Dec2013.indd

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ได้แน่นอนต้องมีหลักฐาน เช่น ตรวจพบเทห์ใยหิน (asbestos body) ในเนื้อ ปอด หรือในสารน้ำล้างหลอดลมถุงลมปอด การใช้หลักฐานแวดล้อม เช่น ผล การตรวจวัดฝุ่นในสถานประกอบการพบใยหินเกินเกณฑ์ปลอดภัย ประกอบกับ พบผู้ป่วยโรคเหตุใยหินหลายรายในโรงงานเดียวกัน ก็ใช้เป็นหลักฐานสาเหตุได้ มีรายงานในต่างประเทศว่า การตรวจตัวกำหนดชีวภาพ (biomarker) ช่วยบ่งชี้การได้รับสัมผัสใยหิน แม้ในกรณีที่ตรวจไม่พบเทห์ใยหินดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการวินิจฉัยโรคได้ เพราะกรณีที่ตรวจไม่พบ ใยหินจากปอดผู้ป่วย คงต้องวินิจฉัยเพียงว่าผู้ป่วยเป็นโรคปอดเนื้อพังผืดเรื้อรัง หรือมะเร็งเยื่อเลื่อม หรือมะเร็งปอดซึ่งเกิดจากสาเหตุอื่นได้หลายอย่าง แอดิโพไคน์ (adipokine) เป็นโปรตีนเซลล์ (cytokine) เช่น adi- ponectin, adipsin, leptin, resistin ซึ่งเป็นโปรตีนสร้างจากเนื้อเยื่อไขมัน มีบทบาทในการควบคุมการแปรรูปอณูของพลังงานและความอยากอาหาร ใน ปัจจุบันนี้พบว่า แมโครฟาจ (macrophage) และเซลล์อื่นอีกหลายชนิด สามารถสร้างแอดิโพไคน์ได้ เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน เซลล์นั้น ๆ ดังนั้น เมื่อถุงลมปอดสัมผัสกับใยหินนาน ๆ ก็จะกระตุ้นแมโครฟาจถุงลม ให้หลั่งสารโปรตีนเซลล์กลุ่มแอดิโพไคน์ออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ เกิดเนื้อพังพืดแทรกระหว่างเนื้อปอดหลัก (interstitial fibrosis) leptin และ resistin มีบทบาทเป็น proinflammatory cytokine คือ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ นำไปสู่การชุมนุมของเซลล์หรือสารต่าง ๆ ใน บริเวณที่ต้องการกำจัดสิ่งแปลกปลอม adiponectin มีบทบาทเป็น anti-inflammatory cytokine มีฤทธิ์ยับยั้ง การอักเสบเพื่อไม่ให้เกิดการตอบสนองมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการทำลาย เนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น adipsin มีบทบาทเป็น proinflammatory cytokine ที่ทำงานในรูปแบบ ของ rate-limiting enzyme ของ alternative complement cascade มีผลการวิจัยจำนวนมากแสดงว่าสารกลุ่มแอดิโพไคน์มีบทบาทต่อการ เกิดโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ยังมีการศึกษาน้อยมากเกี่ยวกับบทบาท ในโรคปอดชนิดอื่น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ Leivo-Korpela และคณะ (Respiratory Medicine ๒๐๑๒; ๑๐๖ : ๑๔๓๕-๑๔๔๐) รายงานผลการศึกษาระดับ adipokine adipsin ในน้ำเลือด กับการเกิดภาวะปอดเนื้อพังพืดในกลุ่มคนงานในอุตสาหกรรมที่ใช้ ใยหินในการผลิตวัสดุภัณฑ์ ว่าระดับ adipsin ในน้ำเลือดมีความสัมพันธ์เชิง บวกกับระดับการเกิดภาวะปอดเนื้อพังผืด (r = ๐.๔๑๒, p < ๐.๐๐๑) และระดับ adipsin ในน้ำเลือด มีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนงานที่พบภาวะปอดเนื้อ พังผืด เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้สัมผัสใยหิน จากข้อมูลความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้บรรยายทำการศึกษาระดับ adipsin, adiponetin และ resistin โดยใช้วิธีของ Milliplex MAP ในกลุ่ม คนงานที่ทำงานในโรงงานผลิตวัสดุภัณฑ์ซีเมนต์ที่ใช้ใยหินเป็นวัตถุดิบ ๓๐ คน เปรียบเทียบกับคนปรกติที่ไม่มีประวัติสัมผัสใยหิน ๓๐ คน เพื่อหาข้อมูลว่าสาร กลุ่มแอดิโพไคน์ตัวใดที่อาจจะใช้เป็นตัวกำหนดชีวภาพ บ่งบอกว่าได้เคยสัมผัส ใยหินแล้ว ซึ่งเสี่ยงการเกิดโรคปอดพังพืด มะเร็งปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เหตุใยหิน หากได้ข้อมูลที่ชัดเจนก็สามารถนำไปพัฒนาเป็นแนวทางด้านอาชีว- เวชศาสตร์ในการป้องกันการเสี่ยงสัมผัสใยหิน และการเกิดโรคในคนงาน และ ด้านเวชปฏิบัติวินิจฉัยโรคเหตุใยหิน เพื่อจะได้ทำการรักษาผู้ที่เป็นโรคถูกต้อง และทันการ สรุปจากการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของ adipokine adipsin ในน้ำเลือด ของคนงานชาย สูงกว่าของผู้ชายที่ไม่มีประวัติสัมผัสใยหิน (๖.๑ ± ๓.๕ และ ๔.๒ ± ๑.๑ มคก. /มล.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < ๐.