Nov2013.indd

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๐ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ พบว่าวิธีที่เสนอนี้ให้ผลความถูกต้องมากกว่าวิธีอื่นอย่างชัดเจน ๏ วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง อนาคตของการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยต้องการกำลังผลิตไฟฟ้า เพิ่มอีกประมาณ ๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ ภายใน ๑๐ ปี แก๊สธรรมชาติยังคงเป็นแหล่ง พลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า การประเมินศักยภาพกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนที่เป็นไปได้ในพื้นที่ทั่วประเทศกว่าสิบแห่ง ได้แสดงว่าศักยภาพจากพลังลม และพลังน้ำขนาดเล็กมีมากกว่า ๔,๐๐๐ และ ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์ การผลิตไฟฟ้าจากขยะ เทศบาลและของเหลือทิ้งจำนวนมากจากการเกษตร จะมีศักยภาพของกำลังผลิตไฟฟ้า ในประเทศเพิ่มขึ้นได้มาก ถ้ามีการทบทวนส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้าที่ยังไม่เป็นธรรมแก่ ประชาชน พลังงานนิวเคลียร์น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในระยะยาว เนื่องจากโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์รุ่นปัจจุบันมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งในการผลิตไฟฟ้า และลดแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หลาย ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้วางแผนใช้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดใหญ่เพิ่ม ขึ้น จีนและอินเดียได้วางแผนเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขึ้นอีกมาก และบางประเทศใน อาเซียนได้มีแผนติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แล้ว ภายในประมาณ ๑๐ ปี แหล่งพลังงานในประเทศทั้งแก๊สธรรมชาติและพลังงาน หมุนเวียน จะได้รับการพัฒนามาใช้มาก จนเหลือศักยภาพที่คุ้มค่าน้อย เนื่องจากโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ และมียูเรเนียมสำรองอยู่อีกมากในโลก ประเทศไทยน่าจะเริ่มเตรียมงานเพื่อใช้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดเล็กหลังจากนั้น ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มีทั้งขนาดเล็กและเล็กมากให้เลือกใช้จากหลายประเทศ ส่วนโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ คงจะต้องใช้เวลาเตรียมงานและดำเนินการ ไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี ถ้าเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงด้วยเทคโนโลยี ปัจจุบัน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกหลักที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า ก็จะสูงมากขึ้นด้วย เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จน น่าจะมีความคุ้มค่าและการยอมรับเป็นทางเลือกที่ดีในไม่ช้า ถึงแม้เทคโนโลยีเซลล์แสง อาทิตย์ในปัจจุบันยังมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้ายังสูงเกินไปในการป้อนเข้าสายส่ง แต่การ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์หลายชนิดรวมทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชีวภาพ น่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงจนคุ้มค่าได้ในอนาคต ๏ วันพุธที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง โทรทัศน์ดิจิทัล ความโดย สรุปว่า นับตั้งแต่การทดลองส่งภาพเคลื่อนไหวโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในห้องทดลอง