2911_9620

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน การปราบปรามโจรสลัดกำหนดไว้ในอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ. ๑๙๕๘ ว่าด้วย ทะเลหลวง และในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ ได้กำหนดนิยามการกระทำการเป็นโจรสลัดไว้ว่า เป็นการกระทำอันมิชอบ ด้วยกฎหมายโดยการใช้กำลัง การกักขัง หรือการกระทำใดอันเป็นการปล้นสะดม การกระทำในทะเลหลวงหรือที่อยู่นอกเขตอำนาจของรัฐหนึ่งรัฐใดหรือในเขต เศรษฐกิจจำเพาะ และการกระทำระหว่างเรือ ๒ ลำ ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัว ก่อปัญหาในทางปฏิบัติ คือ การอ้างวัตถุประสงค์ทางการเมือง ที่ทำให้ไม่อาจใช้กับกรณีที่เกิดในทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งได้ จึงมีการแก้ไข ปรับปรุงอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายต่อความ ปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลหลายฉบับ เพื่อวางกฎเกณฑ์การแก้ไขปัญหาการ กระทำการเป็นโจรสลัดให้ชัดเจนและครอบคลุมการกระทำผิดต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งศาลพิเศษระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด ฐานโจรสลัดและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อเป็นอีกกลไกหนึ่งที่อาจใช้แก้ปัญหา การที่รัฐไม่ประสงค์จะใช้อำนาจรัฐสากลเพื่อปราบปรามโจรสลัด ซึ่งเสี่ยงต่อ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน คือ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ไม่เกิน ๒ สัปดาห์ และสิทธิที่จะไม่ถูกผลักดันกลับ คือ การห้ามส่งบุคคลกลับไปยัง ประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น จึงควรต้องทำความ ตกลงระหว่างประเทศทั้งในรูปของสนธิสัญญาหรือหนังสือแลกเปลี่ยน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ และประกาศใช้พระราช- บัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำการเป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้ อำนาจรัฐในการลงโทษผู้กระทำการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ในทะเลหลวง หรือในเขตเศรษฐกิจจำเพาะไม่ว่าของประเทศใด นอกจากนี้ ยังมีประมวล กฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับการใช้เขตอำนาจรัฐสากลในการดำเนินคดี และลงโทษผู้กระทำการเป็นโจรสลัด ทำให้สามารถลงโทษผู้กระทำผิด นอกราชอาณาจักรได้ ส่วนพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้อำนาจในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยผ่านการพิจารณาของศาล ทำให้ เรือรบไทยที่จับกุมโจรสลัดได้ ไม่อาจส่งตัวให้แก่รัฐอื่น ต้องนำตัวกลับมายัง ประเทศไทยให้ศาลไต่สวนก่อน ไทยจึงควรปรับแก้กฎหมายให้ส่งตัวผู้กระทำผิด ไปดำเนินคดีที่ศาลพิเศษได้ รวมทั้งแก้ไขนิยามการกระทำการเป็นโจรสลัด ให้ครอบคลุมการกระทำการมิชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนการกระทำที่เป็นการ คุกคามและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือ รวมทั้งแก้ไขให้ส่งโจรสลัด ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้ โดยไม่ต้องนำตัวกลับมาไต่สวนยังศาลไทย พัฒนาการทางกฎหมายที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าประชาคมระหว่าง ประเทศพยายามหาทางแก้ไขปัญหาโจรสลัด แต่ก็ยังมีข้อจำกัด คือ มีขอบเขต เฉพาะสำหรับบางพื้นที่ซึ่งเกิดปัญหารุนแรง แต่ไม่ครอบคลุมทั่วไปสำหรับ ทุกพื้นที่ การแก้ไขกฎหมายจึงเป็นเพียงปัจจัยหลักประการหนึ่ง แต่การแก้ไข ปัญหาอย่างเด็ดขาดต้องอาศัยมาตรการอื่น ๆ ร่วมกันทั้งในด้านการเมือง และนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่รากฐาน คือรัฐชายฝั่งที่เป็นปัญหาด้วย รศ.วนิดา ขำเขียว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มนุษย์บนเส้นทางสู่ เสรีภาพของซาตร์ ความโดยสรุปว่า จากการศึกษาทัศนะของซาตร์เรื่องเสรีภาพ จะเห็นได้ว่า แนวคิดของซาตร์ไม่ได้สร้างความหวังและความอบอุ่นให้แก่มนุษย์ เหมือนศาสนาต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีแนวปฏิบัติตายตัว แต่สิ่งที่ได้ รับจากแนวคิดเรื่องเสรีภาพของซาตร์ คือ ความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาของคนส่วนมาก แนวคิดนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจและ สามารถนำมาใช้สำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน คือ การให้ความสำคัญ แก่มนุษย์และส่งเสริมมนุษย์ในการมองตนเอง รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และ แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยตระหนักถึงเสรีภาพที่มนุษย์มีมาตั้งแต่เกิด ซาตร์ เน้นถึงเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ มนุษย์ในทัศนะ ของซาตร์จึงมีอิสระเสรีที่จะเลือกสารัตถะให้แก่ตนเอง เป็นการแสดงออกซึ่ง ศักยภาพของความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกหรือการ อ้อนวอนอำนาจเหนือธรรมชาติ ทั้งยังแสดงถึงความกล้าในการเผชิญหน้า กับปัญหาและอุปสรรค มนุษย์ที่มีเสรีภาพในแบบซาตร์จึงเป็นผู้ที่เลือกวิถีชีวิต ของตนโดยไม่เป็นทาสของกฎเกณฑ์และสังคม อีกทั้งไม่ปล่อยตนให้วัตถุเข้ามา มีอำนาจในการกำหนดวิถีชีวิต ทำให้เสรีภาพในทัศนะของซาตร์มีความแตกต่าง จากเสรีภาพในความหมายทั่วไป เพราะมีความหมายลงลึกไปถึงการมีความ รับผิดชอบ ไม่ใช่เฉพาะตนเอง แต่ยังรวมไปถึงความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น เสรีภาพของซาตร์เป็นเสรีภาพที่มีลักษณะเปิดกว้างซึ่งมาพร้อมกับความ รับผิดชอบ และเป็นเงื่อนไขแรกแห่งการกระทำต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการแก้ปัญหา และการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต ซาตร์ปลุกเร้าให้มนุษย์ตระหนักว่า ตนเอง มีเสรีภาพและใช้เสรีภาพให้ถูกต้อง เพื่อให้มนุษย์เกิดสติและมีความระมัดระวัง ต่อการเลือกที่จะไม่ทำให้ตนเองเป็นทาสสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนมีสัมปชัญญะ ไม่ทำตนเป็นเจ้าของหรือบงการผู้อื่น สังคมที่ดีในทัศนะของซาตร์เป็นสังคม ที่ยอมรับความหลากหลายของมนุษย์และเปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคนมีความ เป็นตัวของตัวเอง แต่ไม่ทำลายเสรีภาพของผู้อื่นและไม่เลือกในสิ่งที่เป็นความ เห็นแก่ตัว แนวคิดของซาตร์มีอิทธิพลอย่างมากต่อปัญญาชนและพวกหัวก้าวหน้า ร่วมสมัย จนกระทั่งเกิดแนวคิดแบบหลังนวยุค (postmodernism) ซึ่งมีอิทธิพล ต่อสังคมปัจจุบัน ทำให้แนวคิดของซาตร์อ่อนกำลังลงไป การนำแนวคิดของซาตร์ เรื่องเสรีภาพมาช่วยกระตุ้นมนุษย์อาจจะช่วยให้เกิดจิตสำนึกของความรับผิดชอบ ต่อผลจากการเลือกตัดสินใจได้ในระดับหนึ่ง และทำให้ทุกคนไม่หลงระเริง กับความสุขสบาย มีสติปัญญาในการใช้เสรีภาพอย่างรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วย ให้มนุษย์หมดความทุกข์และความกังวลใจได้ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ภาวะอ้วน ความโดยสรุปว่า อ้วน เป็นคำที่เรียกคนมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าเป็นทางโภชนศาสตร์เวชกรรม ผู้ที่อ้วนไม่ใช่ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ แต่เป็นผู้ที่มีเนื้อเยื่อไขมันมากกว่าเกณฑ์ เพราะเนื้อเยื่อไขมันที่มากเกิน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคเบาหวาน ภาวะเลือดมีไทรกลีเซอไรด์มากเกิน เลือดมีคอเลสเตอรอลมากเกิน เลือด มีกรดยูริกมากเกิน การประเมินปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายทำวิธีทางอ้อม โดยการใช้ หลักการ bioelectrical impedance analysis ในรูปของเครื่องชั่งดิจิทัล ซึ่งสามารถหาความสัมพันธ์ของอายุ เพศ น้ำหนัก และส่วนสูง ร่วมกับค่า ความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย โดยไม่เป็นอันตรายและได้ผล รวดเร็วภายใน ๓๐ วินาที ทำให้ทราบปริมาณเนื้อเยื่อไขมันทั้งหมด น้ำ มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ และระดับไขมันในอวัยวะช่องท้อง ดังนั้น จากการทำงานของเครื่องชั่งดิจิทัลที่ผลิตด้วยหลักการ bioelectrical impedance analysis ทำให้ประเมินภาวะอ้วนได้เร็วขึ้น เช่น คนที่มีภาวะ น้ำหนักตัวปรกติ แต่ไม่ออกกำลังกายเลย ปริมาณกล้ามเนื้อก็จะลดน้อยลง ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันกลับเพิ่มขึ้นจนมากเกินเกณฑ์ได้ ซึ่งก็จะเป็นที่มา ของโรคต่าง ๆ เมื่อทราบล่วงหน้าแล้วผู้นั้นก็จะได้รีบปรับปรุงการกินและการ ออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อ้วนมากขึ้น ลักษณะนี้ดูด้วยตาเปล่าหรือ ชั่งด้วยเครื่องชั่งธรรมดาไม่ได้ สำหรับปริมาณไขมันช่องท้องที่มากเกินเกณฑ์ เราก็อาจจะพบได้ในคนที่มี น้ำหนักปรกติเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ มานาน แล้ว หรือผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลย เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะพบไขมันในช่องท้องมาก ซึ่งเป็นที่มาของโรคเบาหวานและโรคเลือดไขมันสูงได้ ไขมันในช่องท้องนี้เป็นไขมัน ที่เกาะอยู่กับอวัยวะในช่องท้อง ไม่ใช่ไขมันใต้หนัง ดังนั้นผู้ที่มีไขมัน ในช่องท้องสูง พุงอาจไม่ยื่นก็ได้ สำหรับภาวะอ้วนในเด็ก ปัจจุบันเด็กวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมีน้ำหนักตัวมาก กว่าเกณฑ์ แต่มีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันน้อยกว่าเกณฑ์ เนื่องจากเด็กไทย ������ 2556.indd 4 12/19/13 1:23:34 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=