3055_9772
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ.สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กระแสความคิด จริยศาสตร์สุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ความโดยสรุปว่า คำว่า จริยศาสตร์ สุขภาพ เกิดขึ้นในช่วงหลังของศตวรรษที่ ๒๐ เป็นผลมาจากความเจริญ ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ก่อให้เกิดประโยชน์ มหาศาลแก่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมที่ เป็นสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างหลักจริยธรรมหลายประการ เช่น ใน ค.ศ. ๑๙๗๖ เกิดกรณีผู้ป่วยชื่อ คาเรน แอนน์ ควินแลน (Karen Ann Quinlan) ใน รัฐนิวเจอร์ซี ซึ่งมีอาการโคม่าถาวรอยู่ในสภาพผัก (vegetative state) ต้องใช้ เครื่องช่วยหายใจเพื่อรักษาชีวิตไว้ บิดามารดาของคาเรนได้ขอร้องให้แพทย์ ถอดเครื่องช่วยหายใจออก แต่แพทย์ปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าการถอดเครื่องช่วย หายใจจะทำให้คาเรนเสียชีวิตเป็นการกระทำที่ฆ่าชีวิตผู้อื่น บิดามารดาของ คาเรนนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการศาล จนกระทั่งศาลพิพากษาโดยยอมให้แพทย์ ถอดเครื่องช่วยหายใจได้ก็ต่อเมื่อคณะแพทย์มีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการและ แน่ใจว่า ผู้ป่วยจะไม่สามารถคืนสู่สภาพของการหายใจได้ด้วยตัวเอง ทีมรักษา พยาบาลได้ตัดสินใจลองถอดเครื่องช่วยหายใจมาหลายครั้ง ในครั้งหลัง คาเรน สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง และมีชีวิตอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัว ต่อมาอีก ๑๐ ปี ๒ เดือน จนเสียชีวิตในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๘๕ กรณีของคาเรนนี้ เป็น ตัวอย่างให้ถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบันว่าผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพผักอาจสามารถ หายใจได้เอง การตัดสินใจให้ยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจจึงอาจผิดทั้งกฎหมาย และขัดต่อหลักศีลธรรม ปัญหาจริยธรรมที่เป็นสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างหลักจริยธรรม (moral dilemma) เป็นทางสองแพร่งที่ผู้เผชิญปัญหาจะต้องเลือกตัดสินใจอย่างใดอย่าง หนึ่ง ตัวอย่างประเด็นที่อยู่ในขอบข่ายของบริการสุขภาพประการหนึ่ง คือ การ ยอมทำตามความประสงค์ของผู้ป่วยที่ปฏิเสธวิธีการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์และ ขอให้การรักษาเป็นไปในแบบของการรักษาตามอาการ (symptomatic treatment) แต่ขัดกับความประสงค์ของบุตรผู้ป่วยที่ต้องการให้รักษาต่อไปด้วย ความหวังที่อาจมีอาการดีขึ้น หรือกรณีที่แพทย์ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมสากล พื้นฐานเรื่องการพูดความจริงแก่ผู้ป่วย (veracity) ก็อาจขัดกับหลักจริยธรรม การไม่ทำในสิ่งที่มีผลกระทบเป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย (do no harm) ในสภาวการณ์ เช่นนี้แพทย์จะต้องตระหนักถึงความสำคัญ มองปัญหาจริยธรรมออก และมี แนวทางในการคิดการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ โดยไม่ใช้ความรู้สึกความคิดเห็น ส่วนตัว โดยหลักการปฏิบัติสากลในปัจจุบันการพิจารณาปัญหาจริยธรรมจะต้อง คำนึงถึงทฤษฎีจริยศาสตร์ หลักกฎหมาย วัฒนธรรม ความเชื่อของผู้ป่วย รวมถึงศาสนา มาเป็นส่วนประกอบ สหรัฐอเมริกาได้เสนอหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ตามรายงานของ เบลมองต์ ประกอบด้วย (๑) หลักการเคารพในบุคคล (respect for person) หมายถึง การรู้ตระหนักถึงความเป็นอิสระเป็นตัวเองของบุคคล (autonomy) ที่ ตัดสินใจเรื่องของตนเอง (๒) หลักการมุ่งประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดอันตราย (beneficence and non maleficence หรือ do good and do no harm) ต้องมีพื้นฐานมาจากหลักจริยธรรมที่มุ่งประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง และ (๓) หลักความยุติธรรม (justice) แต่เดิมในอดีตจะเข้าใจในความหมายของการ ปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ปราศจากอคติทั้งปวงด้านเชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพทาง สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก Jan2014.indd 4 3/12/14 5:08:02 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=