2723_3912

3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๗ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ.นพมาศ อุ้งพระ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อคติ การกีดกัน และ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Prejudice, discrimination and human relations) ความโดยสรุปว่า อคติ การเหมารวม และพฤติกรรมกีดกัน หรือ การทำร้าย ได้สร้างปัญหากับบุคคลที่ถูกกีดกันและเหยื่อของอคติมากมาย อคติทางสีผิวทำให้ความเป็นอยู่และสุขภาพจิตของคนผิวดำถูกกระทบ ในเชิงลบ อคติทำให้คนขาวไม่จ้างงานคนดำ ดูถูก ไม่ให้เช่าบ้าน ฯลฯ ในสมัย หลังสงครามกลางเมือง คนผิวดำทางใต้ของอเมริกาถูกแขวนคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี สตรีก็ถูกกีดกัน ดูถูก ทารกในครรภ์ที่เป็นหญิง ถูกทำแท้งในหลายประเทศ เด็กผู้หญิงในหลายสังคมไม่ได้เรียนหนังสือ ในซาอุดิอาระเบียห้ามผู้หญิงขับรถ ในอเมริกาเงินเดือนของหญิงชาย ที่ทำงานหน้าที่เดียวกันไม่เท่ากัน ผู้ชายได้ค่าจ้างสูงกว่า ในทางศาสนาซึ่งเคย มีอคติต่อกันจนเกิดสงครามครูเสด และมีการคิดว่าคนต่างศาสนาเป็นพวก นอกรีต ต้องตกนรก ฮิตเลอร์ฆ่าชาวยิวเพราะเหตุผลทางศาสนาและเผ่าพันธุ์ ผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิมก็มีอคติต่อคนศาสนาอื่น โดยเฉพาะต่อสหรัฐอเมริกา และต่อสังคมอื่นที่มีศาสนาต่างจากพวกเขา แม้ศาสนาเดียวกันก็แบ่งเป็น นิกายชีอะฮ์และซุนนี แล้วก็ขัดแย้งกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อคนกลุ่มอื่น พวกอื่น สีผิว เผ่าพันธุ์ ศาสนาอื่น การมีอคติต่อกลุ่มอื่นมักเกี่ยวกับการเห็นว่ากลุ่มตนเหนือกว่า ดูถูกกลุ่มอื่นเพื่อให้ภูมิใจกลุ่มตนมากขึ้น ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีความต้องการ ที่จะยกความภูมิใจในตนโดยดูถูกคนอื่น อคติของมนุษย์ก็จะมีไม่สิ้นสุด มีการ หาแพะรับบาป หาศัตรูร่วม เพื่อให้กลุ่มตนสามัคคีมากขึ้น และความ คับข้องใจของตนได้รับการระบายออก ดังนั้น สังคมควรปลูกฝังให้คนมีความรัก คนอื่น รักชีวิต รักสิ่งแวดล้อม ส่วนอคติและการทำลายผู้อื่นให้มีน้อยที่สุด เพราะสังคมโลกจะมีความสุขก็ต่อเมื่อมนุษย์รักกัน แทนที่จะมีอคติต่อกัน เกลียดกัน และทำร้ายกัน ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การพัฒนา กฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศ ความโดยสรุปว่า แม้ว่าในปัจจุบันเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปในเรื่อง ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ของประเทศไทย จากเดิมที่ควรมี การขยายจำนวนเรือหรือการขยายความสามารถในการขนส่งสินค้าของ ประเทศไทย มาเป็นความคิดที่ให้มีการขนส่งอย่างสะดวกรวดเร็ว เพื่อลด ต้นทุนการขนส่งและต้นทุนทางโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ของประเทศไทย และการที่คิดว่าบริษัทหรือสายการเดินเรือของประเทศไทย คงไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทหรือสายการเดินเรือของต่างประเทศได้เพราะ ธุรกิจการเดินเรือได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยบริษัท หรือสายการเดินเรือต่างประเทศจะมีบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือที่ให้บริการ ครบวงจรไม่ใช่แต่การให้บริการขนส่งทางทะเลเท่านั้น เช่น การมี ICD หรือ บริษัทรถหัวลาก มีรถบรรทุกเป็นของตนเอง กระจายไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในโลก การทำเช่นนี้ได้ต้องมีเงินลงทุนสูงมาก ซึ่งผู้ประกอบการขนส่ง ของไทยคงทำไม่ได้ แต่การละเลยไม่สนใจในการพัฒนากองเรือไทยให้มีความ สามารถในการขนส่งควบคู่กันไปด้วยไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เนื่องจาก การมีกองเรือพาณิชย์เป็นของตนเองมีประโยชน์มากมายหลายประการ เพียงแต่ว่าในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยละเลยการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ ไทยเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แม้ประเทศเพื่อนบ้าน ของประเทศไทย