Nov2013.indd

7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๐ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ ºŸâ  π„®∫∑§«“¡¥— ß°≈à “«¢ÕÕπÿ ≠“µ§â π§«â “‰¥â ∑’Ë »Ÿ π¬å ¢â Õ¡Ÿ ≈¢à “« “√√“™∫— ≥±‘ µ¬ ∂“π Àâ Õß ¡ÿ ¥√“™∫— ≥±‘ µ¬ ∂“π ‚∑√ “√À¡“¬‡≈¢  ÚÛıˆ Ù˘Ú À√◊ Õ∑“߇«Á ∫‰´µå www.royin.go.th µ“¡æ√–√“™∫— ≠≠— µ‘ ¢â Õ¡Ÿ ≈¢à “« “√¢Õß√“™°“√ æ.». ÚıÙ ‡∑§π‘ §°“√∑”ß“π„Àâ ¡’ §«“¡ ÿ ¢ มนุษย์เราส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาอยู่กับที่ทำงาน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ถ้าเราต้องอยู่อย่างเบื่อหน่าย ก็แปลว่าเราต้องเสียเวลาอันมีค่าของเราไป การที่เราจะปรับ เปลี่ยนที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน วัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นไปตามที่เราต้องการนั้นคงจะเป็นสิ่งที่ยาก ควรเริ่มจากการทำให้ตนเองมีความสุขในการทำงาน จึงจะสามารถ สร้างสรรค์งานได้อย่างมีความสุข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแนวคิดการบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ นอกจากให้ความ สำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการบริหารความแตกต่างของบุคคลภายในองค์กรแล้วยังมุ่งส่งเสริมและจัดการให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขด้วย ปัจจุบันหลายองค์การต่างร่วมกันรณรงค์เรื่อง Happy Workplace เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรร่วมกันสร้างให้ที่ทำงานเป็นสถานที่ดีแวดล้อมไปด้วยความสุข หลักการสร างองค์กรแห งความสุข ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ (๒๕๕๓) ได้กล่าวถึงหลักการสร้างองค์กรที่มีความสุขไว้ว่าจะต้องประกอบด้วยหัวใจสำคัญหลายประการคือ การทำงานเป็นทีม (team work) การ มีความสุข (happy) มีความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า (creativity) นอกจากนี้ ได้นำเสนอแนวคิดและหลักการสร้างองค์กรแห่งความสุข ๘ ประการ ดังนี้ ๑. สุขภาพดี คือ มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและจิตใจ ๒. น้ำใจงาม คือ การแสดงความมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน ๓. ทางสงบ คือ การมีคุณธรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในองค์กร ๔. ผ่อนคลาย คือ รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต ๕. หาความรู้ คือ การศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา ๖. ปลอดหนี้ คือ มีเงินรู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้ ๗. ครอบครัวดี คือ มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง ๘. สังคมปลอดภัย สังคมดีมีความปลอดภัย คือ มีความรักสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและที่พักอาศัย เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี (๒๕๕๕) ได้กล่าวถึง เทคนิคการทำงานในองค์กรให้มีความสุข ๕ ห เพื่อการทำงานที่มีความสุข โดยอธิบายว่า หลักการสำคัญที่จะช่วยให้ บรรยากาศในที่ทำงานเต็มไปด้วยความอบอุ่น ซึ่งจะทำให้สถานที่ทำงานน่าอยู่ ประกอบด้วย ห ที่ ๑ หัวเราะ เสียงหัวเราะมักจะทำลายความเครียดได้ในเกือบทุกกรณี เสียงหัวเราะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่สำคัญมาก เวลาที่เราหัวเราะ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแห่ง ความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน ซึ่งสารนี้จะทำให้เกิดความอิ่มเอิบ เบิกบาน ผ่อนคลาย ห ที่ ๒ ห วงใย ความห่วงใยระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน ห ที่ ๓ เห็นอกเห็นใจ ห ที่ ๓ นี้มีความต่อเนื่องมาจาก ห ที่ ๒ เพราะเมื่อเรามีความห่วงใยแล้ว ก็จะนำมาซึ่งความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ห ที่ ๔ ให การให้เป็นความสุขมากกว่าการรับ เพราะฉะนั้นการให้จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสร้างความสุขในที่ทำงาน การให้ในที่นี้หมายความรวมถึงทุกอย่าง ห ที่ ๕ เหตุผลก่อนอารมณ์ อารมณ์ในที่นี้ หมายถึง ความรู้สึกใด ๆ ก็ตามที่จะนำไปสู่ความคิดที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่สร้างสันติ ไม่สร้างความสงบในที่ทำงาน ซึ่งมีความ สอดคล้องกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๕๕) ที่นำเสนอเทคนิคและวิธีการง่าย ๆ สำหรับการสร้างความสุขในการทำงานด้วยการบริหารตนเอง ดังนี้ ๑. อย่าคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องเล็กน้อย ๒. อย่าต่อว่าองค์กร ๓. อย่าเลือกงานที่รัก ๔. อย่าให้ร้ายหัวหน้างาน ควรเคารพและให้เกียรติหัวหน้า คอยสนับสนุนและช่วยเหลือหัวหน้าเท่าที่จะทำได้ ๕. อย่าดูถูกเพื่อนร่วมงาน ซึ่ง “เทคนิคการทำงานให้มีความสุข” สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยมี วิธีการทำงานให้มีความสุข ดังนี้ ๑. สิ่งแวดล้อม ๑.๑ พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน คือ ร่างกายและจิตใจ ด้วย ๓ อ คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ๑.๒ พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายนอก คือ สถานที่ทำงานและคน - สถานที่ทำงาน ถ้าไม่สามารถไปจัดระเบียบที่ทำงานทั้งหมดได้ ก็ใช้วิธีจัดห้องทำงาน หรือ โต๊ะทำงานของเรา - คน หมายถึง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับในศักยภาพของแต่ละคน มองในสิ่งบวก ๒. วิธีการทำงาน ใช้หลักอิทธิบาท ๔ คือมีความรักในงาน แม้ไม่ได้ทำงานที่เรารัก ก็ให้รักงานที่เราทำ มีความเพียร ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางาน และทำให้รู้สึกสนุกเมื่อต้องเรียน รู้งานใหม่ ๆ นางเฉลิมศรี จันทรทิม กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๘/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=