2911_9620
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๙ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ spiritual well-being ด้วย โดยสรุป สุขภาวะ จึงหมายถึง ภาวะที่เป็นสุข ภาวะที่คนมีความพร้อมในมิติต่าง ๆ รวม ๔ ด้าน ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคมรวมสิ่งแวดล้อม และสุข ภาวะทางปัญญา เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการในการใช้ชีวิต ซึ่งกำหนดโดยปัจจัยด้านบุคคล สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยปัญญาที่เกิดขึ้นจากการใช้สติระดับปัจเจกบุคคล ในการพิจารณาสภาวะของตน ความทุกข์ ความไม่เป็นสุข และพบสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหานั้นได้จนทำให้ชีวิตมีความสุขเป็นสุขภาวะ องค์ประกอบของคำว่า “สุขภาวะ” ในโรงเรียน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่ได้อยู่เพียงลำพังคนเดียว จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับครอบครัวและผู้อื่นในสังคม กล่าวกันว่า องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ช่วย หล่อหลอมให้เยาวชนของชาติมีศักยภาพสูงสุด คือ การศึกษาและสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กัน โดยทั่วไปทั้งนักเรียนและครูทุกคนต่างต้องการ และแสวงหาความสุข ความพอใจในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อน ๆ และครู ในแง่มนุษยสัมพันธ์และการใช้ชีวิตในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข ได้รู้จักตนเอง ได้รับ การยอมรับจากเพื่อน ๆ และครู ตลอดจนมีความพอใจในการอยู่ร่วมกันด้วยกัน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักของหน่วยงานการศึกษาว่า มีหน้าที่ในการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมอันดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญนอกเหนือจากการให้ ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ แล้ว ยังต้องดำเนินกิจกรรมในการดูแลด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนให้เกิดความสมบูรณ์ ไร้ซึ่งความเจ็บป่วย ด้วยการ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ป้องกัน รักษา พระพรหมคุณาภรณ์ได้แสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง สุขภาวะ ในประเด็นของสุขภาวะในโรงเรียนของนักเรียน ต้องมีความสมบูรณ์ใน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. วิชชา คือ ความสว่าง ผ่องใส กระจ่างแจ้ง มองเห็นชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะของปัญญาที่เด็กจะเรียนรู้ เข้าใจ ๒. วิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นภาวะที่สำคัญมาก ไม่มีการบังคับ ถูกบีบ ถูกกด รู้สึกมีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นอิสระ ไม่มีความอึดอัดติดขัด คับข้อง มีเสรี ทางพระจึงบอกว่าจะต้อง “เสรี สยังวสี” “เสรี” คือ เคลื่อนไหวไปไหน ๆ ได้ตามปรารถนา “สยังวสี” คือ มีอำนาจในตัวเอง คือภาวะที่เป็นอิสระแห่งวิมุตติ ๓. วิสุทธิ คือ ความหมดจด สดใส บริสุทธิ์ ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ร่าเริงแจ่มใส ๔. สันติ คือ ความสงบ ไม่ร้อนรนกระวนกระวาย ไม่มีอะไรรบกวน แม้กระทั่งระเคืองระคาย เป็นภาวะที่ประณีตอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังมีภาวะด้านอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ๑. ความเสรี ได้แก่ ความปลอดโปร่ง โล่งเบา หลุดพ้น ไม่ถูกปิดกั้นจำกัดบีบคั้น ไม่ติดขัดคับข้อง ๒. ความสงบ ได้แก่ ภาวะที่ไม่มีความร้อนรนกระวนกระวาย ไม่กระสับกระส่าย เร่าร้อน ว้าวุ่น พลุ่งพล่าน ทั้งกายและจิตใจไม่ถูกรบกวนคือสงบ ๓. ความสะอาด หรือความบริสุทธิ์ หมดจดสดใส ไม่มีความขุ่นมัวเศร้าหมอง ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน ๔. ความสว่าง กระจ่างแจ้ง แจ่มชัด ใสสว่าง หรือผ่องใส การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ประกอบด้วย การจัดบริการด้านสุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม มีการประสานงานกันระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน เพื่อเอื้ออำนวยและสนับสนุนทรัพยากรให้งานบรรลุเป้าหมาย ดังนี้ ๑. ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ (school health environment) หรือการสุขาภิบาลโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ เด็กควรมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาต่าง ๆ เป็น ซึ่งจะส่งผลให้เด็กนั้นเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณยิ่งในอนาคต ๒. การบริการด้านสุขภาพ เป็นการดำเนินงานเพื่อส่งเสริม ป้องกันการเกิดโรคในเด็กวัยเรียน ด้านจิตใจคือนักเรียนสามารถที่จะแก้ไขและเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ๓. การบริการด้านการศึกษาหรือสุขศึกษา (health education) การสอนสุขศึกษา เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ด้านการเรียน การสอน เป็นกิจกรรมการให้ความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์ ปลูกฝังเจตคติที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพแก่นักเรียน ๔. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน (school and home relationship) โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ให้ เด็กไทยให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การดำเนินงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท ความรับผิดชอบเกี่ยวกับสุขภาพ ดังนั้น สุขภาวะ หรือภาวะที่เป็นสุขในโรงเรียน จึงเป็นบริบทร่วมกันระหว่างสุขภาพและการรับรู้ ความพอใจของนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกัน และระหว่างนักเรียนกับครู ตามการรับรู้ ทรรศนะ และความสมบูรณ์ด้านต่าง ๆ ระดับปัจเจกบุคคล ชี้ให้เห็นว่าครอบครัวและเพื่อนมีความสำคัญและส่งผลต่อ ความสุขของเด็กอยู่มาก สำหรับแนวคิดในการประเมินรูปแบบโรงเรียนในฝันที่เป็นโรงเรียนที่เน้นสุขภาวะ เนื่องจากข้อมูลการศึกษายังมีอยู่อย่างจำกัด อาจต้องมี การทบทวน และพยายามลดช่องว่างระหว่างแนวความคิดพื้นฐานโรงเรียนในฝัน อาจไม่ใช่คำตอบของสุขภาวะในโรงเรียนได้ตามทรรศนะและการรับรู้ของนักเรียนได้ สุขภาวะในโรงเรียน โดยภาพรวมเป็นความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจของเด็ก พ่อแม่ และครู โดยเฉพาะทางด้านจิตวิทยาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาวิเคราะห์ ร่วมด้วย เด็กมีความต้องการจะปฏิสัมพันธ์ทางจิตใจกับพ่อแม่ เด็กจึงมีความสุข มีอิสรภาพที่ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์ในบทความไม่ได้ กล่าวถึงเรื่องของคุณธรรมซึ่งสำคัญมาก ครูยังขาดการส่งเสริมด้านคุณธรรมให้กับเด็ก เด็กต้องการความใกล้ชิดพ่อแม่ ต้องการมีเพื่อน มีสังคม เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเด็ก เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่คิดเป็น แต่ยังขาดแรงกระตุ้น เพราะมีสิ่งกีดขวางอยู่ เด็กมีความต้องการเรียนรู้จากพ่อแม่ ครู และสังคม. นางสาวนันทนา เมษประสาท กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ������ 2556.indd 7 12/19/13 1:23:39 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=