2911_9620

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๙ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ มีร่างใหญ่ขึ้นแต่ไม่ใช่อ้วน เกณฑ์การตัดสินสำหรับภาวะอ้วนที่ดีที่สุด คือ ปริมาณเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งแยกตามเพศและอายุ โดยเฉลี่ยคนที่มีภาวะอ้วนยังสามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้ โดยรับการบำบัด ด้วยโภชนบำบัด และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ยกเว้นบางราย ที่อ้วนมากจนอันตราย ต้องใช้ยาช่วยลดน้ำหนัก หรือบางรายต้องรับการผ่าตัด ลำไส้หรือกระเพาะอาหารออกบางส่วน คนที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่จะมีโรค แทรกซ้อน ทำให้ต้องรับการรักษา เช่น โรคเบาหวาน โรคเลือดมีไขมันมากเกิน โรคเลือดมีกรดยูริกมากเกิน โรคความดันโลหิตสูง อนึ่ง ภาวะอ้วนก็เป็นผล ข้างเคียงจากโรคได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปรกติ การได้รับ ยาสเตียรอยด์บำบัดรักษาโรค • วันพุธที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร. นสพ.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กระบือปลัก กับภาวะเครียดจากความร้อน ความโดยสรุปว่า กระบือปลักที่อยู่ในภาวะเครียด จากความร้อน เมื่ออยู่กลางแจ้งตากแดดในระยะเฉียบพลันและระยะเวลานาน ร่างกายจะมีการระบายความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ พบการ เปลี่ยนแปลงจากผลการตอบสนองการทำงานของร่างกายและแสดงพฤติกรรม ในช่วงแรก โดยเพิ่มความถี่อัตราการหายใจจนเป็นการหายใจหอบ การทำงาน ของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย พบการเพิ่มอัตราการหมุนเวียนของน้ำภายใน ร่างกาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรของพลาสมาและส่วนประกอบใน พลาสมา กระบือปลักที่อยู่ในภาวะเครียดจากความร้อนจะมีการเปลี่ยนแปลง การทำงานของไต รวมทั้งการขับทิ้งของอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะ การ เปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในพลาสมาที่มาจากต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง และจากต่อมหมวกไต นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ปฏิทินจันทรคติ : ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนในปฏิทินจันทรคติของไทย และแนวทางในการพัฒนาข้อมูลทางจันทรคติด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ ความโดยสรุปว่า บทความนี้จะกล่าวถึงระบบปฏิทินสุริยจันทรคติที่นิยมใช้กันอย่าง แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลทางสุริยคติจากระบบปฏิทิน เกรกอรี และข้อมูลทางจันทรคติจากระบบปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งเป็น ระบบปฏิทินที่ระบุถึง วัน-เดือน-ปี ตามลักษณะของดิถีและตำแหน่งของ ดวงจันทร์ที่ปรากฏในท้องฟ้า การคำนวณข้อมูลทางจันทรคติที่พบในประเทศไทย มีวิธีการ ๓ วิธี ได้แก่ การคำนวณหาดิถีเฉลี่ยและตำแหน่งโดยประมาณของ ดวงจันทร์ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ การหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ด้วยการเดินปักข์บน กระดานปักขคณนา และการคำนวณหาดิถีและตำแหน่งของดวงจันทร์จริง ด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ การหาดิถีเฉลี่ยของดวงจันทร์ใน ๒ วิธีการแรกนั้น จะคำนวณโดยใช้ดวงจันทร์สมมุติที่โคจรรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงที่ มีคาบดิถี เฉลี่ยประมาณ ๒๙.๕๓๐๕๘๓ วัน และ ๒๙.๕๓๐๕๙๔ วัน ตามลำดับ ส่วน วิธีการที่ ๓ จะเป็นการคำนวณโดยใช้ดวงจันทร์จริงที่โคจรรอบโลกด้วย อัตราเร็วไม่คงที่ มีคาบดิถีเฉลี่ยประมาณ ๒๙.