โดย John Logie Baird ชาวสกอต เมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๕ ระบบโทรทัศน์ได้มีการ วิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การแพร่ภาพโทรทัศน์ขาวดำ ไปเป็นโทรทัศน์สี ซึ่ง เป็นการส่งสัญญาณภาพที่เป็นสัญญาณแอนะล็อก การวิวัฒนาการก็ไม่ได้หยุดยั้งเพียง นั้น มนุษย์ยังมีความต้องการภาพที่คมชัดขึ้น จึงได้มีการพัฒนาโทรทัศน์ที่มีความชัดสูง (High Definition Television – HDTV) ซึ่งต้องใช้แถบความถี่ที่กว้างขึ้นในการแพร่ ภาพ อนึ่ง ความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล ทำให้มีการวิจัยและพัฒนาโทรทัศน์ ระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (source coding) ที่จะแพร่ภาพให้อยู่ ในรูปของสัญญาณดิจิทัล และมีการประมวลสัญญาณต่าง ๆ ก่อนจะส่งโดย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านสายอากาศ ในระยะแรกสัญญาณดิจิทัลที่ได้มีอัตราบิต (bit rate) สูง ซึ่งหมายถึงการที่ต้องใช้แถบความถี่ (bandwidth) ในการส่งกว้างกว่าระบบ แอนะล็อก งานวิจัยด้านการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว ที่นำการรับรู้ภาพและเสียงของ มนุษย์มาปรับใช้ในการเข้ารหัส ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านการประมวล สัญญาณดิจิทัล เพื่อต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นปรปักษ์ต่อการส่งสัญญาณ ทำให้ระบบ โทรทัศน์ดิจิทัลปัจจุบันมีความคมชัดสูง และใช้แถบความถี่น้อยกว่าระบบโทรทัศน์แอนะล็อก จึงเป็นการประหยัดแถบความถี่ ทำให้สามารถส่งช่องโทรทัศน์ได้มากขึ้น หรือนำความถี่ ที่ประหยัดได้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น โทรทัศน์ดิจิทัลปัจจุบันที่ใช้งานกันทั่วไปมีอยู่ ๔ ระบบ คือ ระบบ ATSC (Advanced Television System Committee) ซึ่งใช้ในประเทศอเมริกาเหนือและ อเมริกากลางเป็นหลัก ระบบ DVB (Digital Video Broadcasting) ซึ่งใช้ในประเทศ ยุโรปเป็นหลัก ระบบ ISDB (Integrated Services Digital Broadcasting) ซึ่งใช้ใน ประเทศญี่ปุ่นและอเมริกาใต้เป็นหลัก และระบบ DTMB (Digital Terrestrial Multimedia Broadcasting) ซึ่งใช้ในประเทศจีนเป็นหลัก ทั้งนี้ มีหลายประเทศที่ได้ เปลี่ยนจากระบบแอนะล็อกเป็นระบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์แล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน กล่าวคือ มีการแพร่ภาพทั้ง ๒ ระบบ โดยมีการกำหนดวันที่ แน่นอนที่จะยกเลิกระบบแอนะล็อก สำหรับประเทศไทยนั้น กสทช. ได้กำหนดให้มีการเริ่มแพร่ภาพระบบดิจิทัลอย่าง เป็นทางการใน พ.ศ. ๒๕๕๘ และกำหนดการยกเลิกระบบแอนะล็อกใน พ.ศ. ๒๕๖๓ กสทช. กำหนดว่าจะมีช่องโทรทัศน์ดิจิทัลจำนวน ๔๘ ช่อง แบ่งเป็นช่องบริการธุรกิจ ๒๔ ช่อง ช่องสาธารณะ ๑๒ ช่อง และช่องบริการชุมชน ๑๒ ช่อง ปัจจุบัน กสทช. กำลังดำเนินการเปิดประมูลช่องบริการธุรกิจ ๒๔ ช่อง โดยแบ่งเป็น หมวดทั่วไปความ ชัดสูง (High Definition - HD) ๗ ช่อง หมวดทั่วไปความชัดมาตรฐาน (Standard Definition - SD) ๗ ช่อง หมวดข่าวและสารประโยชน์ความชัดมาตรฐาน ๗ ช่อง และหมวดเด็กและเยาวชนความชัดมาตรฐาน ๓ ช่อง กสทช. จะพิจารณาผลการ ประมูลในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง หลังคาเปลือกบาง ความ โดยสรุปว่า อาคารที่มีหลังคาช่วงกว้างมาก ๆ โดยไม่มีเสาตั้งขวางภายใน ปรกติมักใช้ โครงสร้างพิเศษชนิด ๓ มิติ ที่ไม่ใช่ระบบพื้น-คาน-เสาธรรมดา หลังคาเปลือกบางเป็น โครงสร้าง ๓ มิติ ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันไป การเลือกใช้รูปแบบใดขึ้นอยู่ กับความต้องการในการใช้งาน ระยะที่จะยอมให้หลังคาสูงได้ ลักษณะภูมิประเทศและ ลมฟ้าอากาศรอบบริเวณที่จะสร้าง ตลอดจนงบประมาณค่าก่อสร้าง หลังคาเปลือก บางปรกติมักหมายถึงหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีมิติหนึ่งน้อยกว่าอีก ๒ มิติมาก ๆ เช่น ช่วง ๓๐ เมตร x ๓๐ เมตร มีความหนาของคอนกรีตเพียง ๐.