนไทยในความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ น้ำใจไมตรีนำไปสู่ความร่วมมือ ความร่วมมือนำไปสู่การรับ และการรับก็จะทำให้คนเกิดน้ำใจไมตรี ซึ่งเป็นวิถีทางนำไปสู่ความสำเร็จ ทำให้เกิด สันติสุขและความร่วมมือซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยบรรเทาความขัดแย้งในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนามนุษยสัมพันธ์จะทำได้ต้องเริ่มที่การพัฒนาตนเอง. รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการ ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ Jan2014.indd 7 3/12/14 5:08:07 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=