2723_3912

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๗ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ ทางศาสนาของอาคารที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาคาร ที่พักอาศัย มีชื่อเรียกมากมาย ทั้งชื่ออาคารและชื่อองค์ประกอบ เกิดการเรียก ที่แตกต่างกัน ต่างคนต่างเรียก ทั้งช่างสถาปนิก สถาบันการศึกษา และหน่วย ราชการที่เกี่ยวกับช่าง ทำให้เกิดความสับสนในหมู่บุคคลทั่วไป นักศึกษา แม้แต่อาจารย์ที่สอนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยและระหว่างช่างกันเอง ศัพท์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในการบรรยายครั้งนี้ ผู้บรรยายได้ยึดถือจาก ศ.พระพรหมพิจิตร ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้สนองงานของสมเด็จครูหรือสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในวงการช่างยอมรับ ท่านทั้งสองเพราะมีชื่อ อาคารมีองค์ประกอบมากมายดังกล่าว ทำให้เกิด ความสับสน ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างความสับสนดังต่อไปนี้ พุทธเจดีย์นั้นมีทรวดทรงเกิดจากทรงของจอมแห ปากของแห แคบ เวลาตาก ทรงก็จะเรียวยาวโดยเฉพาะปลียอด จึงต้องแบ่งปลีเป็น ๒ ช่วง คั่นด้วย “ลูกแก้ว” ส่วนช่วงล่างจะเรียก “ปลี” ช่วงเหนือลูกแก้วจะเรียก “ปลียอด” ลูกแก้ว บางคน บางช่าง นักวิชาการเรียกเป็น “วงแหวน” และ “ลูกจัน” ก็มี ส่วนยอดของเจดีย์ทรงกลม เหนือบัลลังก์จะมีองค์ประกอบชื่อปล้อง ไฉน หรือ มาลัยเถา มักจะเรียกชื่อสลับกันกับมาลัยลูกแก้วที่อยู่ใต้องค์ระฆัง หลังคาของอาคารสถาปัตยกรรมไทย มีการซ้อนของหลังและผืนหลังคา มีหลายตับ การซ้อนของหลังคา จะเรียกหลังคาซ้อนล่างสุดเป็น “ซ้อนที่ ๑” สูงขึ้นไปเป็นซ้อนที่ ๒, ๓, ๔ ส่วนผืนหลังคาที่เรียกว่า “ตับ” จะเรียกจาก หลังคา ตับบนลงมายังตับล่าง คือ ตับที่ ๑, ๒ และ ๓ หรือ ๔ ตับกับซ้อน มักเรียกสลับกัน องค์ประกอบคำว่า หลังคาลด ชั้นลด และมุขลด นั้น จะเป็นซ้อน ของหลังคาหลายซ้อน สันหลังคาแต่ละซ้อนมีระยะห่างใกล้เคียงกัน และถ้า หลังคาซ้อนที่ ๑ ห่างจากหลังคาซ้อนที่ ๒ มาก ต้องเรียกหลังคาซ้อนที่ ๑ ว่า “หลังคาลด” หรือ “หลังคาชั้นลด” ได้แก่ หลังคามุขเด็จของพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม และมุขเด็จของวัดกษัตราธิราช อยุธยา ส่วนอาคาร ที่มีพื้นเป็นมุขและมีหลังลด ต้องเรียกหลังคานี้ว่า มุขลด คำว่า หลังคา “ปีกนก” ทำความสับสนมากที่สุดคือ หลังคาอุโบสถ แบบจั่วเปิด ซึ่งเป็นหลังคาแบบ ๓ ตับ หลังคาตับที่ ๒ เรียก “หลังคาปีกนก” ใต้หลังคามีหน้าบันเรียก “ลายหน้าอุดปีกนก” สำหรับเรือนไทยภาคกลาง จะมีหลังคาด้านหน้าใต้แผงจั่ว เพื่อให้มีชายคารอบตัวเรือน หลังคานี้ก็เรียก หลังคาปีกนก “กันสาด” หรือ “หลังคากันสาด” คือ หลังคาที่ป้องกันฝนสาดถูกตัว อาคาร มีชายคาให้ฝนไหลลงโดยรอบ หรือคลุมเป็นส่วนมาก ได้แก่ หลังคา กันสาดของเรือนไทยภาคกลาง หลังคาของศาลารายรอบพระอุโบสถ และหลังคากันสาดที่ทอนเป็นหลังคา ๓ ตับของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน- ศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง หลังคากันสาดของสิมอุโบสถของ ภาคอีสานนั้นคลุมระเบียงรอบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หลังคาระเบียง” แต่มี บางท่านเรียก “หลังคาพาไล” หรือ “หลังคาพะไล” ส่วนคำว่า “พาไล” และ “พะไล” นั้นเป็นหลังคาด้านข้างของเรือนไทย ภาคกลาง ที่ยื่นยาวมากกว่าหลังคากันสาด โดยมี “เสานางเรียง” รองรับพื้น ดินใต้หลังคาเรียก “พื้นพาไล” หรือ “พื้นพะไล” พื้นของพระอุโบสถด้านข้าง ถ้ามีหลังคายื่นยาวออกไปเพื่อปกคลุม ช่องแสงเล็ก ๆ และไม่มีทางเข้าไปภายใน ถ้าจะเข้าภายในพระอุโบสถต้องเดิน ออกไปเข้าทางด้านหน้าหรือด้านหลัง