การใช้มาตรการในการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยมีได้หลายทาง ทางหนึ่งที่มีประโยชน์และไม่ต้องมีการลงทุนมากนักคือ การใช้มาตรการ ทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างหนทางและ บรรยากาศให้มีการนำเรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรือขนส่งน้ำมันที่ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ทำให้ เห็นความเป็นไปได้ในการส่งเสริมเรือบรรทุกน้ำมันให้มีปริมาณมากขึ้น ด้วยการสร้างระบบการจดทะเบียนแบบใหม่ นอกจากนี้ แม้ประเทศไทยจะมี ท่าเรือที่ทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง แต่หาก วันหนึ่งไม่มีเรือต่างชาติเดินทางเข้ามาขนส่งสินค้าในประเทศไทย ไม่ว่าด้วย สาเหตุทางการเมืองภายในประเทศไทย หรือสาเหตุทางการเมืองระหว่าง ประเทศ หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม เรือไทยที่เป็นแต่เรือลำเลียงและเรือที่แล่น ตามแม่น้ำคงไม่สามารถขนส่งสินค้าเข้าหรือออกของไทยได้ ปัญหาย่อมเกิด แก่ประเทศไทย ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมเรือไทยจึงยังมีความจำเป็นอยู่ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ดวงดาวตามความ เชื่อของมนุษย์ ความโดยสรุปว่า ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ มนุษย์เชื่อว่า ท้องฟ้าคือสวรรค์เป็นที่อยู่ของเทวดา ดวงดาวจึงเป็นเทวดา โดยมีดาว นพเคราะห์เป็นเทวดาที่อยู่ใกล้และมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนบนโลก ส่วนดาวฤกษ์คือเทวดาที่อยู่ไกล ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อของพวกกรีก โบราณ นำโดย อาริสโตเติล (๓๘๔-๓๒๒ ปี ก่อน ค.ศ.) ที่เชื่อว่าโลกอยู่กับที่ ดวงดาวเคลื่อนรอบโลก โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (geocentric) บุคคล สำคัญผู้เผยแพร่และเชื่อตามอาริสโตเติล คือ ทอเลมี (ค.ศ. ๙๐-๑๖๘) ระบบที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจึงได้ชื่อว่า ระบบทอเลมี มนุษย์ยุคนั้นเชื่อ อย่างที่ตามองเห็น กล่าวคือเป็นเทวดาที่อยู่ใกล้และมองเห็นด้วยตาเปล่า ๗ องค์ เคลื่อนรอบโลกไปทางตะวันออกด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน ส่วนดาวฤกษ์ เคลื่อนรอบโลกไปด้วยกันจากตะวันออกไปตะวันตกอย่างเดียว การสังเกต ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ ๗ ดวงว่าเคลื่อนที่รอบโลกไปทางตะวันออกด้วย ความเร็วแตกต่างกันทำให้สรุปได้ว่า ระยะห่างของเทวดาเหล่านี้จากใกล้ ไปไกลคือ พระจันทร์ พระพุธ พระศุกร์ พระอาทิตย์ พระอังคาร พระพฤหัสบดี และพระเสาร์ ผลที่ตามมาคือ การเรียงลำดับชื่อวันในสัปดาห์อย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน หากปรับระยะห่างของดาวเคราะห์จากโลกให้ถูกต้องกว่านี้จะเป็น ลำดับจากใกล้ไปไกลคือ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แล้วลำดับชื่อวันจะเป็นอย่างอื่น (อาทิตย์ ศุกร์ พฤหัสบดี อังคาร เสาร์ พุธ จันทร์) ความเชื่อของมนุษย์ในปัจจุบันที่เชื่อว่าโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ยกเว้นดวงจันทร์ ที่โคจรรอบโลก จึงเรียกระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (helio- centric) นี้ว่า ระบบโคเพอร์นิคัส (ค.ศ. ๑๔๗๓-๑๕๔๓) เป็นระบบที่ได้จาก การเปลี่ยนความเชื่อที่ถูกต้องกว่า สามารถพิสูจน์ได้ตามกฎเกณฑ์ทาง วิทยาศาสตร์ มีนักดาราศาสตร์ผู้มีความเชื่อตามโคเพอร์นิคัสอีกหลายคน เช่น กาลิเลโอ (ค.ศ. ๑๕๖๔-๑๖๔๒) เคปเลอร์ (ค.ศ. ๑๕๗๑-๑๖๓๐) นิวตัน (ค.ศ. ๑๖๔๒-๑๗๒๗) ที่ศึกษาและพัฒนาความคิดนี้มาโดยลำดับ ทำให้ทราบ ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์พร้อมระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ในหน่วย ดาราศาสตร์ (AU) คือ ดาวพุธ (๐.๔) ดาวศุกร์ (๐.๗) โลก (๐.๑) ดาวอังคาร (๑.๕) ดาวพฤหัสบดี (๕.๐) และดาวเสาร์ (๑๐.๐) ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ไม่ใช่เทวดาอยู่บนสวรรค์อย่างที่มนุษย์โบราณเชื่อแต่อย่างใด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=