2722_5351

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน “การสื่อสารในบ้าน” ความรัก ความอบอุ่น ความเอื้ออาทรต่อกันเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาและต้องการให้มีในครอบครัว ซึ่งการมีนั้นจำเป็นต้องอาศัย ตัวช่วย คือการสื่อสาร การสื่อสารที่ดีจะทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถูกต้อง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการสื่อสารที่ไม่ดี จะทำให้เกิดความร้าวฉาน ความไม่เข้าใจกัน และนำไปสู่การแตกแยกในที่สุด การสื่อสารคือ กระบวนการติดต่อสัมพันธ์ ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ ความคิด ความรู้สึก เจตคติ และค่านิยมระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิด ความรู้ความเข้าใจ และเกิดพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การสื่อสารในบ้าน เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่เกิดจากบุคคลภายในบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก ตลอดจนสมาชิกคนอื่นในบ้าน ได้มีการติดต่อสัมพันธ์ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันซึ่งกันและกัน สังคมไทยในยุคปัจจุบันหรือยุคการพัฒนาอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปจากยุคก่อนมาก ชายและหญิงมีความเสมอภาคทางเพศเท่าเทียมกัน ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของฝ่ายหญิงจึงดูมากกว่าฝ่ายชาย เพราะต้องทำงานหาเงินเหมือนฝ่ายชายแล้วเมื่อกลับมาบ้านยังต้องมาดูแล ครอบครัว ความเหนื่อยของแม่บ้านมีมากขึ้น ประกอบกับเห็นสามีไม่คิดจะช่วยเหลือนั่งดูทีวีอย่างมีความสุข จะเกิดความขัดแย้ง ทางอารมณ์ขึ้น และระเบิดออกมา ซึ่งจะกลายเป็นชนวนที่ทำให้บ้านไม่มีความสุข การที่จะแก้ปัญหานี้ได้นั้นควรมีการตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ในบ้านซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการสื่อสารที่ดีในการแก้ปัญหา เพื่อสร้าง บรรยากาศที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรัก ความอบอุ่น และเป็นสุข ลักษณะคนไทยเป็นคนไม่ชอบพูด และคิดเองว่าอีกฝ่ายหนึ่งน่าจะรู้ เองว่าควรทำอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วอีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ได้คิด การสื่อสารนอกจากเป็นการพูดคุยกันแล้ว ยังมีการสื่อสารโดยใช้ ภาษาท่าทางซึ่งส่งผลทั้งทางบวกและทางลบ ภาษาท่าทาง ได้แก่ สีหน้า แววตา การมอง ลักษณะท่าทาง การสัมผัส และระยะห่าง สีหน้า เป็นการแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งปรากฏทางใบหน้า แววตา การมอง ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ การมอง ตาอาจเป็นการค้นหาข้อมูลในบางสิ่ง เช่น การที่พ่อบ้านพูดคุยกับแม่บ้านแล้วหลีกเลี่ยงการสบตา เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอก เป็นนัยว่าพ่อบ้านอาจพูดในสิ่งที่ไม่จริง ลักษณะท่าทาง เวลาที่ลูกกำลังเล่าเรื่องที่เกิดในโรงเรียนให้พ่อและแม่ฟัง ถ้าพ่อและแม่ตั้งใจฟัง จะทำให้ลูกมีกำลังใจที่จะเล่าต่อ การสัมผัส เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน เช่น พ่อหรือแม่อาจไม่พูดว่ารักลูก