๑๐ เมตร เพราะ ในการคำนวณออกแบบ ส่วนใหญ่จะใช้ทฤษฎีเมมเบรน (membrane theory) ซึ่งมีแต่ แรงดึงในเมมเบรน ส่วนแรงอัดจะรับด้วยคานขอบซึ่งทำหน้าที่ถ่ายแรงลงสู่ฐานราก แต่ถ้าใช้ความหนามากจะเกิดแรงดัดขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี ข้อเสียเปรียบของ หลังคาเปลือกบางคอนกรีต คือ การสร้างแบบสำหรับหล่อคอนกรีตต้องมีค้ำยันสูง ยากในการสร้าง ยกเว้นเปลือกบางชนิด hyperbolic paraboloid แต่ถ้าเป็น โครงสร้างชนิดโครง ๓ มิติ (space frame หรือ space truss) มักใช้โครงที่ทำด้วยท่อ เหล็กหรือเหล็กรูปพรรณ สามารถประกอบบนพื้นชั้นล่างจนเสร็จเรียบร้อย แล้วใช้ อุปกรณ์ยกโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้วนั้น ขึ้นวางบนที่รองรับที่ทำเตรียมไว้แล้วจะได้ งานที่เรียบร้อย สร้างได้เร็ว อย่างไรก็ดี หลังคาเปลือกบางซึ่งทำด้วยคอนกรีตก็ยังเป็น ที่นิยมในต่างประเทศ เพราะรูปร่างสวยงาม สามารถพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ เป็น เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละอาคาร สำนักศิลปกรรม ๏ วันอังคารที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง งานประดับกระจกใน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ความโดยสรุปว่า งานประดับกระจกเป็นงาน หัตถศิลป์ประเภทหนึ่ง เมื่อนำกระจกสีขาวและกระจกสีต่าง ๆ มาประดับเข้ากับงาน มัณฑนศิลป์บางงานดูคล้ายประดับด้วยอัญมณี และเป็นการเสริมคุณภาพของงาน มัณฑนศิลป์ งานประดับกระจกในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวาง ปรากฏเป็นหลักฐานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้ประดับตกแต่งศาสนสถาน ปูชนียวัตถุ และเครื่องอุปโภคต่าง ๆ โดยการตัดแบ่ง เจียนกระจกออกเป็นชิ้นย่อย ๆ เป็นลายเรขาคณิต ที่ต่างจากช่างไทยตัดคือ เป็นเส้นโค้ง และรูปอย่างใบไม้ ใช้ “สมุก” และ “เทือกรัก” ติดกระจกประดับพื้นชนิดต่าง ๆ งานประดับกระจกอาจจำแนกรูป แบบและวิธีการออกแบบตามลักษณะของงานด้วยการเปรียบเทียบกับภาษาช่างไทย เป็น ๘ ลักษณะ ศ. ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง อักษรไท : อัต- ลักษณ์และเครื่องมือสืบทอดพระพุทธศาสนาของคนไท” ความโดยสรุปว่า กลุ่มชนที่ พูดภาษาตระกูลไทหรือเคยพูดภาษาตระกูลไทซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศอินเดีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมทั้งลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นั้น หลายกลุ่มมีตัวอักษรของตนเองใช้ ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษร ชนชาติไทได้แบ่งกลุ่มตัวอักษรของคนไทออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มอักษรไทอาหม กลุ่มอักษรพ่อขุนรามฯ และกลุ่มอักษรธรรม และได้แสดงความเห็นว่าการแบ่งกลุ่มคน ไทตามตัวอักษรที่ใช้นับเป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทอีกแนวหนึ่ง จากประสบการณ์ของผู้บรรยายที่ได้ศึกษาวรรณกรรมของชนชาติไทและเก็บข้อมูล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=