2722_5351

3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๖ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ทิศนา แขมมณี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ประชาคมอาเซียน ความโดยสรุปว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีการ รวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาและ เตรียมพร้อมเด็กและเยาวชนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงดำเนินงาน “โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน : Spirit of ASEAN” เพื่อพัฒนา โรงเรียนจำนวน ๖๘ โรง ให้เป็นศูนย์อาเซียนศึกษาหรือศูนย์การเรียนรู้ อาเซียนที่มีความพร้อมและศักยภาพในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคม อาเซียน รวมทั้งมีระบบการสื่อสารที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจัด แบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ ได้แก่ (๑) โรงเรียน Sister School เน้นเรื่อง ของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศที่ ๒ ที่เป็น ภาษาเพื่อนบ้าน (๒) โรงเรียน Buffer School เน้นการใช้ภาษาเพื่อนบ้าน และการศึกษาพหุวัฒนธรรม และ (๓) โรงเรียน ASEAN Focus School เน้นการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำหน่วยการเรียนรู้อาเซียน ศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานได้เสนอแนะแนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ไว้หลายแนวทาง ดังนี้ (๑) การจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (๒) การจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ (๓) การจัดการเรียนรู้โดยการ จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม (๔) การจัดการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (๕) และการจัดเป็นกิจกรรมเสริมของสถานศึกษา ในการวัดและประเมินผลผู้สอนควรยึดหลักและแนวทางดังต่อไปนี้ (๑) การวัดและประเมินผลทั้งทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ ต่าง ๆ รวมทั้งคุณธรรมและค่านิยม (๒) การวัดและประเมินผลทั้งเพื่อพัฒนา และเพื่อตัดสิน เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการ เรียนรู้ (๓) การวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ (๔) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน นอกจากนี้ ผู้สอนควรใช้วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสอบปากเปล่า การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การใช้คำถามให้ผู้เรียนคิด มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะบางประการที่ได้จากการวิเคราะห์แนวทาง และตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น มีดังนี้ (๑) สถานศึกษาใดที่มีความพร้อมและศักยภาพพอจะทำได้ ควรดำเนิน การจัดทำหลักสูตรเรื่องประชาคมอาเซียนเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยมีการ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในระดับที่เหมาะสม กับวัย (๒) ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้ สู่ประชาคมอาเซียน จัดเตรียมเนื้อหาสาระในเชิงลึกเกี่ยวกับประชาคม อาเซียนให้แก่ครูและ/หรือจัดการอบรมให้ความรู้เชิงลึกแก่ครู ซึ่งอาจต้องพึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (๓) การให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ นักเรียนวางแผนในการศึกษาค้นคว้า การอภิปราย การสอนแบบแยกย่อย เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงเรื่องย่อย ๆ ที่เรียนให้เห็นเป็น องค์รวมของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและมีผลกระทบต่อกัน และการสอนแบบองค์รวม ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังกล่าว นอกจากจะเป็นประโยชน์ ต่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนโดยตรงแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ เกี่ยวข้องกับงานการพัฒนาครูซึ่งสามารถนำไปใช้ในการช่วยเหลือครู โดยทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ของครู ให้มากขึ้นด้วย • วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ธรรมาภิ- บาลของธุรกิจในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองไทย หลังปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ความโดยสรุปว่า การพิจารณาปัญหา ธรรมาภิบาลจะต้องพิจารณาทั้งในภาครัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน ปัญหา ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งมี ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชน ในทาง เศรษฐศาสตร์ หลักธรรมาภิบาลเป็นระเบียบของสังคมที่กำกับควบคุม ให้การประกอบการทางเศรษฐกิจดำเนินอย่างตรงไปตรงมาและเป็นธรรม ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว เมื่อไม่มีสิ่งที่กำกับหรือ บังคับการทำงานให้อยู่ในแนวทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สังคมส่วนรวมแล้ว คนบางกลุ่มมักจะเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน อันเป็นที่มาของปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในสังคม ทำให้กลไกทางเศรษฐกิจและ การเมืองมิได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมและ เกิดปัญหาการขัดแย้งในสังคม ดังนั้น การแก้ปัญหาในสังคมจึงต้องยึดหลัก ธรรมาภิบาลในการกำกับหรือควบคุมการทำงานของคนทุกกลุ่มทั้งในทาง เศรษฐกิจและทางการเมือง โดยเริ่มต้นจากการให้ประชาชนทุกคนเข้าใจถึง สิทธิและหน้าที่ต่อสังคมส่วนรวม เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข และมีความเจริญก้าวหน้า ผู้นำของสังคมต้องเป็นฝ่ายริเริ่มดำเนินการและ เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม ขณะเดียวกันประชาชนต้องมีความตื่นตัวและมี ส่วนร่วมในการทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทยหลัง พ.ศ. ๒๕๕๐ ปรากฏว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ในทางตรงกันข้าม ปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองกลับมีความยุ่งยากซับซ้อนทำให้สังคมมีความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ถ้าทุกฝ่ายต่างใช้ทิฐิและผลประโยชน์ของตนเป็นแนวทางแก้ปัญหาจะทำ ให้เกิดความเสียหายได้มาก แต่ถ้าใช้หลักวิชาการและเหตุผลรวมถึงการ ประนีประนอมแก้ปัญหาก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ คือแก้ปัญหาทางการเมือง ด้วยการใช้หลักการประชาธิปไตย ป้องกันเผด็จการทางเมืองด้วยระบบเสียง ข้างมาก และแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยอาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ของกลไกทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันปัญหาความขัดแย้งในสังคม ต้องแก้ไขด้วยกระบวนยุติธรรมที่เข้มแข็งและยุติธรรม ศ. ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แนวทางสู่ ความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ความโดยสรุปว่า บทความศึกษาวิจัยเอกสารและ ประสบการณ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบัญญัติ ๑๐ ประการ ของแนวทางสู่ความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน รายละเอียดของบทความวิจัยประกอบด้วย เหตุผลและความ จำเป็นในการจัดระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา เจตนารมณ์ของหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา สาระบัญญัติตามมาตรา ๔๗ ถึงมาตรา ๕๑ การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาภายใน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การยกตัวอย่างระบบประกันคุณภาพภายในและ มาตรฐานการศึกษาของวชิราวุธวิทยาลัย ความจำเป็นในการแสวงหา แนวทางสู่ความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร และผลการวิจัย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=