2722_5351

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๖ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ พระพุทธศาสนามหายานนิกายวิชญานวาท หรือ โยคาจาร จารึกวัดจองกอ (พ.ศ. ๑๕๕๑) พบที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึง การถวายที่ดินให้แก่ พระกัมรเต็ง ชคัต วิมาย โดยพระเจ้าชยวีรวรรมัน คำว่า กัมรเต็ง ชคัต แปลว่า เจ้าแห่งโลก เป็นคำหน้านามในภาษาเขมร แสดงความเคารพสูงสุดใช้กับเทพของอินเดีย ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า โลกนาถ จารึกหลักนี้ทำให้เราทราบว่าในรัชกาลของพระเจ้าชยวีรวรรมันมี พระพุทธรูปองค์ประธานพระนามว่า วิมาย อยู่ที่พิมาย และจารึกปราสาทหิน พิมาย ๓ พ.ศ. ๑๖๕๕ ก็ยังยืนยันว่ามีพระพุทธรูปประธานพระนามว่า วิมาย อยู่ที่พิมาย จารึกพิมาย พ.ศ. ๑๕๘๖ ที่พบระหว่างการขุดแต่งและบูรณะบริเวณ ปรางค์ใหญ่ปราสาทหินพิมาย ด้านที่ ๑ เป็นคำนมัสการพระพุทธเจ้าที่มี ๔ กาย จากนั้นกล่าวถึงของถวายแด่พระพุทธรูปประธานของพิมาย จารึก หลักนี้หลักเดียวเท่านั้นในประเทศไทยที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าลักษณะนี้ พระพุทธเจ้า ๔ กายกล่าวถึงในคัมภีร์อภิสมาลังการะ ได้แก่ สฺวภาวิกกาย ธรฺมกาย สมฺโภคกาย และ นิรฺมาณกาย ศาสนาพุทธมหายานทั่วไปจะกล่าว ถึงพระพุทธเจ้าว่ามี ๓ กาย พระพุทธรูป ๔ กาย อาจจะเป็นภาพสลัก พระพุทธรูปหลายองค์อยู่เหนือทับหลังด้านทิศเหนือของครรภคฤหะ มี ๔ ภักตร์ ๖ กร สองกรวางซ้อนกันอยู่หน้าตักในท่าสมาธิ ภายในปรางค์ประธาน ส่วนด้านที่ ๒ เป็นคำนมัสการพระศิวะ และกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ของพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ ทำให้เราทราบว่า แม้จะทรงนับถือลัทธิเทวราช อย่างเคร่งครัดแต่ก็ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วย เมื่อพระองค์สวรรคต จึงได้รับพระนามว่า นิรวาณปทะ จารึกปราสาทหินพิมาย ๓ พ.ศ. ๑๖๕๕ เป็นภาษาเขมรจารึกบนกรอบ ประตูของวิหารคตด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมาย กล่าวถึงการประดิษฐาน กัมรเต็ง ชคัต เสนาปติไตรโลกวิชยะ โดย กัมรเต็ง อัญ ศรีวีเรนทราธิปติ พรหม (วรรมัน) แห่งเมือง โฉกวกุล ให้เป็นเสนาปติ คือ แม่ทัพของกัมรเต็ง ชคัต วิมาย พร้อมกับได้ถวายที่ดินและทาส เพื่อการเป็นการบูชาและ อุปถัมภ์บำรุง กัมรเต็ง ชคัต วิมาย ไตรโลกวิชัยคงจะเป็นพระโพธิสัตว์มี หน้าที่คุ้มครองป้องกันพระพุทธรูปพระนามว่า วิมาย ซึ่งเป็นประธาน ที่พุทธสถานพิมาย เช่นเดียวกับ มหากาล ในคติพระพุทธศาสนามหายาน ในทิเบต ไตรโลกวิชัย คงจะเป็นภาพสลักกลางทับหลังเหนือประตูเข้าไปสู่ครรภ- คฤหะ (ห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพประธาน) จากทางทิศตะวันออก เป็นรูปในท่าร่ายรำ เรียกว่า อรฺธปรฺยงฺก เหยียบบุคคล ๒ คนซึ่งนอนอยู่ ในพระหัตถ์ถือวัชระ ด้านหลังของพระองค์เป็นหนังช้างทั้งตัว บุคคลที่ ถูกเหยียบอาจจะหมายถึง พระศิวะ และ พระเคารี ไตรโลกวิชัยเป็นชื่อของ พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์มีหนังเสือ หรือหนังช้างคลุมพระวรกาย และทรงเหยียบอยู่เหนือมนุษย์ พระเจ้าชยวรรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-ประมาณ ๑๗๖๑) ทรงสร้างอาโรคย- ศาลาหรือโรงพยาบาลจำนวน ๑๐๒ แห่งทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ อาโรคยศาลาจำนวนหนึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พระองค์ได้สร้างจารึกเป็นภาษาสันสกฤตไว้ที่อาโรคยศาลามีข้อความเกือบจะ เหมือนกันทุกหลัก ที่พิมายก็มีอาโรคยศาลาเช่นเดียวกันมีชื่อเรียกว่า กุฏิฤๅษี อยู่ทางด้านใต้ใกล้ปราสาทหินพิมาย ๓ โศลกแรกของจารึก เป็นคำนมัสการ พระพุทธเจ้าซึ่งมีกาย ๓ คือ คือ นิรมาณกาย ธรรมกาย และ สัมโภคกาย จากนั้นเป็นคำนมัสการพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าผู้ขจัด ความเจ็บป่วย พระโพธิสัตว์ศรีสูรยไวโรจนะ และพระโพธิสัตว์ศรีจันทรไว- โรจนะ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มีพระพุทธไภษัชยคุรุทำด้วยหินทราย ตั้งแสดงไว้ องค์หนึ่งพระหัตถ์ทั้งสองถือหม้อยาไว้ที่หน้าตัก ส่วนอีกองค์หนึ่ง อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิมีหม้อยาวางอยู่เหนือพระหัตถ์ทั้งสองซึ่งวางซ้อนกัน ยังไม่พบรูปของพระศรีสูรยไวโรจนะ และพระศรีจันทรไวโรจนะ ในภาพจิตรกรรมแบบทิเบตจะเขียนรูปพระไภษัชยคุรุผิวกายสีดำ พระหัตถ์ขวาทำ วรทมุทรา (ประทานพร) พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรเหล็กวางอยู่ ที่ตัก มีภิกษุ ๒ รูปอยู่ ๒ ข้าง อาจจะเป็นตัวแทนพระศรีสูรยไวโรจนะและ พระศรีจันทรไวโรจนะ จากหลักฐานด้านจารึกที่มีทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรและ รูปเคารพแบบพระพุทธ ศาสนามหายานที่พบที่พิมายและบริเวณใกล้เคียง แสดงว่าในรัชกาลของพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ และพระเจ้าชยวีรวรรมัน การนับถือศาสนาพุทธมหายานนิกายวัชรยานมีความโดดเด่น แต่ศาสนา พราหมณ์ไศวนิกายก็ได้รับการยอมรับนับถือไปพร้อม ๆ กัน พระเจ้าสูรย- วรรมันแม้จะทรงนับถือลัทธิเทวราชอย่างเคร่งครัดแต่ก็ทรงอุปถัมภ์พระพุทธ- ศาสนาเป็นอย่างดี • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ตำนาน สงกรานต์ที่ไม่ได้มาจากมอญ ความโดยสรุปว่า เทศกาลสงกรานต์มีความ สำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะชาวรัตนโกสินทร์และมักเป็นที่เข้าใจ และอ้างอิงกันเสมอว่า ตำนานสงกรานต์นี้มาจากพระบาลีฝ่ายรามัญ ดังหลักฐาน ที่ปรากฏในจารึกเรื่องมหาสงกรานต์ ในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน โดยมี เนื้อความโดยสรุปว่า กระบิลพรหมลงมาถามปัญหา ๓ ข้อ แก่ธรรมบาล กุมารบุตรเศรษฐี ถึงเรื่องศรี หรือ สิริ ในเวลาเช้า กลางวัน และเย็นอยู่ที่ใด ในชั้นแรกธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ แต่เมื่อได้ฟังคำเฉลยจากนกอินทรีผู้สามี จึงสามารถตอบคำถามของกระบิลพรหมได้อย่างถูกต้อง กระบิลพรหม ตัดเศียรของตนตามที่ได้ให้สัญญา