2911_9620

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ที่กำหนดและตามงบประมาณที่ได้รับ ไม่มีกฎเกณฑ์หรือขอบเขตของงาน ในแต่ละประเภทงานว่า ต้องมีสัดส่วนหรือปริมาณงานจำนวนเท่าใดจึงจะนับ เป็นการก่อสร้างวิธีนั้น การเลือกวิธีการก่อสร้างวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี การ แบ่งประเภทหรือปริมาณงานที่ต้องทำในสถานที่ก่อสร้าง หรืองานที่ต้องเตรียมทำ จากแหล่งภายนอก ซึ่งล้วนมีผลต่อการบริหารจัดการงานก่อสร้างนั้น ขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของผู้รับผิดชอบในงานก่อสร้าง ที่จะพิจารณาจากปัจจัยสภาวะ แวดล้อมและเงื่อนไขที่มีอยู่ รวมทั้งแบบก่อสร้างของสถาปนิก การก่อสร้าง อาคารแต่ละหลัง แต่ละโครงการ ในแต่ละสถานที่ อาจใช้วิธีการก่อสร้าง ที่เหมาะสมที่สุดวิธีเดียว หรือวิธีการก่อสร้างที่ผสมผสานกันได้ วิธีการ ก่อสร้างอาคารแต่ละวิธีจึงมีความสำคัญต่อการออกแบบ ที่สถาปนิกจำเป็น ต้องรู้และเข้าใจ เพื่อให้การออกแบบที่จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างนั้นเหมาะสม กับการก่อสร้างแต่ละวิธี และทำให้การก่อสร้างอาคารดำเนินการไปให้แล้ว เสร็จอย่างถูกต้อง เรียบร้อย ตามกำหนดการและเป้าหมาย • วันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การแปลงการ เปลี่ยนร่างในนาฏกรรมโขน ความโดยสรุปว่า การแปลงตัวเปลี่ยนร่าง ในนาฏกรรมโขนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงให้เห็นถึงจินตนาการที่ไม่มี ขีดจำกัด ผู้แสดงมีกระบวนท่ารำเฉพาะ ประกอบกับเพลงหน้าพาทย์ เรื่อง ราวต่าง ๆ ในการแสดงโขนมีการแปลงตัวเปลี่ยนร่างอยู่มากมายหลากหลาย อย่าง คือ ผู้แปลงตัวเปลี่ยนร่างกระทำด้วยตัวเอง และผู้แปลงตัวเปลี่ยนร่าง ถูกกระทำ ในการแปลงตัวเปลี่ยนร่างที่กระทำเองนั้น ปรากฏมีการแปลงตัว เป็นผู้หญิง (นาง) ผู้ชาย (พระ) ยักษ์ ลิง ผู้ทรงศีล และสัตว์ต่าง ๆ ส่วนการ แปลงตัวเปลี่ยนร่างที่ถูกกระทำนั้นมี ๒ ประเด็น คือ ถูกสาป และเนรมิต จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าการแปลงตัวเปลี่ยนร่างในนาฏกรรมโขน ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และเป็นการแก้ไขกลยุทธ์ในการทำศึกสงครามของแต่ละฝ่าย เพื่อหวัง ที่จะทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ตัวโขนที่มีการแปลงตัวเปลี่ยนร่างมากที่สุด คือ หนุมาน รศ.ประยูร ทรงศิลป์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง คำสอนต่าง ๆ : คำสอน ชาย (จฺบาบ่ เผฺสง ๆ : จฺบาบ่ ปฺรุส) ความโดยสรุปว่า จฺบาบ่ ตรงกับคำใน ภาษาไทยว่า “ฉบับ” ฉบับ คือ คำสอนของเขมรที่นักปราชญ์เขมรโบราณได้ เรียบเรียงไว้สำหรับอบรมสั่งสอนคนให้ประพฤติดีงามตามขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติ โดยมุ่งหวังให้เป็นหลักในการปฏิบัติตนต่อศาสนา ต่อเพื่อน มนุษย์ ต่อบ้านเมือง และเป็นหลักในการดำรงชีวิต ฉบับมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ของชาวเขมรทุกชนชั้น เพราะฉบับได้นำมาใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของชาว เขมรสมัยก่อน โดยมีพระสงฆ์เป็นครูสอน เมื่อเด็กชายอายุประมาณ ๘ ปี พ่อแม่จะนำไปฝากให้พักอยู่กับพระสงฆ์ที่วัดเพื่อปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ และ พระสงฆ์จะสอนเขียนอ่านตัวอักษรเขมร ท่องบทสวดมนต์ สอนตำราที่เรียกว่า ฉบับต่าง ๆ วัดจึงเป็นแหล่งกำเนิดและเผยแพร่ฉบับ สันนิษฐานว่าฉบับน่าจะ เกิดขึ้นในสมัยกรุงอุตดงค์เป็นราชธานี และแบ่งเป็น ๒ สมัย ได้แก่ ฉบับสมัย โบราณ คือ ฉบับที่แต่งสมัยกรุงอุตดงค์เป็นราชธานี นิยมแต่งด้วยบทกากคติ บทภุชงคลีลา และบทพรหมคีติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกาพย์ และฉบับสมัยใหม่ คือ ฉบับที่แต่งตั้งแต่กรุงพนมเปญเป็นราชธานีต่อจากกรุงอุตดงค์เป็นต้นมา