Dec2013.indd
5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๑ เดือนธันวาคม ๒๕๕๖ สามารถในการแข่งขันต่ำ ด้านการขึ้นทะเบียนยา ต้องแจ้งข้อมูลละเอียดมาก ขึ้น มีการทดสอบชีวสมมูล (bioequivalence) ยาทุกชนิด ด้านคุณภาพยา คุณภาพยาที่ผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียนจะดีขึ้น มีการบังคับให้ผู้ผลิตวัตถุดิบ และยาสำเร็จรูปต้องมีมาตรฐานสากล ส่วนยาที่ผลิตนอกกลุ่มประเทศอาเซียนมี คุณภาพแตกต่างกันมาก ด้านการตลาด มีการนำเข้ายาจากหลายแหล่งผลิต ยาสามัญเติบโตขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการกระจายสินค้า สัดส่วน มูลค่ายาในโรงพยาบาล : ร้านยา : คลินิก : อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕๒ : ๒๖.๒๘ : ๖.๕ : ๔.๗ โรงพยาบาลรัฐ : เอกชน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ : ๒๐ ร้านยา ร้อยละ ๗๐ เป็นร้านเดี่ยว ร้อยละ ๒๐ เป็นร้านขายส่ง ร้อยละ ๑๐ เป็นบริษัท ในเครือ สำนักศิลปกรรม ๏ วันอังคารที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.เดชา บุญค้ำ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การป้องกันและการชะลอ การผุของต้นไม้ใหญ่ ความโดยสรุปว่า ปัญหาต้นไม้ใหญ่ในเมืองล้มทับสายไฟ ส่วนใหญ่เกิดจากการตัดแต่งผิดวิธีและผิดเวลา ทำให้ต้นไม้อ่อนแอผุเป็นโพรง ลงถึงระบบราก การล้มของเสาและสายไฟฟ้าพร้อมกัน ๓๑ ต้น ที่ถนนขาว หลังโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในเขตดุสิต ที่เกิดจากต้นชมพูพันธุ์ทิพย์เพียงต้น เดียวล้ม เป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมตัดกิ่งและพุ่มใบใหม่ออกจนเหลือ แต่โครงกิ่งที่กุดด้วน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าได้ทำลายส่วนสำคัญที่ต้นไม้ใช้สร้าง พลังงานในฤดูฝนและสะสมไว้ใช้ในการเจริญเติบโตรวมทั้งการ “รักษาบาดแผล” ด้วยการสร้างเนื้อเปลือกใหม่หุ้มปิดแผลและขยายระบบราก ต้นไม้จึงอ่อนแอลง ในปีต่อไป แผลที่เกิดจากการตัดแต่งจึงผุได้ง่าย การผุนี้จะกลายเป็นโพรง ลุกลามช้า ๆ และมักโค่นล้มในหลายปีต่อมา ปัญหาอันตรายและความอัปลักษณ์ ของต้นไม้ในเมืองที่มีเหตุมาจากการผุจึงควรได้รับการดูแลจากผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้อง ยาหรือสีทาแผลตัดแต่งต้นไม้ผสมยาป้องกันเชื้อราที่มีจำหน่ายผลิตจาก ต่างประเทศ มีราคาแพง หาซื้อยาก และเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของต้นไม้ อีกทั้ง ยังใช้ไม่ได้ผลสำหรับแผลใหม่ขนาดใหญ่หรือแผลที่เริ่มผุหรือแผลที่เป็นโพรง แล้ว การทดลองของผู้บรรยายพบว่า การใช้ยูรีเทนสูตรน้ำ (water-based urethane) ผสมน้ำให้เจือจาง (ยูรีเทน ๑ ส่วน : น้ำ ๔ ส่วน) สามารถหยุดยั้ง การผุของแผลตัดแต่งหรือโพรงผุเดิมของต้นไม้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากยูรีเทนน้ำเจือจางสามารถแทรกซึมลงลึกตามช่องว่างที่มีขนาดเล็กมาก ในเนื้อไม้เหมือนน้ำ และเมื่อแห้งจะเกิดฟิล์มบางเคลือบผิวช่องว่างในเนื้อไม้ที่ น้ำเคยแทรกซึมถึง ทำให้เอนไซม์เชื้อราไม่สามารถสัมผัสเซลลูโลสหรือลิกนิน ของเซลล์เนื้อไม้ได้ นอกจากนี้ การตัดหรือลดปัจจัยที่จำเป็นในการผุ คือ น้ำและ ออกซิเจน ในแผลที่เริ่มผุแล้ว การผุก็จะช้าลง เอื้อให้เนื้อเปลือก (callus) หุ้ม ปิดแผลได้ทันการก่อนเกิดการม้วนตัวเข้าด้านในของโพรงเป็นรูปเขาแกะ ยูรีเทนสูตรน้ำเป็นสารที่ปลอดภัย ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ใช้ง่ายด้วยแปรง ทาสีทั่วไปหรือพ่นด้วยเครื่องพ่นธรรมดาในการเกษตร ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ดูแล ต้นไม้ใหญ่ในเมืองจึงควรนำไปใช้เพื่อป้องกันหรือลดการผุลุกลามที่เกิดต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นไม้ใหญ่ก่ออันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินที่เพิ่มมูลค่าและคดีฟ้อง ร้อง โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ไตรภูมิ- กถากับอาเซียน ความโดยสรุปว่า ไตรภูมิกถา เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับปรัชญา ทางพระพุทธศาสนา สังคม และวิถีชีวิตของคนไทย ตลอดจนความเชื่ออันเป็น ส่วนหนึ่งของธรรมะในการยึดมั่นปฏิบัติดี ละชั่ว และปฏิบัติตามหลักธรรมของ พระบรมศาสดา เป็นความเชื่อและเป็นปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่นำไปสู่ความ สุขสงบแท้จริง ส่งเสริมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นรากฐานแห่ง วัฒนธรรมทางจิตใจของคนไทย ทั้งประชาชนและนักปกครอง มีบทบาทและมี อิทธิพลในด้านวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และดนตรี บันทึกเรื่อง ราวเกี่ยวกับภูมิทั้งสามอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก คือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท สมัยสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิ- กถาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยทรงนำข้อมูลมาจากคัมภีร์คำสอนทางพระ พุทธศาสนาถึง ๓๒ คัมภีร์ ต้นฉบับไตรภูมิกถาที่มีในหอสมุดแห่งชาติเป็นฉบับที่ พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลางวรวิหาร) จังหวัดสมุทรปราการ จารึกไว้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้นำมาเผยแพร่ เป็นครั้งแรก เรียกว่า ไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้บรรยายได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วม ประชุมคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมและสนเทศของอาเซียน ในการประชุมครั้ง นั้น ผู้แทนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้เสนอโครงการวรรณกรรมอาเซียน ซึ่งมี วัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้แต่ละประเทศแปลวรรณกรรม ที่สะท้อนให้เห็นวิถีทาง ดำรงชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของประเทศตน แล้วจัดพิมพ์ขึ้นแจกเผยแพร่ใน ประเทศสมาชิกอาเซียน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนหอสมุดทั่วโลก เพื่อให้ เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันและกัน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผู้บรรยายได้เสนอให้แปลไตรภูมิพระร่วง เพื่อรวมพิมพ์ในหนังสือชุด วรรณกรรมอาเซียนเป็นเรื่องแรก และรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะทำงานแห่งชาติของ ประเทศไทยดำเนินการ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งแปลและถอดความวรรณคดี เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ให้ชื่อว่า ไตรภูมิกถา และจัดพิมพ์เป็นวรรณกรรมอาเซียน เล่ม I a และเล่ม I b ออกเผยแพร่ โดยได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนวัฒนธรรม ของอาเซียน รศ.โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นิราศเกาะจาน : บันทึก การเดินทางเปี่ยมสีสันสู่หว้ากอ ความโดยสรุปว่า นิราศเกาะจานไม่เพียงมี ฐานะเป็นนิราศเรื่องหนึ่ง หากยังควรนับว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีข้อมูลรายละเอียดบางประการ แตกต่างจากพระราชพงศาวดารฯ อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องที่พระองค์ เสด็จฯ ไปค่ายหลวงหว้ากอทางบก นิราศเรื่องนี้ยังเป็นบันทึกทางวัฒนธรรมที่ สำคัญเกี่ยวกับการเดินทาง เส้นทาง สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนท้องถิ่น และของพวกข้าราชการที่เดินทางไป การปฏิบัติหน้าที่ราชการ การเสด็จออกรับ แขกเมือง การเกิดสุริยุปราคา เรื่องราวและเหตุการณ์เหล่านี้ได้รับการ ถ่ายทอดด้วยถ้อยคำสำนวนที่ชวนให้เพลิดเพลิน ให้ภาพและบรรยากาศชัดเจน ทำให้เห็นว่าแม้จะต้องประสบความยากลำบากเพียงใด เหล่าข้าราชการก็ยังคง มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ แม้บางส่วนจะมีความบกพร่องผิดพลาด แต่ก็ดูเหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทราบพระเนตรพระกรรณอยู่ตลอด เวลา และทรงเข้าพระทัยดี จึงทรงพระเมตตาไม่เอาโทษ ทั้งยังพระราชทาน เลื่อนยศเป็นบำเหน็จรางวัลที่พยายามปฏิบัติหน้าที่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทำให้ผู้ได้รับรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่ง ในมิติวรรณกรรม นิราศเรื่องนี้นอกจากจะมี สำนวนดี กระบวนกลอนราบรื่นแล้ว ยังมีความน่าสนใจแง่กลวิธีนำเสนอ เนื้อหา การใช้ถ้อยคำกระชับ สื่อความหมายชัดเจน อ่านได้รส เป็นปัจจัย สำคัญทำให้นิราศเกาะจาน “บันทึกการเดินทางเปี่ยมสีสัน” นี้ทรงคุณค่าไม่แพ้ นิราศเรื่องใด และการที่นิราศเรื่องนี้มิได้เป็นผลงานของสุนทรภู่ ทั้งมิได้เป็น ผลงานของพระยามหาอมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ซึ่งเป็นกวีมีชื่อเสียงขึ้น ทำเนียบ “กวีสยาม” แต่เป็นผลงานของกวีนิรนามผู้หนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งเพียง ปลัดกรมสนมทหารขวาที่หมื่นสมุหพิมาน ก็ยิ่งทำให้นิราศเรื่องนี้น่าสนใจและน่า ศึกษายิ่งขึ้น รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ศิลปกรรมจีนที่ นครซีอานและลั่วหยาง ความโดยสรุปว่า ผู้บรรยายกับคณะได้เดินทางไปที่ นครซีอาน เมืองหลวงของมณฑลส่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นจุดเริ่ม ต้นของเส้นทางสายไหม มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเก่าแก่ล้ำค่า ในช่วงที่ผู้ บรรยายเดินทางไปนครซีอานเป็นช่วงที่มีพิธีเซ่นไหว้จักรพรรดิหวงตี้ บรรพบุรุษ Dec2013.indd 5 1/31/14 4:26:25 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=