Dec2013.indd
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๑ เดือนธันวาคม ๒๕๕๖ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสูง คือกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวสันติอโศก และกลุ่มคนซึ่งคาดว่ามีการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่ำ คือกลุ่ม พนักงานบริษัททั่วไปในกรุงเทพมหานครตอบ ผลปรากฏว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวสันติอโศกมีคะแนนการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่ากลุ่ม พนักงานบริษัททั่วไปในกรุงเทพมหานคร ไดเนอร์ (๒๐๐๕) ชี้ว่า คนที่ยากจนสามารถมีความเข้มแข็งหลายอย่างในชีวิตได้ เช่น โรเบิร์ต บิสวอส-ไดเนอร์ (Robert Biswas-Diener) ศึกษาผู้อยู่ใน ชุมชนแออัดในเมืองกัลกัตตา ที่แม้แต่คนที่ไม่มีบ้านอยู่อาศัยก็มีมิตร มีครอบครัวอยู่ในชนบท ได้รับความรู้สึกทางบวกจากศาสนา มีความนับถือตนเอง และอื่น ๆ การวิจัยเรื่องสุดท้ายศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมกับความรู้สึกดีเชิงอัตวิสัย ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๔ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (สาริณี วิเศษศร, ๒๕๔๐) มีการวัดความเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมใน ๓ มิติ คือ มิติลักษณะส่วนบุคคล มิติลักษณะระหว่างบุคคล และมิติลักษณะ ทางสังคม-การเมือง ในการวัดความรู้สึกดีเชิงอัตวิสัยวัดเป็น ๓ ด้านย่อย คือ ความพึงพอใจในชีวิต อารมณ์ความรู้สึกทางบวกและอารมณ์ความรู้สึกทางลบ และ ความสุข ผลการวิจัยพบว่าความเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมทั้ง ๓ มิติ มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิต อารมณ์ความรู้สึกทางบวกและอารมณ์ความ รู้สึกทางลบ และความสุข ซึ่งกล่าวได้ว่านิสิตที่มีความเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมสูงมีแนวโน้มจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกดีเชิงอัตวิสัยสูงด้วย นอกจากงานวิจัยดังกล่าวข้างต้นแล้วผู้สนใจยังสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บสำคัญในเรื่องนี้ ๓ เว็บไซต์ เว็บไซต์แรกเป็นของไดเนอร์ (๒๐๑๒) ตอบคำถามที่น่าสนใจในเบื้องต้นไว้หลายข้อ เช่น ถามว่าใครเป็นคนที่มีความสุข ไดเนอร์ตอบว่างานวิจัยที่ทำร่วมกับ ซีลิกแมน (Diener & Seligman, ๒๐๐๒) ใช้วิธีวัดความรู้สึกดีเชิงอัตวิสัยหลายวิธี พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยร้อยละ ๑๐ ที่มีความสุขมากที่สุด มี ๒ อย่างร่วมกัน คือการมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ซึ่งการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีนี้เป็นโดยภาพรวม ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมีความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ดีในทุก ๆ กรณี แต่บางคนที่ไม่มีความสุขก็มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ดังนั้น ข้อสรุปจึงมีว่าการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการมีความ รู้สึกดีเชิงอัตวิสัย แต่ก็ไม่เพียงพอ เราจะแนะนำคนที่อยากมีความสุขอย่างไร ไดเนอร์ออกตัวว่าไม่มีสูตรสำเร็จที่จะทำให้ทุกคนมีความสุขได้ แต่คนที่จะมีความสุขได้เท่าที่พึงมีได้จะต้องประกอบ ด้วยอย่างน้อย ๓ อย่าง ดังนี้ ๑. ต้องมีเพื่อนและครอบครัวที่ดี บางครั้งอาจต้องเสียสละบางอย่างเพื่อจะได้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีความรัก มีคนที่ห่วงใยเราและคนที่เราห่วงใย อย่างมาก ๒. ต้องทำกิจกรรม เช่น งานที่ชอบและเห็นคุณค่า เราจะทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่าและน่าสนใจ ๓. ต้องควบคุมการมองโลก