3055_9772

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปริมาตร รูปทรง และที่ว่าง ๒. มักสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแกร่งทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ๓. ติดตั้งได้ทุกที่ ๔. ประติมากรรมเป็นรูปแบบหนึ่งของวิจิตรศิลป์ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิดที่เป็นนามธรรมให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ให้เป็นสื่อกลางเพื่อสื่อสารภาษา ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบทางทัศนธาตุและความหมาย ควบคู่กันไป ที่ใดมีประติมากรรมที่นั่นย่อมมีความหมายแห่งทัศนธาตุ กระบวนการสร้างสรรค์ ๑. ที่มาของความดลใจได้คิด ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง ๖ ของมนุษย์ ๒. เมื่อรับรู้แล้วกลายเป็นข้อมูลเบื้องต้นและพัฒนาเป็นแนวความรู้สึก แนวความคิด เกิดเป็นมโนภาพ ๓. จากนามธรรมภายในจะปรากฏเป็นรูปธรรมต้องอาศัยกระบวนการ ทางเทคนิค ซึ่งประกอบด้วยความรู้และความสามารถ การสร้างสรรค์ประติมากรรมแบ่งเป็น ๒ แนวทาง คือ การสร้างสรรค์ ประติมากรรมส่วนบุคคล ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการข้างต้น และการสร้างสรรค์ ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย รวมทั้งความ เหมาะสมกับที่ว่างและทิศทางโดยรอบของการมองประติมากรรม การสร้างสรรค์ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมหน้าอาคาร นอกจากทำให้ เกิดคุณค่าทางสุนทรียภาพร่วมกับสิ่งแวดล้อมนั้นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์หรือสื่อ ความหมายของประโยชน์ใช้สอยของอาคารเหล่านั้นด้วย ในการบรรยายครั้งนี้ ผู้บรรยายได้นำเสนอการสร้างสรรค์ประติมากรรม กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ติดตั้งบริเวณหน้าอาคาร ๒ แห่ง ดังนี้ -ประติมากรรม “ปิติสุข” ขนาดประมาณ ๕ เมตร ติดตั้งอยู่ในสระน้ำ หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย เป็นประติมากรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ในลักษณะส่วนบุคคล และได้รับการเลือกสรรให้นำมาติดตั้ง มีลักษณะเป็นรูป ทรงดอกบัวสีขาวก่อตัวรวมกันเป็นลักษณะพานพุ่มที่แสดงความงอกงาม สื่อ ความหมายถึงสภาวะของปิติสุขซึ่งเป็นผลของสภาวะหนึ่งของการปฏิบัติสมถะ กรรมฐาน การเลือกรูปทรงของดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธเพื่อสื่อ ความหมายของ “ปิติสุข” ลักษณะเป็นพานพุ่มสื่อความหมายของการนอบน้อม สักการบูชา และความศรัทธา ลักษณะของความงอกงามที่กำลังผลิบานของ พืชพันธุ์สื่อความหมายถึงความเบิกบานเอิบอิ่ม ทัศนธาตุที่เป็นปริมาตรซึ่งมี ลักษณะเรียบง่ายแสดงถึงการปล่อยวาง การซ้ำของปริมาตรที่มีรูปแบบเหมือน กัน มีขนาดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ประกอบกันอย่างมีระเบียบและระบบ สีขาว สื่อถึงการชำระล้างความสับสนวุ่นวาย โน้มน้าวใจสู่ความปล่อยวาง ความสุข และความสงบ เงาสะท้อนในน้ำของประติมากรรมช่วยเน้นบรรยากาศให้ดูสงบ นิ่งมากยิ่งขึ้น และยังแสดงความรู้สึกของความผสมผสานระหว่างประติมากรรม กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเงาสะท้อนของท้องฟ้าบนผิวน้ำให้มีความกลมกลืน แนบแน่นอย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนแสงแดดซึ่งสะท้อนจากผิวน้ำไปยัง ประติมากรรมที่เป็นสีขาว ทำให้เกิดเงาระยิบระยับ สร้างความงามให้กับ ประติมากรรม “ปิติสุข” ได้อย่างมีชีวิตชีวา โดยภาพรวมของการเลือกสรร ทัศนธาตุและวิธีจัดการทางด้านองค์ประกอบศิลป์ทั้งหมดนี้ ล้วนนำไปสู่การสื่อ ความหมายของการปล่อยวาง ความสงบ ความเอิบอิ่ม บริสุทธิ์ บริบูรณ์ และ สภาวะของปิติสุข -ประติมากรรม “พลังที่ยั่งยืน” ติดตั้งที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประติมากรรมที่สื่อความหมายจากแนวความ คิดจากการพัฒนาการขององค์กรเป็นขั้นตอน ดังนี้ ๑. รากเหง้าของความผลิบาน งอกงาม รูปแบบเป็นเมล็ดพืชที่เป็น ศูนย์กลางของการเติบโต ๒. รูปแบบเป็นลำต้นหลายตัวที่งอกออกมาจากรากเหง้าเชื่อมโยง