2722_5351
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๖ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ การสื่อสารทางบวก ทำได้หลายทางดังต่อไปนี้ ๑. การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน เป็นการรับฟังความคิดเห็นด้วยความตั้งใจ และถ้าไม่เข้าใจในสิ่งใดต้องซักถามทำให้ เข้าใจทันทีด้วยอาการแสดงความสนใจ ความเกรงใจซึ่งกันและกันจะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าตนเองนั้นมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจ ในตน ในเรื่องความเกรงใจนี้ไม่ใช่จะมีแต่พ่อกับแม่ที่เกรงใจกันเท่านั้น แต่ลูกก็ต้องเกรงใจในพ่อแม่ ในขณะเดียวกันพ่อและแม่ก็ต้อง เกรงใจในลูกด้วย ๒. การแสดงความชื่นชม ขอบคุณ และให้กำลังใจกันเป็นสิ่งดีที่ทุกคนปรารถนา ไม่ว่าใครจะทำอะไรให้ดีหรือไม่ดีก็ตาม ต้อง กล่าวคำ “ขอบคุณ” ทันที และต้องแสดงความชื่นชมอย่างจริงใจ ๓. การแสดงความรัก ความผูกพัน และความใส่ใจต่อกันในโอกาสพิเศษ แม่บ้านและลูกต้องการให้พ่อบ้านแสดงความรู้สึกเหล่านี้ มนุษย์เราไม่ได้มีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่อาหารกายเท่านั้น แต่มนุษย์ยังต้องการอาหารใจอีกด้วย สิ่งควรคำนึงถึงการสื่อสารในบ้านมี ๒ ประเด็น คือ การสื่อสารระหว่างพ่อกับแม่ และการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นประเด็นใด จำเป็นต้องใช้การสื่อสารที่ดี หรือการสื่อสารทางบวกทั้งสิ้น การสื่อสารระหว่างพ่อกับแม่ ในการใช้ชีวิตคู่สิ่งที่ต้องระวังให้มากคือเรื่องของอารมณ์ การสื่อสารควรใช้เหตุผลมากกว่าการใช้ อารมณ์ การสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก ลูกเป็นประหนึ่งแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ การสื่อสารกับลูกก็เช่นเดียวกันกับพ่อและแม่ นั่นคือ จะต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ลูกเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ มีหน้าที่และมีเสรีภาพ ตลอดจนมีศักดิ์ศรี การสื่อสารกับลูกควรใช้น้ำเย็นและมี เหตุมีผลซึ่งจำเป็นต้องฝึกมาตั้งแต่เล็ก นอกจากนั้น ลูกยังมีความต้องการความรัก ความเข้าใจของพ่อแม่ที่มีต่อเขา ดังนั้น การเจรจา ด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวานเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะยึดเหนี่ยวสายสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น คำพูดดี ๆ ที่ลูกอยากได้ยิน ๓ อันดับแรก คือ ๑) การพูดด้วยน้ำเสียงไพเราะ อ่อนหวานน่าฟัง ๒) การพูดให้กำลังใจ เช่น ไม่เป็นไรทำใหม่ได้ และ ๓) การเป็นที่ปรึกษาที่ดี เทคนิคการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูก พ่อแม่ควรมีความรู้ในพัฒนาการเด็ก เช่น เด็กเล็กยังมีความเข้าใจในภาษาที่จำกัด ดังนั้น จึงควรใช้คำพูดที่สั้น ง่าย และกระชับ นอกจากนั้น ยังมีคำพูดดี ๆ อื่น ๆ ที่ได้รวบรวมมาจากกองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว คือ ๑) พ่อแม่ “รัก” ลูกมาก ๒) พ่อกับแม่ “ภูมิใจ” ในตัวลูก ๓) พ่อกับแม่ “สนับสนุน” ลูกเสมอ ๔) พ่อกับแม่ “ขอโทษ” ๕) ลูกเป็น “เด็กดี” ของพ่อกับแม่ ๖) แม้พ่อแม่เลิกกันแต่ลูกไม่จำเป็นต้องเลือกรัก ๗) พ่อกับแม่ “ยอมรับ” ในสิ่งที่ลูกเป็น ๘) ลูกคือ “คนสำคัญ” ของพ่อกับแม่ การสื่อสารที่ดีภายในบ้านจะช่วยเติมเต็มให้ครอบครัวมีความสุข เป็นเกราะป้องกันปัญหายาเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว การฆ่าตัวตาย ตลอดจนปัญหาในเรื่องเพศ การสื่อสารในบ้านหรือในครอบครัวเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยการใช้ น้ำเสียง น้ำคำ น้ำใจ สามารถช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจกัน รู้สึกสุขใจ นอกจากนี้ ความเกรงใจซึ่งกันและกัน ทั้งยังเป็นพื้นฐาน ที่ดีของการสื่อสารในครอบครัวที่ควรใช้ควบคู่ไปกับการใช้สายตา และการสัมผัสด้วยความรักต่อกันอย่างสม่ำเสมอ จะยิ่งช่วยให้สมาชิก ในครอบครัวมีความรักใคร่เอื้ออาทรต่อกันเป็นครอบครัวที่แข็งแรงต่อไป ในกรณีที่พ่อแม่แยกทางกัน การสื่อสารในบ้านยังมีความสำคัญมากขึ้น พ่อแม่ไม่ควรหลอกลูกว่าพ่อแม่ยังรักกันเหมือนเดิม เพราะ ทำให้ลูกมีความหวังว่าครอบครัวจะได้กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้งจึงไม่ยอมรับความจริง และอาจทำให้เกิดปัญหากับลูกมากขึ้นได้ จึงควรบอกความจริงกับลูก ให้รับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงของครอบครัวว่าเป็นอย่างไร เพื่อทำให้ลูกยอมรับสถานการณ์ของครอบครัว ได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุขได้ รศ. ดร.ดวงเดือน ศาสตรภัทร กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=