นิยมแต่งด้วยบทพากย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนของไทย แนวคิดที่นำมาสั่งสอนมาจาก ๓ แหล่ง คือ จากปรัชญาคำสอนในพระพุทธ- ศาสนา จากความคิด คำพูด คำสั่งสอน และแนวปฏิบัติตนของผู้เฒ่าผู้แก่ และ จากประสบการณ์ของผู้แต่ง พุทธศาสนบัณฑิตย์ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการศึกษา ด้านวรรณกรรมของประเทศกัมพูชาได้รวบรวมบรรดาฉบับต่าง ๆ มาตีพิมพ์ เผยแพร่ โดยนำฉบับ ๑๔ เรื่อง มารวมตีพิมพ์ไว้ด้วยกัน ให้ชื่อว่า จฺบาบ่เผฺสง ๆ แปลว่า คำสอนต่าง ๆ จฺบาบ่ ปฺรุส (ฉบับ โประฮ) คือ คำสอนชาย แต่งด้วยบทพรหมคีติซึ่งมี ลักษณะเหมือนกาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๙๖ บท ผู้แต่งชื่อ บัณฑิตไม แต่งขึ้น เพื่อสอนชายที่เป็นพ่อเรือนให้มีวัตรปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ที่มาของความคิด ที่นำมาอบรมสั่งสอนในคำสอนชายส่วนใหญ่มาจากแนวประพฤติปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนค่านิยมซึ่งบรรพบุรุษเขมรได้ประพฤติ ปฏิบัติและอบรมสั่งสอนสืบต่อกันมา แนวคิดจากประสบการณ์ชีวิตของผู้แต่ง ซึ่งได้จากการบวชเรียนในพระพุทธศาสนา และแนวคิดจากฉบับกรมหรือคำ สอนสามเณร สรุปสาระสำคัญของคำสอนชาย ได้แก่ ให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมา คารวะ พูดจาสุภาพ ขยันและเอาใจใส่ในการทำมาหากิน ดูแลเก็บรักษาทรัพย์ สมบัติ ประหยัด จะช่วยเหลือใครต้องพินิจพิจารณาดูให้ดี ดูแลน้ำไฟไม่ให้ขาด จะ ใช้จ่ายเงินทองให้ปรึกษาภรรยาและลูก ไม่วางตนเป็นคนดีหรือร้ายเกินไป ไม่ กล้าหรือกลัวเกินไป ยามที่ญาติพี่น้องขอให้ไปช่วยงานหรือจะเดินทางไปที่ใด ๆ ต้องบอกภรรยาและลูกรับรู้ และมีมีดพร้าติดมือเพื่อใช้ป้องกันอันตราย หลีก เลี่ยงจากการเป็นนายประกัน และงดเว้นจากอบายมุขที่จะนำความวิบัติมาสู่ ครอบครัว ที่เรียกว่าบ้า ๓ ประการ คือ บ้าผู้หญิง บ้าสุรา และบ้าการพนัน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ สุขภาวะในโรงเรียน สุขภาวะ เป็นคำที่มีวิวัฒนาการอันยาวนาน เริ่มจากยุคก่อนวิทยาศาสตร์ ให้ความหมายว่า สุขภาวะ คือภาวะที่ร่างกายครบถ้วนบริบูรณ์ (healthy = ที่เป็น ธรรมชาติ, ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ) ยุควิทยาศาสตร์ตอนต้น ให้ความหมายว่า สุขภาวะ คือภาวะที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ (healthy = freedom from disease) จนถึง ค.ศ. ๑๙๗๔ องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายว่า สุขภาวะ หมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม มิใช่เพียงปราศจากโรคหรือความพิการ เท่านั้น สุขภาวะต้องเป็น wholeness + positive quality ใน ค.ศ. ๑๙๘๖ องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายว่า สุขภาวะ คือ a resource for everyday life (Ottawa Charter อ้างอิง) เน้นแหล่งประโยชน์ของปัจเจกบุคคลและแหล่งประโยชน์ในสังคม รวมถึงความสามารถทางกายของบุคคล พระพรหมคุณาภรณ์ได้อรรถาธิบายคำว่า “สุขภาวะ” และ “สุขภาพ” ว่า เป็นคำเดิมในภาษาบาลีที่เป็นคำเดียวกัน และ “สุขภาวะ” เราใช้คำในภาษาไทย ที่แผลง “ว” เป็น “พ” เป็นสุขภาพเรื่อยมา แต่ตอนนี้มีการใช้ว่า สุขภาวะ ที่ตั้งใจจะใช้แทนคำว่า สุขภาพ โดยสมัยก่อนสุขภาพจะเป็นเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ เป็นหลัก ต่อมามีการพิจารณาเรื่องของสุขภาพในทางที่กว้างขึ้น คำว่า สุขภาพ หมายถึงความสมบูรณ์ บริบูรณ์พร้อม ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม หรืออยู่ใน สังคมได้ด้วยความสุข โดยไม่จำกัดเฉพาะความปราศจากโรค หรือปราศจากความพิการเท่านั้น แต่มีความหมายครอบคลุมถึงสิ่งที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ������ 2556.indd 6 12/19/13 1:23:38 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=