ธิดาทั้ง ๗ จึงนำพานมารองรับ และแห่ ประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุ เนื้อความข้างต้นนี้เป็นเรื่องที่รับรู้กันมา อย่างแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระองค์แรก ที่วิจารณ์ว่าเรื่องนี้ไม่น่าเชื่อถือ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่ทรงเชื่อถือเช่นกัน ถึงกับโปรดให้จารึกไว้ที่ศาลารายข้างหลังวัดพระเชตุพน วิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เรื่องของสิริและการถามปัญหาถึงกับมีเดิมพันถึงชีวิต ก็มีปรากฏอยู่ใน วรรณกรรมสมัยอยุธยา ที่เรียกว่า ปกรณัม ซึ่งมีที่มาจากนิทานอินเดีย และ เปอร์เซีย เป็นเรื่องเล่าแต่โบราณเป็นนิทานซ้อนนิทาน ปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องนี้ ก็คือ ปักษีปกรณัม ซึ่งมีนิทานซ้อนนิทานในลำดับที่ ๒๒ กล่าวถึง เทวพรหมาถามปัญหาเรื่องสิริกับโลกพรหมา โลกพรหมาไปได้คำตอบจากแม่ นกอินทรี เมื่อกล่าวโดยสรุปตำนานสงกรานต์ก็ไม่น่าจะมาจากพระบาลีฝ่าย รามัญ หากมาแต่เรื่องเล่าที่แพร่หลายในสมัยอยุธยาแล้ว ดังหลักฐาน ที่มีปรากฏในปักษีปกรณัม รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การออกแบบ การแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข ความโดยสรุปว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เป็นผู้ออกแบบเรือนไทยพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์ แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (เดิมคือ สถาบันการแพทย์แผนไทยซึ่งก่อตั้งโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ผู้เสนอโครงการการแพทย์แผนโบราณ) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มี ลักษณะเป็นเรือนไทยหมู่ ๙ หลัง ในพื้นที่ ๓๐ กว่าไร่ เป็นสถาปัตยกรรม เครื่องก่อ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และเป็นที่นิยมมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เรือนเครื่องไม้เครื่องสับเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช้ตะปูยึด เรือนรองรับน้ำหนักคนได้เป็นร้อยคน เรือนไทยมี ๓ ชั้นรวมทั้งชั้นที่อยู่ ใต้ดินด้วย ชั้น ๓ มีห้องนิทรรศการเกี่ยวกับความเป็นมาและวิวัฒนาการการ แพทย์แผนไทย ปรัชญาการแพทย์พื้นบ้าน มีห้องแสดงเครื่องยาประเภท ต่าง ๆ นอกจากนี้มีพื้นที่สำหรับนวดแผนไทย เรือนหมู่มีนอกชานระหว่างอาคารทั้ง ๙ หลัง บริเวณรอบ ๆ ปลูกสมุนไพร และทำสระน้ำ ปลูกบัวเพราะทุกส่วนของบัวใช้เข้ายาไทยได้ ทางซ้ายมือ เป็นหอเป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา มีฤๅษีชีวก และฤๅษี ๗ ตน เทพเจ้ายา มีพิธีไหว้ครูทุกปี เวลาจะไปไหว้พระจะมีบันไดแยกทางขึ้นข้างซ้ายข้างขวา ซ้ายมือเป็นแผนกอำนวยการ ขวามือเป็นแผนกแพทย์แผนไทย มีภัตตาคาร อาหารสมุนไพร และมีส่วนที่ขายยาสมุนไพรทั้งหมด มีห้องประชุมใหญ่จุคน ได้ประมาณ ๓๐๐ คน ชั้นล่างคล้ายเตาอั้งโล่ไม่ต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=