Nov2013.indd

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ภาคสนามในถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทหลายกลุ่ม ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า ตัวอักษรนับเป็น เครื่องแสดงอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไท การมีตัวอักษรใช้ทำให้คนไทมีความภาค ภูมิใจ เพราะตัวอักษรแสดงให้เห็นว่าคนไทมีความเจริญ มีอารยธรรมมาแต่โบราณ คนไทที่มีตัวอักษรใช้แต่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา เช่น ไทดำ ไทขาว ใช้ตัวอักษรของตน บันทึกสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ ตำนานความเป็นมาของโลกและสรรพสิ่ง ตำนานการสร้างบ้าน แปลงเมือง พงศาวดาร บทสวดในพิธีกรรม ฤกษ์ยามสำหรับประกอบพิธีกรรมและการ ทำมาหากิน และตำรายา เอกสารตัวเขียนที่บันทึกสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่ง ของกลุ่มชนดังกล่าว ส่วนคนไทที่นับถือพระพุทธศาสนา นอกจากใช้ตัวอักษรบันทึก เรื่องราวดังกล่าวแล้ว ยังใช้บันทึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ ประวัติพระสาวก พระอภิธรรม นิบาตชาดก ชาดกจากปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้านที่ แต่งขึ้นในท้องถิ่น ตำนานพระธาตุเจดีย์ ตำนานพระพุทธบาท ตำนานพระพุทธรูปและ อานิสงส์ต่าง ๆ คนไทที่นับถือพุทธศาสนาให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างและ อนุรักษ์พระธรรมคัมภีร์ทางพุทธศาสนา แม้มีอุปสรรคด้านการเมืองการปกครองใน บางสมัย แต่ผู้รู้ก็พยายามสืบทอดโดยการคัดลอกต่อ ๆ กันมา ประเพณีการฟังพระ ธรรมเทศนา และประเพณีทานธรรมที่เกิดจากความเชื่อเรื่องอานิสงส์การสร้างพระ ธรรมคัมภีร์ ทำให้แต่ละวัดมีพระธรรมคัมภีร์ที่ชาวบ้านนำมาถวายวัดเป็นจำนวนมาก ตัวอักษรจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในสังคมชนชาติไท ผู้อาวุโสในสังคมชนชาติไท หลายแห่งได้พยายามฟื้นฟูและส่งเสริมให้เยาวชนเรียนภาษาไทและตัวอักษรไท อย่างไรก็ดี ตัวอักษรไทจะดำรงอยู่อย่างมีความหมาย เป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ เป็น เครื่องมือสืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นกุญแจไขความรู้ที่บรรพบุรุษให้มาได้มากน้อย เพียงไรขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ที่จะเห็นความสำคัญ ช่วยกันศึกษา และ พยายามสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอม- เกล้าเจ้าอยู่หัวและศิลปะสมัยใหม่ ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทรงสถาปนาสังคมสมัยใหม่ให้กับสังคม ไทย และทรงขับเคลื่อนไทยภิวัตน์จากสังคมเก่ามาสู่สังคมใหม่อย่างมีความหมายยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประชาชนแซ่ซ้องสรรเสริญถวายพระนาม ว่า “พระพุทธเจ้าหลวง” และ “สมเด็จพระปิยมหาราช” พระองค์ทรงบรรพชาเป็น สามเณรเมื่อครั้งยังคงอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุระหว่างทรงครองราชย์เป็นพระองค์แรกอีกด้วย พระองค์ทรง ครองราชย์ยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ ตลอดห้วงเวลายาวนานนั้น ทรงปฏิรูปสังคมไทยอย่างอเนกอนันต์ยิ่ง เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ถึง ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จประพาสสิงคโปร์ อิตาลี สวิต-เซอร์ แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยียม เดนมาร์ก และนอร์เวย์ ระหว่างเสด็จ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ทรงพระราชทานพระราชหัตถเลขาถึง “สมเด็จหญิงน้อย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ผู้ซึ่งสนอง พระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถในตำแหน่งเลขาธิการฝ่ายใน รวม ๔๓ ฉบับ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จัดพิมพ์เป็น “พระ ราชนิพนธ์ไกลบ้าน” พ.