ประสานกันเป็นรูปทรงพานพุ่มซึ่งมีลักษณะเป็นดอกบัว หมายถึง องค์กรแห่ง สามัคคีธรรมและคุณธรรม ๓. การผลิดอกออกผลจากโครงสร้าง จากขนาดใหญ่เบื้องล่างค่อย ๆ เติบโตสู่เบื้องบนที่มีขนาดเล็กสื่อถึงความต่อเนื่องของรุ่นสู่รุ่นผูกพันกันไป ส่วน การปิดทองคำเปลวที่ดอกผลนั้นสื่อถึงการเติบโตของคุณธรรม ๔. รูปทรงภายนอกที่มีลักษณะเหมือนกลีบเลี้ยงที่ห่อหุ้ม เกิดจาก สัญลักษณ์ขององค์กร ซึ่งสื่อถึงการปกป้องคุ้มครองให้องค์กรดำรงอยู่ได้อย่าง มั่นคงถาวร พื้นผิวในของกลีบเลี้ยงติดทองคำเปลวเพื่อเป็นเงาสะท้อนสีทอง ของรูปทรงแห่งการเติบโต ทำให้เกิดบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความดีงาม ๕. ฐานที่รองรับประติมากรรมมีหน้าที่ทั้งในส่วนที่ช่วยยกให้ทรงหลัก มีความโดดเด่น ประกอบดอกผลที่สุกงอมหล่นลงสู่พื้นเพื่อแพร่ขยายพันธุ์ ออกไป ๖. ติดตั้งเครื่องกลเพื่อให้ประติมากรรมหมุนได้อยู่ภายในฐานการหมุน ของประติมากรรม ทำให้ความรู้สึกในเรื่องพลังงานชัดเจนขึ้น ๏ วันอังคารที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง สถาปัตยกรรม โบราณที่ประเทศเนปาล ความโดยสรุปว่า สถาปัตยกรรมที่นครกาฐมาณฑุ (Kathmandu) และเมืองภักตปุระ (Bhaktapur) ในประเทศเนปาล เป็น สถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงสภาพสมบูรณ์และน่าศึกษา เช่น เจดีย์สวยัมภูนาถ (Swayambhunath Stupa) อยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง เป็นเจดีย์ทาง พระพุทธศาสนา จัตุรัสพระราชวังหลวงกาฐมาณฑุ (Kathmandu Durbar Square) พระราชวังหนุมานโดคา (Hanuman Dhoka Palace) ใช้เป็นที่ ประกอบพระราชพิธีสำคัญ พระราชวังกุมารี (Kumari Bahal) เป็นที่พำนักของ เด็กหญิงชาวเนปาลที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนแห่งเทพบริสุทธิ์ วัดตาเลจู (Taleju Bhawani Temple) กาฐมณฑป (Kasthamandap) อาคารไม้เก่าแก่ซึ่งเป็น ที่มาของชื่อเมืองนี้ วัดปศุปฏินาถ (Pashupatinath Temple) วัดทางศาสนา ฮินดู สร้างในสมัยราชวงศ์มัลละ วัดนี้อยู่ติดแม่น้ำภัคมตี (Bagmati River) ซึ่ง เป็นต้นแม่น้ำคงคา ทำให้ได้เห็นพิธีกรรมในการเผาศพ ลุมพินีสถานอันเป็นที่ ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ศึกษารอยพระพุทธบาท เสาอโศกมหาราช สระอโนดาต และวัดพุทธนานาชาติ ได้แก่ วัดไทย วัดพม่า วัดจีน วัดญี่ปุ่น นครก็อต (Nagarkot) สถานที่ชมทิวทัศน์ของเทือกเขาหิมาลัย ยอดเขา เอเวอเรสต์ และยอดเขาสูงอื่น เมืองภักตปุระมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เช่น พระราชวัง ๕๕ หน้าต่าง (๕๕ Window Palace) จัตุรัสภักตปุระ (Bhaktapur Durbar Square) ประตูทองคำ (Golden Gate) วัดนยตาโปลา (Nyatapola Temple) ๏ วันอังคารที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การ ให้พรและรับพร ความโดยสรุปว่า พรเป็นสิ่งที่ดีงามประเสริฐ การขอพรอาจ ขอได้จากทั้งบุคคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดา หรือแม้แต่ขอพรกับตัวเอง เรื่องการ ขอพรให้พรมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้า ดังปรากฏในพุทธประวัติ ตอนที่ พระอินทร์ให้พระนางผุสดีขอพรได้ ๑๐ ประการ ก่อนที่จะมาจุติเป็นพระมารดา ของพระเวสสันดร พรจะสำเร็จสมบูรณ์ได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้และผู้รับ ทั้งผู้ให้และผู้รับจะต้อง มีศีล มีธรรม มีสัจจะ ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ การรับพรจากพระ ผู้รับพรก็ ต้องตั้งใจฟังและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วย ความสำเร็จของพรต้องใช้เวลา แต่ผล บุญเก่าก็ช่วยให้การขอพรสำเร็จได้เช่นกัน บุญที่ให้ผลสำเร็จได้มากคือการให้ ทาน ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้อภัย ทานบารมีถือว่ายิ่งใหญ่เพราะเป็นการช่วย เหลือเกื้อกูลผู้ทุกข์ร้อน อย่างไรก็ตาม หากถือว่าการขอพรเป็นเพียงธรรมเนียม ปฏิบัติและทำอย่างไม่ตั้งใจ พรนั้นก็อาจไม่ประสบผล Jan2014.indd 6 3/12/14 5:08:05 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=