ฝึกตนเองไม่ให้ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ เว็บไซต์ที่ ๒ เป็นของซีลิกแมนและคนที่ศึกษาเรื่องจิตวิทยาด้านบวก (positive psychology) ซึ่งซีลิกแมน (๒๐๐๒) ระบุว่าสาขาวิชาจิตวิทยาด้านบวกใน ระดับอัตนัยเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เชิงอัตนัย ประกอบด้วยการมีชีวิตที่ดีและพึงพอใจ การมีประสบการณ์ทางบวกหมุนเวียนกัน ความปีติยินดี ความรู้สึกดี และ ความสุข และการรู้คิดเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับอนาคต การมองโลกในแง่ดี การมีความหวังและการมีศรัทธา ดังนั้น ความสุขจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจิตวิทยาด้าน บวก ในเว็บไซต์ของจิตวิทยาด้านบวก มีการเชื่อมโยงไปยังงานวิจัย ข่าวหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวีดิทัศน์ต่าง ๆ เช่น เดโบลา โคทซ์ (Deborah Kotz, ๒๐๐๖) เรียบเรียงจากงานของซีลิกแมนว่า การมีความสุขของบุคคลประกอบด้วยการได้ทำงานที่ตนรักและชอบ การได้มีคนที่รักตนและตนได้รักผู้อื่น การมีกิจกรรมเพื่อ ความบันเทิง การได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ดีต่อตนและได้ช่วยเหลือมาในอดีต เมื่อบุคคลรู้สึกดีต่อความกตัญญูกตเวทีจะทำให้มีความทรงจำเหตุการณ์ใน ชีวิตทางบวก และมีโอกาสเพิ่มพูนความเหนียวแน่นของความสัมพันธ์กับผู้ที่บุคคลแสดงความขอบคุณ นอกจากนี้ ในการใช้ชีวิตแต่ละวันให้เน้นในสิ่งที่ดี อย่าไปใช้ เวลากับสิ่งที่ไม่ดีมากนัก เว็บไซต์ที่ ๓ เป็นของซอนจา ลูบอเมอร์สกี (Sonja Lyubomirsky) ซึ่งได้ทดลองเรื่องการทำตนให้มีความสุขกับคนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ได้กำหนด ประเด็นที่ต้องทดสอบในการวิจัยไว้ ๕ ประเด็น คือ ๑. ให้สงวนเวลาเป็นประจำสำหรับการรำลึกถึงความกตัญญู ๒. ใช้เวลานึกคิดถึงการกำกับตนเองและคิดเกี่ยวกับตนเองในทางบวก ๓. ปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือหรือความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ๔. การมุ่งสู่เป้าหมายของชีวิตที่มีนัยสำคัญและมีคุณค่าในเป้าหมายเอง ๕. สร้างความประทับใจกับประสบการณ์ทางบวก นอกจากนี้ ลูบอมเมอร์สกี (๒๐๐๕) ยังระบุเพิ่มเติมอีก ๔ ประเด็น คือ ๑) เรียนรู้ที่จะให้อภัย ขจัดความโกรธและความไม่พอใจ ถ้าหากทำได้ให้เขียนเป็นจดหมายไปถึงผู้ที่ทำไม่ดีต่อเรา การไม่สามารถให้อภัยทำให้บุคคลคิดวน เวียนอยู่กับการแก้แค้น หากสามารถให้อภัยได้ จะทำให้บุคคลใช้เวลาไปทำอย่างอื่นในชีวิตได้ ๒) ให้เวลาและพลังงานกับครอบครัวและเพื่อน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มีรายได้มากเพียงใด หรือตำแหน่งงานมีผลเพียงเล็กน้อยต่อความพึงพอใจในชีวิต ปัจจัยที่ มีผลมากที่สุดคือ การมีความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น ๓) ดูแลสุขภาพ การนอนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย การยิ้มและหัวเราะ ล้วนแต่ส่งเสริมอารมณ์ความรู้สึก ควรปฏิบัติให้สม่ำเสมอจะทำให้ชีวิตประจำ วันมีความน่าพึงพอใจมากขึ้น ๔) พัฒนากลวิธีในการเผชิญกับความเครียดและความทุกข์ยาก การมีความศรัทธาทางศาสนาช่วยให้บุคคลเผชิญกับความเครียดได้ รวมทั้งความเชื่อทาง โลก ดังสะท้อนในคำกล่าวที่ว่า อะไรที่ไม่ฆ่าฉันทำให้ฉันเข้มแข็งมากขึ้น (That which doesn’t kill me makes me stronger.) สิ่งสำคัญคือต้องมีความเชื่อในเรื่อง เหล่านี้ การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับสังคม และประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้ รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๘/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ Dec2013.indd 7 1/31/14 4:26:29 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=