ศ. ๒๔๕๐ ในที่นี้ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ไกลบ้านบางตอน ที่เกี่ยวข้องกับการที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมชมศิลปกรรมทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ศิลปะการแสดง จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพถ่าย เครื่องปั้นดินเผา ศิลปหัตถกรรม โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ดังตัวอย่างพระราชนิพนธ์บางตอน “พ่อไปยืนให้ช่างกระดาษตัดรูป มันตัดเร็วจริง ๆ ถ้าเข้าไปงานวัด เบญจมบพิตรคงจะรวย แกตัดทีหนึ่งได้ถึงสามรูป วน ๆ เวียน ๆ อยู่อย่างนั้นจนบ่าย มันสบายที่จะต้องการอะไรไปที่เรสเตอรองต์ได้ทั้งสิ้น เดินนิดเดียวถึง กินตับห่านและไส้ กรอกที่ทำสด ๆ เดี๋ยวนั้นทั้งสองอย่างแล้วให้ไปซื้อตั๋วจะเข้าไปดูในคอนเวอเซชะนัลฮอล แมเนเยอเจ้าของโรงนั้นไม่เอาเงิน ยอมให้เข้าเปล่า ซ้ำต้อนรับออกหรู ด้านข้างน่าเปน ห้องใหญ่ยาวกว้างขวางมาก มีแท่นแลตั้งเก้าอี้มากเห็นจะเปนที่ร้องเพลง ถัดเข้าไปข้าง ในอิกห้องหนึ่งเปนแกละรี โชรูปภาพเขียนแลภาพหล่อ ได้ซื้อรูปภาพเขียนสองแผ่น ตุ๊กตาสามตัว ตาแมเยอนั้นให้รูปเมืองบาเดน บาเดน อย่างเก่าแผ่นหนึ่ง” (เมืองบาเดน บาเดน เยอรมนี ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐) “วันนี้ได้ตำน้ำพริกจิ้มไข่เจียวอร่อยเพลินเปนอันมาก แต่พริกที่แช่น้ำปลามานั้น มหาแหลก เขาไม่เข้าใจ หยิบพริกสำหรับกินกับปลากุเราเมื่อวานเทน้ำปลาทิ้งเสียหมด เอาไว้แต่พริกเปล่า ๆ เหี่ยวปอดแปด ไม่มีอย่างอื่นนอกจากที่จะฟาดเคราะห์ทำอะไร ต่าง ๆ แล้วเขียนรูป” (เมืองบาเดน บาเดน เยอรมนี ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐) เมื่อได้พินิจพิจารณาพระราชหัตถเลขาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ช่วงที่เสด็จ ประพาสอยู่ในเยอรมนี ตามที่พระองค์ได้ทรงวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น น่า จะเป็นการที่พระองค์ได้ทรงเยี่ยมชมศิลปะแนว “German Expressionism” ของ ศิลปินเยอรมันเป็นประการสำคัญ และอาจมีศิลปะแนว “Fauvism” ตามสมควร รวม ทั้งการที่พระองค์ได้เสด็จต่อไปยังอังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วยเช่น กัน “เวลาบ่าย ๕ โมงจะมีรถหลวงไปรับที่เอสสหิบิเชนอะไร ๆ ยืดยาวต่าง ๆ ...เอสสหิบิเชนนั้นได้ตั้งอยู่กลางเมืองมีหอสูงของเดิมอยู่กลาง แล้วทำเปนสวนรอบ แต่ง ปลูกไม้สี มีปิกเชอแกละรีทำขึ้นใหม่ ใช้ศิลามาก กระไดกลางทำด้วยศิลาแห่งใหญ่ ๆ ที่ จริงงานดีเด่นแลดูด้วน ๆ หนัก ๆ รูปพรรณสัณฐานนั้นก็เปนสามเขาตั้งทั้งรูปหล่อรูป ศิลาแลรูปภาพ มีรูปหล่อที่ดี ๆ พอดูได้อยู่บ้างแต่รูปภาพนั้นเต็มที ที่เปนรูปเขียนอย่าง เก่าอยู่ไม่เท่าใด นอกนั้นเปนอย่างโมเดอนซึ่งเหลือที่จะเล่าว่ารูปอะไรเป็นอย่างไร มัน หนักขึ้นไปกว่าเมืองเวนิศ บางแผ่นน้ำยาเหมือนรูปหอยแครงหยอดเกาะ ๆ กันไปเป็น รูปพร่า ๆ บางแห่งเหมือนเอาเส้นแมกกาโรนีย้อมสีแดงสีเขียวสีเหลืองทองไว้ตามแต่จะ นึกว่ารูปอะไร ยังมีอีกอย่างหนึ่งนั้นเปนดินสอดำเส้นเดียวลากเหมือนกันกับเด็ก