2724_6125

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ ก็คงจะเป็นไปตามที่เขียนไว้ในบทที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ที่มีผลมากที่สุดคือ บริเวณอ่าวพร้าว และอ่าวขามบนเกาะเสม็ด สัตว์หน้าดินบริเวณชายหาด เช่น ไส้เดือนทะเล ปะการัง หอย ปู ที่หนีไม่ทันคงตายทั้งหมด ผลกระทบที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือ ความ สวยงามของหาดหมดไป นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อเนื่องในเรื่องความปลอดภัยหรือความยอมรับในการบริโภคสัตว์น้ำที่จับจากบริเวณนี้ มีความเป็นไปได้ที่อาจมีการ สะสมสารแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนในเนื้อเยื่อสัตว์ทะเลของบริเวณที่ได้รับผลกระทบ แต่อาจไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อการบริโภค เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สะสม ต่อเนื่อง เมื่อได้มีการขจัดคราบน้ำมันดิบออกไปแล้ว และมีการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ก็จะทำให้สภาวะต่าง ๆ ในบริเวณนี้ คืนสภาพใหม่ได้ แต่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือน การใช้สารเคมีพ่นเพื่อทำให้คราบน้ำมันแตกตัวออก จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวของคราบน้ำมัน ทำให้ oil oxidizing bacteria ทำการ ย่อยสลายคราบน้ำมันได้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์ของการย่อยสลายก็จะทำให้เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ทะเลบริเวณนี้ การรั่วไหลของน้ำมันดิบลงทะเลในครั้งนี้ เป็นบทเรียนที่จะต้องนำมาวิเคราะห์วางแผนเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาดังกล่าวในอนาคต เท่าที่ได้ติดตาม และวิเคราะห์เหตุการณ์เบื้องต้น ผู้เขียนเห็นว่ามีข้อบกพร่องในมาตรการป้องกันการรั่วไหลด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ๑. การออกแบบทางวิศวกรรมในการป้องกันการรั่วไหลไม่ดีพอ จะเห็นได้ว่า จุดที่มีการถ่ายน้ำมันดิบลงท่าเรือเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้น จึงควร ออกแบบและวางมาตรการป้องกันที่รัดกุม การถ่ายน้ำมันควรมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สามารถตรวจเฝ้าระวังการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเชื่อถือได้ และเมื่อเกิด ปัญหาการรั่วไหลก็ต้องมีระบบที่สามารถปิดการทำงานได้แบบอัตโนมัติ อีกทั้งต้องมีวาล์วที่ป้องกันการไหลย้อนกลับ การรั่วไหล ๕๐ ตันในครั้งนี้ ถ้าคำนวณคร่าว ๆ โดยตั้งสมมุติฐานว่าท่ออ่อนปริแตกทั้งท่อ จะได้ความยาวของท่ออ่อนถึง ๔๐๐ เมตร ซึ่งความจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น ๒. กฎ ระเบียบ ของทางราชการมีจุดบกพร่องและหละหลวม โรงกลั่นน้ำมันถูกจัดให้เป็นประเภทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย จึงไม่ได้ถูกจัดอยู่ ในโครงการ ๑๑ ประเภท ที่ต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental & Health Impact Assessment, EHIA) ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อตอนมีการขออนุญาตสร้าง โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทฯ จึงจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) อย่างเดียว และมีคณะกรรมการของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพียงชุดเดียวพิจารณา ซึ่งอาจะทำให้ไม่ละเอียดพอ ถ้าโรงกลั่นน้ำมันถูกจัดให้อยู่ในโครงการ ๑๑ ประเภท ที่ต้องทำ EHIA ที่ต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๗ วรรคสอง ตรวจสอบและให้ความเห็น อีกชั้นหนึ่ง น่าจะละเอียดมากขึ้น จึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดเหตุการณ์รั่วไหลของน้ำมันได้ จากเหตุการณ์รั่วไหลของน้ำมันในครั้งนี้ รวมทั้งการระเบิดของโรงกลั่นน้ำมันบางจาก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า โรงกลั่นน้ำมันเป็นโครงการ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผู้เขียนจึงขอเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีการทบทวนประเภทโครงการที่รุนแรงใหม่ เพื่อที่จะทำให้มีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุของโรงงานที่รัดกุมยิ่งขึ้น ศ. ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ “ทำอย่างไรเด็กนักเรียนจะมีความสุขในโรงเรียน” โดยปรกติในการดำเนินชีวิตของทุกคนในแต่ละวัน สามารถแบ่งเวลาได้เป็น ๓ ส่วน คือ เวลานอน เวลาในการทำงาน และเวลาในการพบปะสังสรรค์หรือ ทำภารกิจส่วนตัว ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะใช้เวลาไปในการทำสิ่งใดมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละวัน เด็กนักเรียนก็เช่นกัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้า ต้องรีบทำภารกิจส่วนตัว เวลาที่จะรับประทานอาหารในตอนเช้า ก็แทบจะไม่มี ส่วนมากก็จะรับประทานบนรถกรณีที่มีรถส่วนตัว หรือไปรับประทานที่โรงเรียน จวบจนกระทั่งเด็กเลิกเรียนในตอนบ่าย ซึ่งหากจะนับช่วงเวลาแล้ว เด็กจะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนอย่างน้อย ๘ ชั่วโมง นั่นหมายความว่า เด็กนักเรียนใช้เวลาที่โรงเรียนในแต่ละวันมากถึง ๑ ใน ๓ เลยทีเดียว ถือได้ว่า โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของเด็กในวัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ทางวิชาการ การเรียนรู้ในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ การเข้าสังคม โรงเรียนจึงต้องเป็นสถานที่ที่เด็กอยากมาเรียนทุกวัน เพราะมาเรียนแล้วมีความสุข สาเหตุที่ทำให้เด็กขาดความสุขในโรงเรียน ข้อมูลจากศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า นอกจากปัญหาครอบครัวซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก แล้ว การที่เด็กไม่มีความสุขในโรงเรียนก็มีส่วนทำให้เด็กต้องกลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย เรียนได้ไม่ดี คือ ๑. ผู้บริหารและครูผู้สอน ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญในอันดับแรกสุด เพราะนี่คือผู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กในทุก ๆ วัน ครูจะเห็นและทราบความ เคลื่อนไหวและพฤติกรรมทุกอย่างของเด็ก ทำให้ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมาก ถ้าหากครูไม่เข้าใจในตัวของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจิตวิทยาวัยรุ่น ไม่ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องกายภาพและความรู้สึกนึกคิด เอาแต่สอนอย่างเดียว ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจในความเป็นเด็กได้ ซึ่งครูกลุ่มนี้ เมื่อไม่เข้าใจเด็กมักจะว่ากล่าวด้วยถ้อยคำที่รุนแรง นอกจากนี้ การที่ครูผู้สอนไม่มีเทคนิคในการสอนที่ดี ที่น่าสนใจ เมื่อเด็กไม่เข้าใจแทนที่จะบอกสอนและอธิบาย ด้วยวิธีที่เป็นมิตร กลับใช้วิธีการด่าทอ ต่อว่า และลงโทษ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมและเปรียบเทียบให้เด็กเกิดความรู้สึกอับอาย ทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน เมื่อเรียนแล้วก็ รู้สึกว่าไม่ทันเพื่อน การบ้านก็ทำไม่เป็น ยิ่งเป็นครอบครัวที่แตกแยกไม่มีใครสนใจในตัวเด็กด้วยแล้ว ยิ่งมีส่วนในการทำให้เด็กออกกลางคันกันเป็นจำนวนมาก และเข้าสู่ กระบวนการของเด็กกระทำผิดที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในท้ายที่สุด ๒. เพื่อนนักเรียน เพราะในโรงเรียน เพื่อนคือคนที่นักเรียนจะมีความใกล้ชิดที่สุด ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม เด็กวัยรุ่นทุกคนต้องการการยอมรับจากคนอื่น โดยเฉพาะจากเพื่อนหรือเพศตรงข้าม การที่ไม่ได้รับความสนใจ การถูกกีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม หรือแม้แต่การถูกล้อเลียนในเรื่องสรีระ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดแผล ทางใจกับเด็ก จนส่งผลให้เด็กไม่มีความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน การได้เพื่อนที่ดี คอยประคับประคอง คอยให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=