2911_9620
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๙ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.เดือน คำดี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง บทบาทของศรัทธาและ ปัญญาในการบรรลุสัจจะ ความโดยสรุปว่า ศรัทธาและปัญญา มีบ่อเกิด ลักษณะบทบาท และความสำคัญร่วมกันในการปฏิบัติธรรม แม้ในศาสนาที่ต่างกัน ในศาสนาเทวนิยม เช่น ศาสนายิว คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ เน้นความเชื่อหรือ ศรัทธาว่าเป็นศูนย์รวมแห่งพลังการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นเอกภาพ กับพระเป็นเจ้าในโลกสวรรค์ ศรัทธามีลักษณะเป็นข้อบังคับเชื่อ เป็นความ ไว้วางใจในสิ่งสูงสุด คือ พระเป็นเจ้าอย่างเด็ดขาด ต้องปฏิบัติตามเทวโองการ อย่างภักดี ไม่ต้องพิสูจน์ ความเชื่อมาก่อนเหตุผล เหตุผลเป็นสิ่งสนับสนุน ความเชื่อ ส่วนในพระพุทธศาสนาในฐานอเทวนิยม สอนให้ความสำคัญ แก่ศรัทธาว่า เป็นองค์คุณธรรมเบื้องต้นที่สุดในกระบวนการปฏิบัติเพื่อบรรลุ นิพพาน โดยเน้นว่า ศรัทธา หมายถึง ความมั่นใจในการกระทำของตน ไม่ใช่ เรื่องของอารมณ์ด้านเดียว ดังนั้น ศรัทธาที่พึงประสงค์จึงต้องมาคู่กับปัญญา และการปฏิบัติธรรมขั้นละเอียด คือ การขจัดกิเลส โลภะ โทสะ และโมหะ ในการวิเคราะห์หมวดธรรมที่เป็นพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก แสดง ให้เห็นบทบาทและความสำคัญของศรัทธาในศาสนาแตกต่างกัน หมวดธรรม เบื้องต้นในการพัฒนาชีวิต แสดงให้เห็นความสำคัญของศรัทธาและปัญญาว่า เป็นองค์ธรรม มาคู่กันเป็นปัจจัยสนับสนุนกันให้เกิดความเห็นชอบหรือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติ ในมรรคมีองค์ ๘ ประการ เพื่อเข้าสู่ขบวนการ ของมรรคผล ปัญญามีบทบาทมากกว่าศรัทธา โดยเฉพาะการเจริญวิปัสสนานั้น ปัญญามีความสำคัญอย่างยิ่ง จนกล่าวได้ว่า หลักธรรมทั้งปวงในพระพุทธศาสนา ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา แสดงให้เห็นว่าปัญญา เป็นองค์ธรรมสูงสุด อนึ่ง ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งพระอริยบุคคลที่บรรลุสัจธรรมว่ามี ๒ ประเภท คือ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคที่มีอินทรีย์แรงกล้า “สัทธานุสารี” ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา เมื่อบรรลุผลจะกลายเป็น “สัทธาวิมุตติ” คือ ผู้พ้นด้วยศรัทธา และเมื่อบรรลุอรหัตผลก็จะกลายเป็นพระอริยบุคคลผู้พ้น ด้วยปัญญา เรียกว่า “ปัญญาวิมุตติ” กล่าวคือ เป็นการหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการ กำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตผล และทำให้เจโตวิมุตติเป็นเจโตวิมุตติ ที่ไม่กำเริบ คือไม่กลับกลายได้อีกต่อไป ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง รัฐธรรมนูญไทย กับบทบัญญัติว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ความโดยสรุปว่า การปกครอง ท้องถิ่นของไทยเกิดขึ้นก่อนมีรัฐธรรมนูญ ความคิดริเริ่มในการให้ประชาชน ปกครองตนเองในรูปของการปกครองท้องถิ่น ปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาล ที่ ๕ ต่อมาภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยเริ่มใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับแรก หลังจากนั้นมีรัฐธรรมนูญอีก ๑๗ ฉบับ ซึ่งบางฉบับมีบทบัญญัติเรื่องการ ปกครองท้องถิ่น แต่บางฉบับก็ไม่มีบทบัญญัตินี้เลย รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ ซึ่งมีผลสำคัญคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะถูกยุบเลิกโดยกฎหมาย (พระราชบัญญัติ) ไม่ได้ การที่จะยุบเลิกการปกครองท้องถิ่นประเภทหนึ่ง ประเภทใดที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มิใช่การยุบเลิกประเภทองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่เป็นเพียงการยุบเลิกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ย่อมสามารถกระทำได้โดยการออกกฎหมาย ธรรมดาเท่านั้น หลักสำคัญในการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ หลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น มีองค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนในท้องถิ่น มีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองท้องถิ่น ของตน มีอิสระในการวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ของท้องถิ่นด้วยตนเอง มีอิสระ ในทางการภาษีอากรและการเงินของท้องถิ่น รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่า รัฐต้องดำเนินการ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ ของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิในการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีระบบ การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรัฐเท่าที่จำเป็น เพื่อการ คุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศ เป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงหลักการปกครองตนเองของประชาชนมิได้ ทั้งยังรับรองความเป็นอิสระของท้องถิ่นในการบริหารงานของตนเอง ในด้าน การกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การเงินการคลัง และมุ่งเน้น การกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง สมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ส่วนคณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบ ของสภาท้องถิ่นก็ได้ ประชาชนสามารถถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือคณะ ผู้บริหารท้องถิ่นได้ รวมทั้งมีสิทธิในการประชาพิจารณ์ในระดับท้องถิ่น รัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น กำหนดให้มีหน้าที่ บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น มีหน้าที่รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม อีกทั้งให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจ เพื่อจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากรระหว่างรัฐกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่นด้วย การบัญญัติเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญทำให้เกิดการ ปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ และการคลังท้องถิ่น แต่มีข้อจำกัด คือ การที่ยังไม่มีการตรากฎหมายอีกหลายฉบับให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เช่น กฎหมายบริหารงานบุคคลท้องถิ่น กฎหมายรายได้ท้องถิ่น และความรู้ ความเข้าใจของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในเรื่องที่เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงบริบททางกฎหมายยังเป็นปัญหา เช่น ความเข้าใจเรื่องการ กำกับดูแลท้องถิ่น • วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การปราบปราม โจรสลัด : ปัญหาทางกฎหมายและแนวทางการแก้ไขในปัจจุบัน ความโดย สรุปว่า โจรสลัดเป็นปัญหาสำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ปัจจุบันการกระทำผิดมีลักษณะรุนแรงและแตกต่างจากอดีต ซึ่งบางครั้ง มีการอ้างวัตถุประสงค์ทางการเมือง ทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ ในเชิงนิติศาสตร์ การกระทำการเป็นโจรสลัดเป็นความผิดที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เพราะเกิด ในทะเลหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตอำนาจของรัฐใดรัฐหนึ่ง กฎหมาย ระหว่างประเทศจึงให้สิทธิแก่รัฐทั้งปวงในการปราบปรามได้ตามหลักเขตอำนาจ สากลของรัฐ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก ������ 2556.indd 3 12/19/13 1:23:33 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=