ๆ มัน เขียนเล่มที่เมรุฤาที่ศาลาวัด สับเยกต์ที่จะเขียนนั้นคงจะหาให้น่าเกลียดที่สุดตามที่จะหา ได้ ฤาแกล้งเขียนให้มันบ้า ๆ เช่นกับถ้าจะเขียนรูปผู้หญิงคงจะหาที่หน้าตาเสยะฟัน เขยินตาลึกท้องคอดคล้าย ๆ กับเขียนเปรตหลังโบสถ์ ถึงเขียนสีก็เลือกเอาสับเยกต์ที่ เลวที่สุด ที่ไม่ดีเปนการเก๋ สีก็ใช้สีที่แปร๋ปร๋าเงาก็ไม่ต้องมี ระบายก็ไม่ต้องระบายป้ายลง ไปเฉย ๆ เส้นก็ไม่ต้อง เดินดู ๆ ก็เปนที่ท้อใจ คำที่ว่าอาตนั้นกลายเปนไม่มีอาตในนั้นสัก นิดเดียว จะว่าเหมือนก็ไม่เหมือน จะว่างามก็ไม่งาม ถ้าจะเขียนให้เหมือนก็เลือกเอา เหมือนที่อย่างไม่ดีที่สุด คือหมอกมัวมืดควันกระหลบ ถ้าจะแปร๋ก็พระอาทิตย์เปนสี ทับทิม สีม่วง ต้นไม้สีม่วง พื้นแผ่นดินเปล่า ๆ สีเขียวอะไร โสกกระโดกต่าง ๆ เช่นนี้” (เมืองมันไฮม์ เยอรมนี ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐) “รังสิตมาจากไฮเดลแบ็ก หมอให้มารักษาตัวอาบน้ำที่นี่ ได้นำรูปซึ่งถ่ายพร้อมกัน ที่บ้านเจ้าไวมาร์มาให้ลงชื่อ เขาลงกันหมดแล้วกับรูปที่เจ้าหญิงโซไฟถ่าย แลรูปดอกไม้ที่ เธอให้มาส่ง รูปที่ช่างถ่ายที่ไฮเดลแบ็กเล่นแสงสว่างเปนช่องนั้นเข้าทีมาก เขาเล่น กระดาษต่าง ๆ ออกจะครึ ๆ ถ้าคนดูธรรมดาเห็นจะไม่ใคร่จะเห็นงานต้องดูอย่างเก๋ อ้ายการที่เล่นรูปต่าง ๆ เช่นนี้ มันเหมือนกันกับเขียนรูปอย่างใหม่ ๆ ที่พ่อเกลียด แต่ เพราะพ่อชอบเล่นถ่ายรูปจึงได้ชอบรูปแผลง ๆ ไปนึกถึงอกตาช่างเขียนแกคงเบื่ออ้าย เขียนตามเคยจึงได้ยักเขียนบ้า ๆ ได้ตั้งใจจะซื้ออ้ายบ้า ๆ ไปให้เห็นสักแผ่นหนึ่งว่าบ้า เพียงไหน แต่จับเข้าก็เสียดายเงิน เคยตั้งใจกัดฟันว่าจะซื้อสักแผ่นหนึ่งให้ได้ พอ ออกปากว่าจะซื้อคนที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ร้องจุ๊ ๆ ทั่วกันหมดเลยซื้อไม่ได้เช่นนี้มาหลายคราว นักหนาแล้ว” (เมืองบาเดน บาเดน เยอรมนี ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐) ด้วยพระราชวิสัยทัศน์และพระราชวินิจฉัยที่กว้างไกล ถ้าไม่มีข้าราชบริพารที่ ตามพระองค์ไม่ทัน จนกระทั่งพระองค์ต้องทรงบันทึกไว้ว่า “พอออกปากว่าจะซื้อคนที่ ยืนอยู่ใกล้ ๆ ร้องจุ๊ ๆ ทั่วกันหมดเลยซื้อไม่ได้เช่นนี้มาหลายคราวนักหนาแล้ว” พระองค์ คงตัดสินพระราชหฤทัยซื้อจิตรกรรมสมัยใหม่ ซึ่งอาจมีคุณค่าและประเมินค่าสูงมาก มา แขวนไว้ในพระบรมมหาราชวังหรือที่ใดสักแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันท์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เครื่องกระเบื้องใน พระที่นั่งวิมานเมฆ ความโดยสรุปว่า เครื่องกระเบื้องมีลวดลายแปลกตา สวยงาม เช่น ชาม โถ บ้วนพระโอษฐ์ ชุดกา ถ้วย แจกัน จัดแสดงในพระที่นั่งวิมานเมฆมาจาก ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำ ความนิยมเครื่องกระเบื้องของยุโรปมาสู่ประเทศไทย ไทยเคยสั่งซื้อและสั่งทำจาก ประเทศจีน กระเบื้องเคลือบนี้ได้เริ่มผลิตในสมัยราชวงศ์ฮั่น พัฒนาในราชวงศ์ถัง และ ราชวงศ์ซ่ง จนประสบความสำเร็จในสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ในสมัย ราชวงศ์หมิงนั้นได้มีการค้นพบผลิต “เครื่องลายคราม” ในรัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่บ้านเมืองเจริญมาก ชาวไทยมีเวลาที่จะชื่นชม งานศิลปะ หรือมีงานอดิเรกที่ตนพึงพอใจ เป็นยุคสมัยแห่งการเล่นสะสม “สิ่งของ” บาง อย่าง เช่น เครื่องลายคราม ซึ่งเป็นของเก่าที่นิยมเล่นกันมาจนถึงปัจจุบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=