2724_6125
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ประสิทธิภาพในการบำบัดมลพิษสูงขึ้น รวมทั้งได้นำไปประยุกต์ใช้ ในการบำบัดน้ำเสียประเภทต่าง ๆ มากขึ้น เช่น น้ำเสียชุมชน น้ำเสีย จากการเกษตร น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ.มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สัตว์ประหลาดและอมนุษย์ในตำนานและวรรณกรรมตะวันตก ความโดยสรุปว่า บทความนี้เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดและอมนุษย์ ในตำนานและวรรณกรรมตะวันตก สัตว์ประหลาดซึ่งรวมทั้งอสุรกาย นั้นมักมีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ดุร้าย ส่วนอมนุษย์นั้นไม่ใช่สัตว์ แต่ก็ ไม่ใช่มนุษย์ เช่น นางพราย ยักษ์ สัตว์ประหลาดไม่มีตัวตนจริง ๆ แต่ เกิดจากจินตนาการของมนุษย์ มีบทบาทในการแสดงให้เห็นความเก่งกล้า สามารถของเหล่าวีรบุรุษ งานวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ ของกวีโฮเมอร์ คือ The Iliad กับ The Odyssey และวรรณกรรม แนวแฟนตาซีผจญภัย เช่น Harry Potter, The Hobbit, The Lord of the Rings รวมทั้งภาพยนตร์ที่สร้างจากวรรณกรรมเหล่านี้ มีการ กล่าวถึงสัตว์ประหลาดหลายชนิด เช่น กริฟฟินซ์ ไคมีรา ไซคลอปส์ นางเงือก มังกร มิโนทอร์ มีดูซา ยูนิคอร์น ซึ่งผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้าน ตำนานหรือเทพปกรณัมเลย อาจไม่ทราบความเป็นมาหรือรูปร่าง หน้าตาของสัตว์ประหลาดหล่านี้ บทความนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ให้ ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านงานวรรณกรรมและชมภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องได้อย่างมีความเข้าใจ เกิดจินตนาการ และได้อรรถรสมากขึ้น ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ปัญหามลพิษจากการรั่วไหลของน้ำมัน เหตุแห่งปัญหา เมื่อได้พิจารณาถึงการขนส่งน้ำมันจากแหล่งผลิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก จะพบว่าน้ำมันส่วนใหญ่ถูกขนส่งไปทางเรือ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นได้ว่า ความต้องการน้ำมันในทุกประเทศได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ปริมาณน้ำมันที่ถูกขนส่งไปทางเรือก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว ผลกระทบ ของน้ำมันต่อสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นจากการขนส่งน้ำมันทางทะเล ในอดีตโรงกลั่นน้ำมันมักจะตั้งอยู่ในประเทศเจ้าของบ่อน้ำมัน ดังนั้น การขนส่งน้ำมันจึงเป็นการขนส่งน้ำมันสำเร็จรูป แต่เมื่อปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นก็ได้ มีการขยายโรงกลั่นไปตั้งอยู่ในประเทศที่ใช้น้ำมัน การขนส่งน้ำมันจึงเปลี่ยนรูปเป็นการขนส่งน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันไปยังประเทศที่ใช้น้ำมัน แทนที่จะเป็นการขนส่ง น้ำมันสำเร็จรูป การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่แหล่งน้ำเกิดขึ้นได้หลายแบบด้วยกัน เช่น อาจเกิดจากอุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำมันชนกัน ไฟไหม้ เกยตื้น จากการขนถ่ายน้ำมันจาก เรือบรรทุกน้ำมันขึ้นสถานีรับบนฝั่ง จากการถ่ายน้ำจากถังอับเฉาทิ้งทะเล จากการสำรวจขุดเจาะหาน้ำมันบนไหล่ทวีป รูปแบบการรั่วไหลทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้น การขนถ่ายน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันขึ้นสถานีรับบนฝั่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ผลกระทบ น้ำมันเมื่อรั่วไหลลงในทะเลแล้วก็จะแผ่กระจายออกเป็นคราบน้ำมัน (oil slick) การแผ่กระจายจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นบริเวณกว้าง อัตราความเร็ว ในการแผ่กระจายนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมัน ถ้าเป็นน้ำมันดิบอัตราการแผ่กระจายจะช้ากว่าน้ำมันสำเร็จรูป นอกจากนี้ ยังขึ้นกับส่วนประกอบของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น กระแสลม กระแสน้ำ และคลื่น คราบน้ำมันและน้ำมันในน้ำ (oil in water) มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบในทางตรงได้แก่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำและตามชายฝั่ง พวกนี้ได้แก่ นกและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินตะกอน ตามชายฝั่งหรือที่เรียกว่า เบนทอส (benthos) คราบน้ำมันจะติดตามขนนก ทำให้นกบินไม่ได้ และขนจะไม่สามารถเก็บความร้อนในร่างกายของนกได้ ทำให้นกหนาว ตายไปในที่สุด นอกจากนี้ นกอาจกินคราบน้ำมันที่ติดอยู่ตามตัวทำให้เป็นพิษต่อร่างกายโดยตรง พวกเบนทอสที่อาศัยอยู่ตามชายหาด เช่น หอยชนิดต่าง ๆ จะได้รับ ผลกระทบโดยตรง คราบน้ำมันจะปกคลุมร่างกายและมีพิษต่อระบบประสาทของสัตว์เหล่านี้ น้ำมันที่ลอยและละลายอยู่ในน้ำยังอาจเป็นพิษต่อสัตว์น้ำได้โดยตรง ผลกระทบในทางอ้อมได้แก่ การที่คราบน้ำมันเป็นตัวกั้นแสงและการแลกเปลี่ยนอากาศของน้ำ ทำให้ผลผลิตของแพลงก์ตอนพืชลดลง มีผลทำให้ปลาที่กิน แพลงก์ตอนพืชเหล่านั้นได้รับอาหารน้อยลง และในที่สุดต้องอพยพย้ายถิ่นออกไป การประมงจึงได้รับผลกระทบต่อมาอีกทอดหนึ่ง คราบน้ำมันยังอาจทำให้เกิดอัคคีภัย และในบางครั้งถ้าเข้าไปปนเปื้อนกับผลผลิตประมงก็อาจทำให้ผลผลิตประมงเหล่านั้นไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อ เพราะมี กลิ่นน้ำมันติดอยู่ คราบน้ำมันยังมีผลกระทบในแง่ความสวยงามของธรรมชาติ ในบริเวณชายหาดบางแห่งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ถ้ามีคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนก็จะทำให้ ไม่สวยงาม ประชาชนรังเกียจที่จะใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงทำให้เศรษฐกิจในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบ การรั่วไหลของน้ำมันครั้งใหญ่ล่าสุดที่สร้างความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และเศรษฐกิจ ได้แก่ เหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัท บริติช ปิโตรเลียม (บีพี) ทำให้น้ำมันรั่วไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโกของสหรัฐอเมริกาถึง ๗๐,๐๐๐ ตัน เป็นเวลา ๘๗ วัน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ คราบน้ำมันที่เกิดขึ้นจากการรั่วไหลลงสู่ทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและทางเคมี ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำมันที่เปรอะเปื้อนลดน้อยลงดังนี้ ๑. การกระจายตัวของน้ำมัน น้ำมันที่จับเป็นแผ่นฟิล์มจะได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำและลม ทำให้ฟิล์มบาง ๆ แตกออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ กระจายออกไปในน้ำ ๒. การระเหยของน้ำมัน น้ำมันดิบมีองค์ประกอบที่มีจุดเดือดต่ำและสูงปนกัน ดังนั้น สารที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยไปก่อน ถ้ามีความเร็วลมเข้ามาช่วย ก็จะทำให้ การระเหยมีอัตราสูงขึ้น โดยระเหยไปในรูปของละอองลอย (aerosol) น้ำมันที่มีจุดเดือดสูงระเหยได้น้อย จะรวมตัวกับน้ำมีลักษณะเป็นก้อนสีดำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=