Nov2013.indd
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๐ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นายอนันต์ อนันตกูล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มาตรการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันของประเทศไทยมีมายาวนาน นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและมีความสลับซับ ซ้อนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลที่ผ่านมาหลายสมัยพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ (Transparent International) ได้รายงานผลการสำรวจภาพลักษณ์คอร์รัปชันตามดัชนี ชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) ของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ พบว่าประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอยู่และมี ความรุนแรงค่อนข้างมาก ในประเทศที่ประสบความสำเร็จ อันได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น มี มาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในรูปกฎหมายและไม่ใช้ กฎหมาย รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเมืองมีเสถียรภาพต่อเนื่อง มีผู้นำที่ซื่อสัตย์สุจริต ประชาชนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเองดี มีค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน มี กฎหมายที่ให้อำนาจอย่างเพียงพอที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีภาค ประชาชน ภาคเครือข่ายประชาสังคม หรือภาคเอกชนที่เข้มแข็งมีส่วนร่วมในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน เจ้าหน้าที่ของรัฐมีรายได้มั่นคง มี ประสิทธิภาพ ไม่ตกเป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมทุจริตด้วย และมีการบังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจัง ส่วนประเทศไทย ควรมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ผล สัมฤทธิ์ ดังนี้ (๑) การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับ เจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือเจ้าพนักงานขององค์กรระหว่างประเทศ การ ปรับปรุงโทษริบทรัพย์สิน การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการควบคุมพฤติกรรมเจ้า หน้าที่ของรัฐภายหลังพ้นตำแหน่ง การกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดลง และการจัดตั้ง คณะกรรมการอัยการพิเศษคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) การพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชันให้มีความเป็นอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง (๓) การส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคเอกชน และ ภาคสื่อมวลชน ร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันด้วยมาตรการลงโทษทางสังคม เช่น ไม่เลือกตั้งนักการเมืองที่เคยทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ซื้อขายสินค้าหรือบริการจากกิจการ ธุรกิจที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนให้ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมมี ส่วนร่วมเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเรื่องการกำหนด ราคากลาง การจัดซื้อ จัดจ้าง ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ในผลประโยชน์ส่วนร่วม และศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ ปลูกฝังค่านิยมเรื่องผล ประโยชน์ส่วนรวม จิตสาธารณะ ให้แก่ทุกภาคส่วนของสังคม (๔) รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ที่ดี มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เจ้า หน้าที่ของรัฐต้องมีจิตสำนึกของการเป็นข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และปฏิบัติหน้าที่โดยใช้หลักธรรมาภิบาล เครือข่ายภาครัฐควรมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยส่งเสริมให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักธรรมาภิบาลปฏิบัติราชการ (๕) ภาคธุรกิจเอกชนต้องกำกับดูแลกิจการภายใต้หลักบรรษัทภิบาล และ ควรมีประมวลจริยธรรมของตน ภาคองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญควรมีการ จัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อบูรณาการการทำงานในเรื่องข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ความ เชี่ยวชาญ เทคนิควิทยาการ บุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และเทคโนโลยี ภาค สื่อมวลชนควรมีการเผยแพร่ข่าวสารการทุจริตคอร์รัปชันของหน่วยงาน และการเฝ้า ระวังพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ที่จะส่อว่าทุจริตคอร์รัปชัน และองค์กรด้านการศาสนา ต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมด้าน ความซื่อสัตย์สุจริต (๖) การพัฒนากระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการบังคับการให้เป็นไปตามคำ พิพากษาของศาล