Dec2013.indd

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ºŸâ  π„®∫∑§«“¡¥— ß°≈à “«¢ÕÕπÿ ≠“µ§â π§«â “‰¥â ∑’Ë »Ÿ π¬å ¢â Õ¡Ÿ ≈¢à “« “√√“™∫— ≥±‘ µ¬ ∂“π Àâ Õß ¡ÿ ¥√“™∫— ≥±‘ µ¬ ∂“π ‚∑√ “√À¡“¬‡≈¢  ÚÛıˆ Ù˘Ú À√◊ Õ∑“߇«Á ∫‰´µå www.royin.go.th µ“¡æ√–√“™∫— ≠≠— µ‘ ¢â Õ¡Ÿ ≈¢à “« “√¢Õß√“™°“√ æ.». ÚıÙ °“√Õ¬Ÿà „π — ß§¡Õ¬à “ß„Àâ ¡’ §«“¡ ÿ ¢ นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องความสุขมักใช้คำเรียกว่า ความสุขเชิงอัตวิสัย หรือความรู้สึกที่ดีเชิงอัตวิสัย เอ็ด ไดเนอร์ (Ed Diener) นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่อง ความสุขเชิงอัตวิสัย ให้ความหมายของความสุขเชิงอัตวิสัยไว้ว่าหมายถึง “การประเมินทางการรู้คิดและอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตของตน การประเมินเหล่านี้ รวมปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อเหตุการณ์และการตัดสินด้านการรู้คิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการบรรลุผลที่ประสงค์ ดังนั้น ความสุขเชิงอัตวิสัยจึงเป็นมโนทัศน์ที่ กว้างที่รวมการมีประสบการณ์ด้านอารมณ์ความพึงพอใจ การมีอารมณ์ทางลบในระดับต่ำและมีความพึงพอใจในชีวิตสูง” ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายปัจจัยที่จะทำให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ปัจจัยแรก คือ การอนุมานสาเหตุ ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่บุคคลรับรู้ ตีความ หรือเชื่อว่าเหตุการณ์หนึ่ง ๆ มีสาเหตุเกิดจากบางสิ่งบางอย่าง โดย เหตุการณ์ที่ว่านี้อาจเป็นการกระทำของตนเอง การกระทำของผู้อื่น หรือสภาพแวดล้อม ผู้ที่มองโลกในแง่ดีมักอนุมานเหตุการณ์ทางลบที่เกิดกับตนว่าตนไม่ได้เป็นต้นเหตุ จะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกในอนาคต และจะไม่เกิดขึ้นกับด้านอื่นของชีวิต ส่วนการอนุมานสาเหตุเหตุการณ์ทางบวกก็เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่มองโลกในแง่ดีมีความสุขเชิงอัตวิสัยมีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายทั้งในสถานการณ์ทางบวกและสถานการณ์ทางลบ มาร์ติน อี. พี. ซีลิกแมน (Martin E. P. Seligman) ได้ศึกษาการมองโลกในแง่ดีต่อเนื่องจากแนวคิดเรื่องการช่วยตนเองไม่ได้ที่เกิดจากการเรียนรู้ (learned helplessness) แนวคิดดังกล่าวนี้มีว่าหากมนุษย์หรือสัตว์ประสบกับเหตุการณ์ทางลบที่ไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความด้อย ๓ ประการ คือ ความด้อยทางการรู้คิด ความด้อยทางแรงจูงใจ และความด้อยทางอารมณ์ความรู้สึก และหากเกิดบ่อยมากอาจนำไปสู่ความซึมเศร้า การศึกษาตาม แนวทางนี้เรื่องหนึ่งทำโดยให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งตอบปัญหาที่กำกวมบางอย่าง และมีคำเฉลยว่าตอบผิดตลอด ผลปรากฏว่านักศึกษาเหล่านี้ทำคะแนนแบบทดสอบ เชาวน์ปัญญาได้ต่ำกว่านักศึกษาอีก ๓ กลุ่ม เมื่อซีลิกแมนขยายแนวคิดมาศึกษาในมนุษย์มากขึ้นก็มาศึกษาในด้านการอนุมานสาเหตุคล้ายกับที่นำเสนอข้างต้น ในประเทศไทยมีการศึกษากับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในการอนุมานสาเหตุความล้มเหลว หรือเหตุการณ์ทางลบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่านักเรียนที่มีการมองโลกในแง่ดีมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสูงกว่านักเรียนที่มีการมองโลกในแง่ร้าย และเมื่อศึกษากับนักศึกษาพยาบาลก็พบผลทำนองเดียวกันทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติการพยาบาล การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเมื่อพบกับเหตุการณ์ทางลบ หากบุคคลมีการมองโลกในแง่ดีไม่ท้อแท้สิ้นหวัง และพยายามฟันฝ่าเอาชนะอุปสรรคในเวลาต่อ มา ก็สามารถอยู่ได้โดยมีความสุข ส่วนผู้ที่มีการมองโลกในแง่ร้าย หากเกิดโดยสม่ำเสมออาจนำไปสู่ความซึมเศร้าได้ การมองโลกในแง่ดีตามที่มีการศึกษาวิจัยข้าง ต้นแม้จะเน้นใน ๓ มิติ คือ มิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความสม่ำเสมอ และมิติความทั่วไป แต่นั่นเป็นเรื่องที่ซีลิกแมนมีแนวคิดในการศึกษาวิจัยเพื่อให้การวิจัย เป็นไปโดยมีทิศทางชัดเจน งานวิจัยเรื่องต่อมาคือ การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขเชิงอัตวิสัยในเกษตรกร (ชนัดดา ภูหงษ์ทอง และ ธีระพร อุวรรณโณ, ๒๕๕๑) มาตรวัดการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย ๑๒ ด้าน คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความประหยัด ความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ความมีระเบียบวินัย การมีสติสัมปชัญญะ ความอดทนและความเพียร ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่น ดินและบรรพบุรุษ ความไม่ประมาท ความเสียสละ ความสามัคคี และความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการวิจัยพบว่าการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี สหสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัย งานวิจัยข้างต้นได้ทดสอบความตรงของมาตรวัดการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำมาตรไปให้กลุ่มคนซึ่งคาดว่ามีการดำรงชีพตาม ของชาวจีนทั้งประเทศ ได้ชมกองทัพทหารดินเผาในสุสานจักรพรรดิจิ๋นซี ชม ตำนานรักหยางกุ้ยเฟย สนมเอกราชวงศ์ถัง ที่มณฑลเหอหนาน ได้ชมศิลปะการแสดงกังฟูของวัดเส้าหลิน ชมถ้ำคูหา หลงเหมิน หมู่ถ้ำพระที่มีพระพุทธรูปนับแสนองค์ จากนั้นเดินทางด้วยรถไฟ ความเร็วสูงไปลั่วหยาง ชมรูปปั้นพระโพธิธรรมตั๊กม้อ พระธรรมเถระ พระภิกษุ ชาวอินเดีย ที่เดินทางมาวัดเส้าหลิน เจ้าอาวาสของวัดเส้าหลินได้นำกริยา อาการของสัตว์ต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นท่าวิทยายุทธ กังฟู ศิลปะการป้องกันตัว (wushu) ของวัดเส้าหลิน ๑๘ กระบวนท่า เพื่อฝึกฝนให้ภิกษุมีสุขภาพแข็งแรง ฝึกลมปราณให้มีสมาธิ มีโรงเรียนฝึกกว่า ๘๐ แห่ง ในเมืองนั้น ที่สถาบัน Wushu Center ของวัดเส้าหลินมีการแสดงกังฟูให้ชม และมีที่พักสำหรับผู้ที่มา ฝึกด้วย วัดเส้าหลินยังมีให้ฝึกกำลังภายในและการใช้อาวุธ มีต้นแปะก๊วยให้ฝึก พลังดัชนี วัดถ่าหลิน (ป่าเจดีย์) เป็นหมู่เจดีย์ของอดีตเจ้าอาวาส และพระผู้ใหญ่ ของวัดเส้าหลิน ๒๔๘ องค์ เจดีย์ที่เก่าที่สุดในสมัยราชวงศ์ถังเป็นของเจ้าอาวาส ฝ่าหวาน จำนวนชั้นขององค์เจดีย์แสดงฐานันดรศักดิ์ เช่น เจ้าอาวาส ๗ ชั้น พระผู้ใหญ่ ๕ ชั้น นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์องค์ใหม่ซึ่งมีรูปแกะสลักเป็นของใช้ เช่น รถยนต์ รถไฟความเร็วสูง เครื่องบิน ที่ถ้ำหินหลงเหมิน มีพระพุทธรูป จำหลักและมีศิลาจารึกอักษร ๓,๖๐๐ หลัก เจดีย์ประมาณ ๔๐ องค์ ถ้ำแห่งนี้ได้ รับการประกาศจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และที่ประตูทางเข้ามีตราของ รับรอง ระหว่างการเดินทางเลียบแม่น้ำไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ร้อยละ ๓๐ สร้างในสมัยเว่ยเหนือ อีกร้อยละ ๖๐-๗๐ สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นความคิด ความสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีความโดดเด่นของมนุษย์ มีถ้ำดอกบัวที่มีความ สำคัญ มีพระพุทธรูปองค์เล็กที่สุดสูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนองค์ใหญ่มี ขนาดประมาณ ๑๗.๑๔ เมตร วัดเฟิ่งเซียนซื่อสร้างในพุทธศักราช ๑,๒๑๘ สมัย จักรพรรดิถังกาวจง โดยพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) มีพระพุทธรูป พระไวยโรจนพุทธ สูง ๑๗.๑๔ เมตร เบื้องขวาเป็นพระอานนท์ เบื้องซ้ายคือ พระมหากัสสปะที่ถูกทำลายไปแล้ว มีพระโพธิสัตว์และจตุโลกบาล ๒ องค์ ประติมากรรมละม้ายคล้ายคลึงกับพระนางบูเช็กเทียนสวยงามมาก พระพักตร์ สูง ๔ เมตร พระกรรณสูง ๑.๙ เมตร มีแม่น้ำอีเหอที่สวยงามมาก ตอนกลับนั่ง เรือที่มีลักษณะคล้ายเก งจีน ชมหน้าผาที่มีพระพุทธรูปนับแสนองค์ Dec2013.indd 6 1/31/14 4:26:27 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=