Dec2013.indd
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๑ เดือนธันวาคม ๒๕๕๖ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.ป ยนาถ บุนนาค ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระมหากษัตริย์กับ ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย ความโดยสรุปว่า ข้อมูลจากเอกสารและที่ได้จากการสัมภาษณ์ซึ่งนำเสนอเป็นตัวอย่างข้างต้น รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธอื่น ๆ อีกประมาณกว่า ๖๐ คน ต่างก็ยอมรับว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญอย่าง ยิ่งต่อการแก้ปัญหาการปกครองชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ด้วยพระราชจริยาวัตรอันงดงาม กอปรด้วยพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ รวมทั้งพระราชกรณียกิจที่ยังประโยชน์มหาศาลแก่พสกนิกรชาวไทยมุสลิมใน พื้นที่ดังกล่าว พระองค์ทรงมีบทบาทอันสำคัญยิ่งที่จะเป็นแรงโน้มน้าวให้ชาวไทย มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องศาสนา ภาษา และ วัฒนธรรม มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อันจะเป็นเครื่องยับยั้งและเป็น หลักประกันมิให้เกิดแรงผลักดันที่จะแยกตัวออกไปจากประเทศไทยได้ แม้จะได้มี ความพยายามในการ “ปลุกระดม” ให้ชาวไทยมุสลิมดังกล่าวร่วมในขบวนการ แบ่งแยกดินแดนหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจัยสำคัญ ยิ่งก็คือ “บทบาท” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระมหา กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์แรกที่ได้เสด็จฯ เยี่ยมเยียนช่วยเหลือ “บำบัดทุกข์บำรุงสุข” ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ติดต่อสืบเนื่อง กันเป็นเวลากว่า ๓ ทศวรรษ และความช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ยังคงมี อยู่อย่างสม่ำเสมอจวบจนปัจจุบันแม้มิได้เสด็จฯ ด้วยพระองค์เองก็ตาม ๏ วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การแพทย์ แผนไทย : คุณค่าและความสำคัญทางพุทธปรัชญา และลัทธิหลังนวยุคนิยม ความโดยสรุปว่า การแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine) ต่างกับ การแพทย์พื้นบ้านไทย (Thai folk medicine) ตรงที่การแพทย์แผนไทยไม่ จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อตามประเพณีและพิธีกรรม และต่างกับการแพทย์ทาง เลือก (alternative medicine) ตรงที่การแพทย์ทางเลือกสามารถนำไปใช้ ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบันได้ ส่วนการแพทย์แผนไทยอาจใช้ควบคู่ไปกับการ แพทย์แผนปัจจุบันเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้ผลดียิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถใช้ แทนที่การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แบบตะวันตกได้ การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์แผนโบราณซึ่งอาศัยความรู้ทางสมุนไพร เป็นหลัก ได้แนวคิดและแนวปฏิบัติพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา เช่น คัมภีร์ ธาตุบรรจบ ที่กล่าวถึงมหาภูตรูป โรคที่เกี่ยวกับอุจจาระ และตำรับยาที่ใช้รักษา โรค และ คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ที่กล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุที่เป็น ไปตามฤดูกาลต่าง ๆ รวมทั้งตำรับยาในการแก้ไข ซึ่งเป็นคัมภีร์แพทย์แผนไทย ได้อ้างอิงผลงานของแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ พระไตรปิฎกและอรรถกถา คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ ผู้มีความรอบรู้ในการใช้ยา สมุนไพร โดยยืนยันว่าพืชทุกชนิดเป็นตัวยาได้หมด นอกจากนี้ ยังรักษาโรคด้วย วิธีผ่าตัด เช่น ผ่ากะโหลกของเศรษฐีเพื่อรักษาโรคปวดศีรษะ แม้คัมภีร์พระ ไตรปิฎกจะกล่าวถึงการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ไม่ได้กล่าวถึงขั้นตอนและเทคนิควิธี อย่างแน่ชัด และอาจขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะด้านของแพทย์ การแพทย์ แผนไทยจึงไม่ให้บริการด้านการผ่าตัด การแพทย์แผนไทยมีแนวคิดแบบธรรมชาตินิยมและการรักษาพยาบาล แบบองค์รวมที่เป็นธรรมชาตินิยม เพราะมองเห็นมนุษย์เป็นสิ่งธรรมชาติและ อาศัยธรรมชาติ เช่น ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และต้องปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติเพื่อป้องกันความเจ็บป่วย ส่วนที่ใช้การ รักษาพยาบาลแบบองค์รวมเพราะถือว่ากายกับใจมีความสัมพันธ์กัน การรักษา พยาบาลจึงต้องรักษาทั้งกายและใจไปพร้อม ๆ กัน และต้องอาศัยปัญญา ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย การแพทย์แผนไทยต่างกับการแพทย์แผนโบราณในประเทศอื่นในกลุ่ม อาเซียน (ASEAN) เช่น ในประเทศกัมพูชา เพราะการแพทย์แผนไทยอาจใช้ ควบคู่กับการแพทย์แผนตะวันตก ส่วนการแพทย์ที่แพร่หลายทั่วไปในหมู่ ประชาชนชาวกัมพูชายังเป็นเพียงการแพทย์พื้นบ้าน (folk medicine) ซึ่ง อาศัยความเชื่อในอำนาจภูตผีปีศาจและวิญญาณบรรพบุรุษ นอกจากนั้น การ แพทย์แผนโบราณของกัมพูชามีบทบาทเป็นเพียงหน่วยงานวิจัยและไม่ให้บริการ ด้านการแพทย์แก่ประชาชนทั่วไป ในปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่ามากขึ้น จากอิทธิพลของปรัชญาหลังนวยุคนิยม (postmodern philosophy) หรือลัทธิ หลังนวยุคนิยม (postmodernism) ซึ่งกำลังแพร่หลายอยู่ในโลกตะวันตก แนวคิดนี้ปฏิเสธปรัชญายุคโบราณจนถึงยุคใหม่ ไม่ยอมรับความแน่นอนตายตัว ของความรู้ ปฏิเสธข้อมูลตามคัมภีร์ และเห็นว่าเหตุผล (reason) ไม่สามารถ หยั่งรู้ทุกสิ่งได้ ไม่มีสิ่งที่ทุกคนต้องเห็นอย่างเดียวกันทุกประการ แต่ละคนมี คุณค่าโดยปัจเจกและไม่ควรถูกตีกรอบโดยผู้อื่น นักคิดแบบหลังนวยุคนิยมคน หนึ่งในปัจจุบันนี้ เช่น ศ.ฟรีดริช วอลเนอร์ (Prof. Friedrich Wallner) แห่ง มหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ไม่เชื่อแนวคิดเรื่องนามธรรมสากลตาม ที่เพลโต (Plato) เคยนำเสนอไว้ แต่ละคนและแต่ละสิ่งมีลักษณะเฉพาะของ ตนเอง การแพทย์แนวพุทธก็เช่นกัน ไม่มีลักษณะด้อยกว่าการแพทย์แผนตะวัน ตก ด้วยเหตุนี้ การยอมรับเอกลักษณ์ของผู้อื่นก็ทำให้การรักษาพยาบาลได้ผล สำเร็จมากขึ้น วอลเนอร์ได้สร้างศัพท์ขึ้นมา ๒ คำ คือ สัจนิยมเชิงสร้าง (constructive realism) และการทำให้เห็นความต่าง (strangification) “การ ทำให้เห็นความต่าง” คือ การที่เราเปลี่ยนจุดยืนเพื่อให้มองสิ่งใดสิ่งหนึ่งในมุมที่ ต่างออกไป และยอมรับสิ่งที่ต่างกันตามมุมมองนั้น เมื่อนำความคิดต่างหรือ ความเห็นต่างของทุกคนมาปะติดปะต่อกันก็จะกลายเป็นความจริงของทุกคน การสร้างความจริงนี้ คือ สัจนิยมเชิงสร้าง การแพทย์แผนไทยไม่จำเป็นต้อง อ้างอิงความเป็นวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก ถ้าผู้คนในยุคปัจจุบันมีทรรศนะแบบ หลังนวยุคนิยมซึ่งยอมรับความต่างกันของแต่ละคนและแต่ละสิ่ง สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ระดับ adipokine ช่วยบ่งบอกการสัมผัสใยหิน ความโดยสรุปว่า การวินิจฉัยโรค คือการตรวจวิเคราะห์เพื่อทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคใด ซึ่งได้แก่ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น การตรวจทาง รังสีวิทยา การตรวจพิเศษเฉพาะโรค เช่น การส่องกล้องตรวจ การผ่าตัดสำรวจ การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา การตรวจทางพันธุวิศวกรรมโรคเหตุใยหินที่ รู้จักกัน ได้แก่ โรคปอดใยหิน (asbestosis) เนื้องอกเยื่อเลื่อม (mesothelioma) และมะเร็งปอด ซึ่งการวินิจฉัยอาศัยวิธีการเดียวกันกับโรคเรื้อรังทั่วไป และ เพิ่มการตรวจค้นหาหลักฐานสาเหตุจากใยหินในกรณีที่สงสัย เช่น มีประวัติ สัมผัสใยหิน ผู้ป่วยโรคปอดที่มีประวัติสัมผัสใยหิน หรือมีลักษณะเวชกรรมของ โรคปอดเรื้อรังแบบที่มีเงาผิดปรกติในภาพรังสีทรวงอกแบบที่จำแนกตาม มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ค.ศ. ๒๐๐๐ (Standard ILO 2000 Classification) ว่าเข้าได้กับโรคปอดใยหินนั้น จะวินิจฉัยโรคเหตุใยหิน √ÿ ª°“√∫√√¬“¬‡ πÕº≈ß“π§â π§«â “·≈–«‘ ®— ¬ ¢Õß√“™∫— ≥±‘ µ·≈–¿“§’ ¡“™‘ °µà Õ∑’Ë ª√–™ÿ ¡ ”π— ° Dec2013.indd 3 1/31/14 4:26:22 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=