หลังคานี้จะเรียกว่า “หลังคาพาไล” หรือ “หลังคาพะไล” ส่วนพื้นใต้หลังคาจะเรียก “พื้นพาไล” หรือ “พื้นพะไล” ส่วนเสาที่รองรับหลังคาเรียก “เสาพาไล” “เสาพะไล” มีองค์ประกอบของอาคารอีก ๓ ชื่อ ที่เรียกสลับกันคือ คำว่า “หาร” “หาญ” และ “หาน” หารคือเสาที่รองรับส่วนยอดของเจดีย์รอบคอฐานยอด หรือก้านฉัตร มักมีจำนวน ๘ ต้น เจดีย์สมัยสุโขทัยจะไม่มีเสาหารนี้ คำว่า “หาญ” คือแปตัวที่ ๒ หรือ ๓ เหนือแปหัวเสาที่รองรับเครื่อง ลำยองตรงที่ชื่อว่า “นาคสะดุ้ง” ส่วนคำว่า “หาน” คือ เสาลอยหน้าพระอุโบสถแบบจั่วเปิดที่เป็นหน้ามุข เสาหานจะมีจำนวน ๔ ต้น นอกจากนี้ยังมีเสาหานอยู่ที่กลางมุขทั้ง ๔ ด้าน เพื่อรองรับหลังคาและเครื่องยอดของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรม มหาราชวัง และถูกตัดออกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะบดบังและกีดขวาง การตั้งพระบรมศพ สรุป การเรียกชื่อองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตย- กรรมไทยแบบประเพณี มีการเรียกให้เกิดความสับสนต่อคนทั่วไป บรรดาช่าง และสถาปนิก บทความนี้คงทำให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่ององค์ประกอบ ของสถาปัตยกรรมไทยต่อไป ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ “เรียนให้มีความสุข” ความสุข คือ สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเฝ้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า และครอบครอง พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข ครูอาจารย์อยากเห็นลูกศิษย์ของตนร่าเริง แจ่มใส และมีความสุข กิติยวดี บุญซื่อ ได้นำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยสรุปสาระสำคัญไว้ว่า “การเรียนรู้อย่างมีความสุขจะต้องมีแนวคิดพื้นฐานเกิดจาก การสร้างความรักและความศรัทธาให้กับนักเรียน เพราะศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีที่สุด การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการได้สัมผัส และสัมพันธ์กับของจริงและ ธรรมชาติ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตนเอง และบุคคลรอบข้างช่วยให้เขาปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว การประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ ทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย” การพัฒนาให้เด็กเป็น คนดี เก่ง และมีความสุข ต้องมีความสมดุลในการจัดกระบวนการเรียนการสอน บรรยากาศ และสภาพแวดล้อม โดยให้เด็กได้ สนุกสนานกับกิจกรรมการเรียน และเสริมสร้างประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมีความสุขตามสภาพจริง และกระบวนการประเมินตามสภาพจริง ในการจัดการ เรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้เด็กเป็น คนดี เก่ง และมีความสุข ควรจะมีการส่งเสริมหรือพัฒนาเด็ก การส่งเสริมเด็กในด้านการเรียนให้มีความสุข คือ ๑. ส่งเสริมให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เน้นให้เด็กเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ๒. ส่งเสริมพัฒนาการของสมองทุก ๆ ด้าน ใช้ทุกส่วนของสมองทั้งในด้านร่างกาย ด้านการรับรู้ ด้านภาษา การคิดคำนวณคณิตศาสตร์ และดนตรี ๓. ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะ กระบวนการคิด และการแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล และในเชิงสร้างสรรค์ ๔. เน้นการบูรณาการการเรียนรู้และทักษะความถนัดของผู้เรียน (thematic approach) โดยส่งเสริมศักยภาพของเด็กทุก ๆ ด้าน ๕. เน้นการพัฒนาเด็กในด้านการอยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตย (cooperative approach)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=