หรือห่วงใยลูก แต่อาจแสดงให้เข้าใจได้จากการ ที่พ่อหรือแม่โอบกอดลูก จูบลูก ระยะห่าง มนุษย์จะมีระยะห่างในการเจรจา ระยะที่ห่างมากแสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพแบบหลวม ๆ ซึ่งไม่ควรปรากฏในบ้าน ดังนั้น ระยะที่ใกล้ชิดกันยิ่งมากก็ยิ่งดี การสื่อสารทางลบ เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดในบ้าน เมื่อฝ่ายใดเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจในอีกฝ่ายหนึ่งควรสงบใจก่อน และพยายาม ควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ได้ก่อนที่จะแสดงลักษณะท่าทางบึ้งตึงเฉยเมย แสดงความเย็นชา หรือจ้องมองอย่างโกรธเกรี้ยวชิงชัง ไม่ยอมที่จะเข้าใกล้หรือสัมผัส การสื่อสารทางลบอาจเป็นในลักษณะต่อไปนี้ การเก็บกด เป็นลักษณะวิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้งโดยไม่พูด แต่ภายในเต็มไปด้วยอารมณ์น้อยใจ เสียใจ โกรธ คำพูดที่คลุมเครือ อาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือความเข้าใจผิดได้ การด่วนสรุปทั้งที่ยังฟังไม่ครบถ้วน เมื่อเปรียบเทียบกับการสื่อสารทางบวก จะเห็นว่าในระยะเริ่มชีวิตคู่นั้นน่าจะเริ่มต้นด้วยการสื่อสารที่ดีหรือทางบวก เพราะยังเป็น ระยะฮันนีมูน สายใยสัมพันธ์ยังแข็งแกร่งมักจะไม่เกิดปัญหาใด ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เพราะมีอากาศเย็นผ่านได้ มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมาก มีห้องสำหรับ รับแขกที่ร่มรื่น ปลูกต้นมะเกลือไว้กลางนอกชานตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร มีลานเดินสำหรับสวดมนต์ตอนเช้า ผู้บรรยายได้รับแรงบันดาลใจจากฤๅษี ดัดตนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร จึงได้เลือกท่าฤๅษี ดัดตนจากตำราซึ่งมี ๑๑๗ ท่ามาปั้นเป็นหุ่นจำลองขนาดเล็กแสดงท่าต่าง ๆ ไว้ในถ้ำที่สร้างเป็นเขามอ อยู่ใกล้ ๆ อาคารของตึก ในถ้ำปูพรมและติดตั้ง เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นที่เรียนท่าฤๅษีดัดตน มีพระพุทธรูปเป็นพระ ประธาน และปลูกสมุนไพรไว้ตกแต่งบนเขามอ เช่น บอระเพ็ด ดีปลีเชือก เคยมีปุ่มกดเสียงบอกชื่อและข้อมูลของสมุนไพรชนิดนั้น ๆ หน่วยงาน ดังกล่าวตั้งชื่อเป็นกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ผู้บรรยายออกแบบที่ทำงานเป็นเรือนเครื่องสักให้อธิบดี ข้างล่างของอาคาร เป็นเครื่องก่อ ข้างบนเป็นเครื่องสัก มีห้องทำงานของอธิบดี และเลขานุการ มีที่ทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ และมีศาลาโล่งสำหรับรับแขกของอธิบดีหรือใช้ เป็นที่เสวนาเรื่องยา ถัดไปใช้เป็นห้องทำงานเลขานุการ ภาพอาคารแพทย์แผนไทยที่นำเสนอที่ประชุมมี ๒ หมู่ คือ หมู่ที่ใช้ รับแขกในประเทศและต่างประเทศ ตรงกลางมีสระบัวคั่น ลงบันไดหลังที่เป็น ทางเชื่อมระหว่างอาคารแพทย์แผนไทย มีอาคารเป็นสำนักงานอธิบดี ศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทยรับนักศึกษาเรียนแพทย์แผนไทย ปีละ ๒๐๐ คน นักศึกษาตื่นนอน เวลา ๖.๐๐ น. เข้าอบรมธรรมะ จริยธรรม และสวดมนต์ทุกวัน จนถึงเวลา ๘.๐๐ น. จึงให้ไปรับประทานอาหารเช้า จากนั้นจึงจะเข้าเรียน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=