๕๓๐๕๘๙ วัน เนื่องจากระบบ ปฏิทินจันทรคติของไทยอาศัยผลการคำนวณจากคัมภีร์สุริยยาตร์เป็นหลัก ดังนั้น จึงพบการระบุวันธรรมสวนะ (วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ ของเดือนทางจันทรคติ) เร็วขึ้นกว่าวันที่ควรจะเป็นตามดิถีของดวงจันทร์จริง ประมาณ ๑ วัน ได้มากถึง ๒๔ ครั้ง ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ และ ๓๕ ครั้ง ใน พ.ศ. ๒๕๕๗ บทความนี้จึงขอเสนอผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนในระบบ ปฏิทินสุริยจันทรคติของไทยใน ๔ ประเด็น ได้แก่ ผลกระทบต่อพระธรรมวินัย เรื่องการกำหนดวันเข้าพรรษา ผลกระทบต่อการระบุวันสำคัญทางพระพุทธ- ศาสนา ผลกระทบต่อวันสำคัญตามวัฒนธรรมของไทย และผลกระทบต่อการ บอกฤดูกาลในประเทศไทย ผลกระทบเหล่านี้จะลดลงหรืออาจจะไม่เกิดขึ้น หากระบบปฏิทินจันทรคติของไทยมีการระบุถึงวันและเวลาที่สังเกตพบ “จันทร์เพ็ญ” บนเมริเดียนอ้างอิงของประเทศไทยอย่างถูกต้องเป็นประจำ ทุกเดือนทางจันทรคติ การระบุนี้เป็นประเด็นสำคัญซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วน ของการจัดทำและในส่วนของการใช้งานปฏิทินจันทรคติของไทยส่วนใหญ่ คาดหวังให้มีความถูกต้อง พร้อมกันนี้จะขอเสนอแนวความคิดของ “ปฏิทิน สุริยคติจันทรกาลของไทย” ซึ่งเป็นระบบปฏิทินทางดาราศาสตร์ที่จะช่วยแสดง ถึง ดิถี ตำแหน่ง และระยะห่างเชิงมุมจากดาวฤกษ์เด่น (ฤกษ์ทางโหราศาสตร์) ในระบบพิกัดสุริยวิถีของดวงจันทร์ในปฏิทินสุริยคติ โดยปฏิทินนี้อาจเป็น แหล่งข้อมูลในการพัฒนาระบบปฏิทินจันทรคติของไทยให้เป็นเอกภาพ เนื่องจากจะช่วยกำหนดนิยามที่เหมาะสมในการบัญญัติคำศัพท์ดาราศาสตร์ คือ “วันเพ็ญ” หรือ “วันขึ้น ๑๕ ค่ำ” นอกจากนั้น ยังอาจเป็นข้อมูลประกอบ สำหรับการวางปีอธิกมาสและปีอธิกวารให้สอดคล้องกับประเพณีทางพระพุทธ- ศาสนาและฤดูกาลในประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น หากปฏิทินจันทรคติของไทย สามารถกำหนด “วันเพ็ญ เดือน ๘” หรือ “วันเพ็ญ เดือน ๘๘” ได้สอดคล้องกับ พระธรรมวินัยเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา โดยอ้างอิงจันทร์เพ็ญจริงปรากฏอยู่ใกล้ กับมาฆะฤกษ์ (ดาวหัวใจสิงห์) และสอดคล้องต่อฤดูฝนในประเทศไทยแล้ว จะเกิด ความยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินจันทรคติของไทย สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ปัจฉิมราพณาสูร ความโดยสรุปว่า ปัจฉิมราพณาสูร เป็นการแสดงที่นำช่วงสุดท้ายในชีวิตของ ทศกัณฐ์ ที่จักต้องสิ้นชีพด้วยพระรามผู้เป็นอวตารของพระนารายณ์ ในรามเกียรติ์ ตอน “หนุมานชูกล่องดวงใจ” นั้น ทศกัณฐ์ยกทัพใหญ่ออกไปหมายรบล้างพระราม แต่พอทศกัณฐ์เห็นหนุมานชูกล่องดวงใจที่ตนถอดฝากอาจารย์ไว้เพื่อไม่ให้ มีใครฆ่าตนได้ ก็รู้ทันทีว่าวาระสุดท้ายของตนมาถึงแล้ว ทศเศียรต่างปรึกษากัน ถึงวิถีอวสานของตน ต่างตนต่างมีความคิดในการเผชิญความตายที่ต่างกัน การโต้แย้งกันระหว่างสิบเศียรเปิดเผยถึงผลกรรมที่ตนต้องได้รับนับเป็นบทเรียน ที่มีค่าสำหรับทุกคน ทศกัณฐ์เป็นที่รู้จักกันในเรื่องความหยิ่งผยองและความ ดุร้าย แต่ในความเป็นตัวตนที่แท้จริงแล้วไม่แตกต่างจากมนุษย์อย่างเราท่าน ในวิกฤติการณ์ของชีวิต เราพบว่าตัวตนของเรามีหลายบุคลิก ต่างเปิดตัวเอง ออกมาจากที่เร้นกายและเผชิญหน้ากัน เพื่อช่วยกันหาคำตอบสุดท้าย ปัจฉิมราพณาสูรนำเสนอจิตมนุษย์อันหลายหลาก เราควรรู้จักหน้าทั้งสิบ ของเรา และให้เขาได้พิจารณาซึ่งกันจนเกิดปัญญานำมาซึ่งความสุขสถาพร นายมติ ตั้งพานิช ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การก่อสร้างอาคาร ความโดยสรุปว่า การก่อสร้างอาคารมีแนวทางหลักอยู่ ๓ วิธี คือ วิธีการ ก่อสร้างอาคารวิธีปรกติ วิธีประกอบชิ้นส่วนสำเร็จรูป และวิธีระบบอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละวิธีนั้นมีเป้าหมายเดียวกันคือ การก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จในเวลา ������ 2556.indd 5 12/19/13 1:23:36 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=