3055_9772

5 ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๗ เศรษฐกิจ สังคม ปัจจุบันได้เพิ่มความหมายของความยุติธรรมที่เหมาะสมตาม สัดส่วนความเป็นจริง (distributive justice) กระแสความคิดจริยศาสตร์สุขภาพก่อให้เกิดการทบทวนและปรับปรุง นโยบายสุขภาพ การปฏิบัติทางบริการทางการแพทย์ รวมถึงเนื้อหาหลักสูตรใน สายวิชาชีพสุขภาพ วิชาจริยศาสตร์และกฎหมาย (ethics and law) เป็นวิชาที่ แพทย์ พยาบาล รวมถึงบุคลากรสุขภาพด้านอื่น ๆ ต้องเรียน การศึกษาทฤษฎี จริยศาสตร์และการนำมาประยุกต์ใช้ในการเผชิญปัญหาจริยธรรมเกิดเป็นอีก หัวข้อหนึ่งที่หลักสูตรด้านสุขภาพทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทต้องเรียน นอกจากนี้ ยังมีการอบรมบางเรื่องอย่างจริงจัง ได้แก่ การดูแลแบบประคับประคอง (palliative care society) อย่างเป็นทางการ โดยมีสำนักงานอยู่ที่โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางทั้งด้าน วิชาการ และการร่วมปรึกษาหารือการปฏิบัติแก่สถานพยาบาล สถาบันการ ศึกษา และผู้ที่สนใจ ๏ วันพุธที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรง ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สวัสดิการสังคม สำหรับเด็กในสังคมไทย ความโดยสรุปว่า สวัสดิการสังคมอาจจำแนกเป็น ความหมายหลายประเภท ในที่นี้จำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ สวัสดิการสังคมใน ฐานะที่เป็นระบบการจัดบริการสังคม และสวัสดิการสังคมในฐานะที่เป็นสถาบัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านกฎหมาย เครือข่ายทาง ครอบครัวและสังคม เป็นต้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันหลักที่ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือเกื้อกูล เมื่อเด็กประสบปัญหา คือ สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นเสาหลักของความมั่นคงใน การหล่อหลอมเด็ก นอกจากนี้ ภาครัฐ เอกชน วัด และชุมชนในสังคมไทยก็มี บทบาทในการพัฒนาสวัสดิการสังคม โดยมีรากฐานจากการสงเคราะห์ การให้ ความคุ้มครอง และค่านิยมในการช่วยเหลือเกื้อกูล ดังเช่นกรณีการริเริ่มจัดตั้ง โรงเลี้ยงเด็กในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อช่วยเหลือและรับเลี้ยงเด็กที่ยากจนไม่มีผู้ ดูแลเอาใจใส่ ที่ได้กลายมาเป็นต้นแบบการดำเนินการของงานประชาสงเคราะห์ และการจัดการศึกษาไทยในระดับอนุบาลที่ได้สะท้อนถึงการดูแลและการให้ ความคุ้มครองเด็ก ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาด้านสิทธิเด็กในปัจจุบัน เด็กทุกคนที่เกิด มาต้องการความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคม นอกจากนี้ พ่อแม่ ผู้ใหญ่ ผู้ปกครองก็จะต้องปฏิบัติต่อเด็กในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน เด็ก ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสในลักษณะใดก็ตาม จะต้องได้รับสิทธิพื้นฐาน ๔ ประการ คือ สิทธิในการมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย สิทธิในด้านพัฒนา เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับ พัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิทธิในการมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็ก สังคมไทยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและการจัดสวัสดิการสังคม มีการตระหนักถึงคุณค่าและสิทธิเด็กซึ่งภาครัฐ เอกชน ครอบครัว ศาสนา ระบบ ความเชื่อ ชุมชน และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสวัสดิการสังคมในสังคม ไทย ในปัจจุบันนับจากช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ ซึ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สะท้อนถึงการดำเนินงานต่าง ๆ เกี่ยว กับเด็ก ได้เน้นความสำคัญของเด็กมากยิ่งขึ้น การพัฒนาประเทศในระยะแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีแนวคิดที่มีความต่อ เนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘-๑๐ โดย ยังคงยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลการพัฒนาในทุกมิติ ซึ่งในกรณีของสวัสดิการสังคม สำหรับเด็ก รวมถึงการพัฒนาสถาบันทางสังคม การเตรียมระบบภูมิคุ้มกันใน ชนบทและเมือง อาจกล่าวได้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใน ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศมาเป็น มุ่งเน้น “การ พัฒนาคน” เป็นหลัก โดยมีการน้อมนําพระราชดํารัสหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงเป็นแนวทางในการดํารงชีวิตของคนในสังคม และเป็นแนวทางในการ พัฒนาประเทศอีกด้วย สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ.ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง มหาวิทยาลัยวิจัย กับการประเมินคุณภาพวิจัยระดับภูมิภาค กรณีศึกษากลุ่มสาขาวิชา เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ ความโดยสรุปว่า องค์กรที่จัดอันดับคุณภาพ สถาบันการศึกษาระดับโลกและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ Academic Ranking of World Universities : ARWU ที่มีตัวชี้วัดทั้งหมดเฉพาะด้านการ วิจัย QS World University Rankings : QS WUR ที่มีตัวชี้วัดด้านการวิจัย เพียงตัวเดียว และ Times Higher Education World Universities Rankings : THE WUR ที่มีตัวชี้วัดด้านการวิจัย ๓ ตัว ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ค.ศ. ๑๐๑๓ ปรากฏว่า ในกลุ่ม Far East & Oceania ทั้ง ๓ องค์กรประเมินตรงกัน ๖ มหาวิทยาลัยใน ๑๐ อันดับ แรก ทั้ง ARWU และ THE WUR ได้จัดให้ Tokyo เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ แรก ส่วนกลุ่มอาเซียน มีเพียง NUS และ Nanyang เท่านั้น ที่ติดอันดับการ ประเมิน ๕๐๐ มหาวิทยาลัยวิจัย ของ ARWU ส่วน THE WUR ได้จัดให้ NUS และ Nanyang เป็น ๒ อันดับแรกของอาเซียน ตามด้วยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีของ Far East & Oceania ๕ มหาวิทยาลัย ใน ๑๐ อันดับแรก ได้รับการประเมินตรงกัน อันดับแรกของ ARWU และ THE WUR ได้แก่ Tohoku และ NUS ในอาเซียนมีเพียง NUS และ Nanyang เท่านั้นที่ติดอันดับของ ARWU มหาวิทยาลัยของอาเซียนที่ ติดอันดับของ THE WUR ได้แก่ Nanyang, NUS และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ประสาน งานการประเมินคุณภาพการวิจัยระดับสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ครั้งที่ ๒ ร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยอีกบางแห่ง ผลการ ประเมินปรากฏว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคุณภาพการวิจัยระดับดีเด่นระดับ ๕ มากที่สุดถึง ๑๐ สาขา ตามด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ๖ สาขา และ ๕ สาขา ตามลำดับ ในกรณีของกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคุณภาพระดับ ๕ มาก ที่สุด ๔ สาขาวิชาเท่ากัน เฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์และสถาบัน เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้คุณภาพระดับ ๕ มาก ที่สุด ๓ สาขาวิชาเท่ากัน ส่วนด้านเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มีคุณภาพระดับ ๕ มากที่สุด จำนวน ๓ สาขาวิชา การประเมินคุณภาพการวิจัยระดับสาขาวิชา ได้แสดงให้เห็นคุณภาพ การวิจัยที่ชัดเจนมากกว่าการประเมินคุณภาพระดับมหาวิทยาลัยโดยสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ดังนั้น การสนับสนุนทุน วิจัยจึงควรพิจารณาจากคุณภาพวิจัยระดับสาขาวิชามากกว่าระดับมหาวิทยาลัย สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การ สร้างสรรค์ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมหน้าอาคาร ความโดยสรุปว่า ประติมากรรมเป็นสื่อภาษาที่รับรู้ได้ด้วยการมองเห็นที่เรียกว่า “ทัศนศิลป์” มี รูปทรง ๓ มิติ มีคุณสมบัติโดดเด่น ดังนี้ ๑. ให้ความรู้สึกโดดเด่นสง่างามและทรงพลัง โดยอาศัยทัศนธาตุที่เป็น Jan2014.indd 5 3/12/14 5:08:04 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=