ต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว เที่ยงธรรม โปร่งใส ให้สาธารณชน ยอมรับ (๗) ผู้นำทางการเมือง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นัก บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต มีภาพลักษณ์ควรแก่การยกย่อง สรรเสริญ และไว้วางใจ ดำเนินชีวิตอย่าง ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รังเกียจการทุจริตคอร์รัปชัน และต้องบังคับบัญชาผู้คนใน หน่วยงานของตนให้ตั้งใจปฏิบัติตนในหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ความผาสุก ของประชาชน และความเจริญของประเทศชาติเป็นสำคัญ ๏ วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความเหลื่อมล้ำในสังคม และผลกระทบ ความโดยสรุปว่า ความเหลื่อมล้ำคือสาเหตุสำคัญของปัญหาที่คุกคาม ความผาสุกของมนุษย์ทุกด้าน ฉะนั้น จึงต้องลดความเหลื่อมล้ำลงให้มีอยู่น้อยที่สุด รากเหง้าที่แท้จริงของความเหลื่อมล้ำซึ่งแสดงออกมาในรูปของการที่ประชาชนมีสิทธิ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตไม่เท่ากัน อยู่ที่ระดับ โครงสร้างต่าง ๆ ในสังคม ทั้งโครงสร้างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือ โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้ำจุนระบบที่ไม่ส่งเสริมการกระจายสิทธิและ โอกาสอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องแก้ไขการกระจายอำนาจ การแก้ไขในระดับโครงสร้างไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งรัฐต้องดำเนินการ อย่างจริงจังทั้งในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลจาก ศูนย์กลางมีส่วนแบ่งในโอกาสทางรายได้มากขึ้น ในด้านการศึกษา รัฐควรกระจาย โอกาสและงบประมาณลงไปในระดับพื้นฐานให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ ในระดับล่างมีส่วนแบ่งที่เป็นธรรม ในด้านแรงงาน ความเหลื่อมล้ำอาจลดลงได้ด้วย การประกันสิทธิและโอกาสของคนงาน ปรับค่าจ้างที่เหมาะสมและสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ ส่วนในด้านสุขภาพ แม้ว่าประชากรในประเทศไทยประมาณร้อยละ ๙๗ จะมีระบบ ประกันสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถได้รับบริการเมื่อเจ็บป่วย แต่ก็ยังมีความ เหลื่อมล้ำระหว่างบริการในระบบที่แตกต่างกันอยู่ไม่น้อย ทั้งหมดนี้ควรได้รับการปฏิรูป เพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในคุณภาพของบริการ ท้ายที่สุด การพัฒนาที่เน้นความเติบทางเศรษฐกิจจนเกินไปอาจเป็นการเพิ่ม ระดับความเหลื่อมล้ำในสังคมให้สูงขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น นโยบายการพัฒนาที่ให้ความ สำคัญเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่จะให้ประชาชนทุกกลุ่มมีส่วนแบ่งในความเติบโตมากขึ้น ก็ อาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้ ความแตกต่างของมนุษย์ ความเหลื่อมล้ำในด้านสิทธิ และโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิต ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่โครงสร้าง และระบบทำให้เกิดขึ้น ดังนั้น การปฏิรูปโครงสร้างและปฏิรูประบบสังคมอย่าง รอบคอบจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ รศ.วุฒิชัย มูลศิลป ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มหาชนนิกรสโมสรสมมุต : พระราชพิธีการสืบสันตติวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙ ความโดย สรุปว่า ในปลาย พ.ศ. ๒๔๒๗ เมื่อประเทศอยู่ในภาวะอันตรายต่อการสูญเสียเอกราช เพราะการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก กลุ่มเจ้านายและข้าราชการที่เป็นราชทูต และรับราชการในทวีปยุโรป ได้ร่วมกันร่างคำกราบบังคมทูลถวายพระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงภาวะของไทยที่ชาติจักรวรรดินิยมตะวันตกอาจใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อคุกคามไทยได้ และหนึ่งในนั้นคือ พระราชประเพณีที่ไม่ชัดเจนในการสืบราชสมบัติ ที่เรียกว่า มหาชนนิกรสโมสรสมมุต หรือ เอนกชนนิกรสโมสรสมมต พระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสรสมมุตเป็นลักษณะพิเศษในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุด โดยพระราชทานอำนาจให้ พระบรมวงศ์ ขุนนาง ร่วมกันเลือกเจ้านายที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ขึ้นครองราชสมบัติ ได้ เป็นการเปิดกว้างกว่าการตั้งอุปราชหรือวังหน้าที่ดำเนินมาตั้งแต่สมัยสมเด็จ- พระบรมไตรโลกนาถเป็นเวลาหลายร้อยปีได้ การเลือกพระเจ้าแผ่นดินเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า- จุฬาโลกมหาราช และมาชัดเจนจนเป็นพระราชประเพณีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ- พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ- √ÿ ª°“√∫√√¬“¬‡ πÕº≈ß“π§â π§«â “·≈–«‘ ®— ¬ ¢Õß√“™∫— ≥±‘ µ·≈–¿“§’ ¡“™‘ °µà Õ∑’Ë ª√–™ÿ ¡ ”π— °
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=