๐๕ ) และไม่พบ ระดับสารตัวอื่นมีนัยสำคัญ ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปูนซีเมนต์ ผสมวัสดุพอซโซลานเพื่อคอนกรีตที่คงทน ความโดยสรุปว่า วัสดุพอซโซลาน (pozzolan) เป็นวัสดุที่มีซิลิกา (silica) และอะลูมินา (alumina) เป็นองค์ ประกอบหลัก ได้แก่ เถ้าลอย (fly ash) ซิลิกาฟูม (silica fume) และเถ้าแกลบ (rice husk ash) ปฏิกิริยาพอซโซลานเกิดจากการทำปฏิกิริยาของซิลิกาและ อะลูมินา กับแคลเชียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH) 2 ) จากปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์ ได้ เป็นแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (calcium silicate hydrate) และแคลเซียมอะลู- มิเนตไฮเดรต (calcium aluminate hydrate) เพิ่มขึ้น และสามารถชดเชยการ ลดปริมาณปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ในส่วนผสมได้ และการใช้ปูนซีเมนต์ผสมพอซ- โซลานยังเป็นการเพิ่มสมบัติทางกลของคอนกรีต กล่าวคือ การลดปริมาณปูน ซีเมนต์พอร์ตแลนด์และแทนที่ด้วยสารพอซโซลานทำให้ปริมาณแคลเซียมไฮ- ดรอกไซด์ในส่วนผสมลดลง ส่งผลให้คอนกรีตมีความทนทานขึ้น การต้านทาน การซึมผ่านของคลอไรด์ (chloride) และความสามารถในการป้องกันการเกิด สนิมของเหล็กเสริมดีขึ้น การต้านทานการกัดกร่อนของสารซัลเฟต (sulfate) ก็ ดีขึ้นด้วย โครงสร้างที่สัมผัสกับสารซัลเฟตมีการขยายตัวน้อยลงและไม่สูญเสีย กำลัง ทั้งนี้ ควรระวังสำหรับคอนกรีตคุณภาพต่ำ ที่มีความซึมได้สูง การใช้ปูน ซีเมนต์ผสมพอซโซลานอาจทำให้เกิดคาร์บอเนต (carbonation) ได้ง่าย ซึ่งอาจ นำไปสู่การเกิดสนิมของเหล็กเสริมได้ โดยเฉพาะในสภาพที่มีความชื้น แต่การ เกิดคาร์บอเนตจะไม่เป็นปัญหาเมื่อใช้คอนกรีตคุณภาพสูง ดังนั้น การใช้ปูน ซีเมนต์ผสมวัสดุพอซโซลานทำให้ได้คอนกรีตที่คงทน มีความสามารถต้านทาน การทำลายของคลอไรด์และสารซัลเฟตได้ดี นอกจากนี้ กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานมาก ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ มีการใช้ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์สูงมากถึง ๓.๖ พันล้านตัน และ ปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถึงกว่า ๒.๐ พันล้านตัน ใช้ปูนซีเมนต์ผสม สารพอซโซลานสามารถลดการใช้ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ลง และเนื่องจาก ปริมาณสารพอซโซลานที่ใช้แทนที่ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์อยู่ในช่วงร้อยละ ๒๐- ๓๐ โดยน้ำหนัก ดังนั้น จะสามารถลดการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ถึงปีละกว่า ๕๐๐ ล้านตัน ศ. ดร. ภก.สมพล ประคองพันธ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การ กระจายยาในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความโดยสรุปว่า ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประกอบด้วยสมาชิก ๑๐ ประเทศ มีประชากรรวมกัน ประมาณ ๖๑๖ ล้านคน มีมูลค่า GDP ๓,๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ มีเป้าหมายที่จะ รวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตอันเดียวกันภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในด้านต่าง ๆ คือ สินค้า บริการ แรงงาน ฝีมือ การลงทุน และเงินทุน ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของทุก ประเทศนับวันจะมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว งบ ประมาณด้านสุขภาพลดลง ยาใหม่มีราคาแพงมาก ประชากรอายุยืนขึ้น ผู้สูง อายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น บริษัทยาถูกบีบให้ลดราคา ค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียนคิดเป็นร้อยละของ GDP มีความแตกต่างกัน พอควร สำหรับประเทศไทยมีมูลค่ายาต่อปีสูงเป็นอันดับ ๒ (๕,๗๓๗ ล้าน เหรียญสหรัฐ) รองจากอินโดนีเซีย (๖,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ) และมีอัตราการ เพิ่มร้อยละ ๑๕.๔ ต่อปี มียานำเข้าร้อยละ ๘๐ และยาที่ผลิตในประเทศร้อยละ ๒๐ มียาส่งออกปีละ ๑๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพเป็นสินค้าที่มีการกำกับดูแลเข้มงวด เมื่อรวมเป็น ตลาดเดียวต้องมีมาตรฐานเดียวกัน คือมาตรฐานยาอาเซียน ซึ่งได้ดำเนินการมา แล้วอย่างต่อเนื่อง มีการออกข้อบังคับและข้อกำหนดต่าง ๆ ในด้านการขึ้น ทะเบียนยา การผลิตยา คุณภาพยา การตลาดยา และการกระจายยา ในยุค ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ด้านการผลิต มี การกำหนดมาตรฐานแหล่งผลิตให้สูงขึ้นเทียบเท่าสากล (PICs) โรงงานขนาด เล็กจะลดน้อยลง โรงงานขนาดใหญ่ได้เปรียบด้านต้นทุน โรงงานต่างชาติย้าย ฐานการผลิตไปประเทศอื่น มีการใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมากขึ้น การบริหาร จัดการทันสมัย ส่วนใหญ่เป็นการผลิตยาสามัญ ขาดการส่งเสริมโดยรัฐ ความ Dec2013.indd 4 1/31/14 4:26:24 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=