2721_8517
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ ถาม คำว่า กำปั่น มีความหมายว่าอะไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า กำปั่น ซึ่งเป็นคำนาม ไว้ ๓ ความหมาย ดังนี้ ความหมายที่ ๑ หมายถึง เรือ เดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบ ในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสําหรับผูกสายใบ มีเสา กระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟ โดยใช้เดินด้วยกําลังเครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานีว่า capel). ความหมายที่ ๒ หมายถึง หีบทําด้วยเหล็กหนา สําหรับ ใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทําเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสําหรับ ใส่กุญแจเดิมทําเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว. ความหมายที่ ๓ หมายถึง ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. ถาม คำว่า ขเบ็ต, เขบ็ต และ เขบ็ด คำใดเขียนถูกต้อง และมีความหมายอย่างไร ตอบ คำที่เขียนถูกต้องคือ เขบ็ต เป็นคำนาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึก เสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น. ถาม คำว่า แขกไม่ได้รับเชิญ มีความหมายอย่างไร ตอบ คำว่า แขกไม่ได้รับเชิญ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นสำนวนที่เป็นคำนาม มีความหมายว่า คนหรือสัตว์ที่ไม่พึง ปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้น แขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา. ถาม คำว่า ค่ายเยาวชน และ ค่ายอาสาพัฒนา มีความหมายอย่างไร ตอบ คำว่า ค่ายเยาวชน และ ค่ายอาสาพัฒนา เป็นคำนาม ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า ค่ายเยาวชน หมายถึง สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการดํารงชีวิต เป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จัก ระเบียบวินัย. ส่วน ค่ายอาสาพัฒนา หมายถึง ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกัน บําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน. ถาม คำว่า อุ่นกายสบายใจ, อุ่นเครื่อง, อุ่นใจ, อุ่นหนาฝาคั่ง และ อุ่นอกอุ่นใจ มีความหมายอย่างไรบ้าง ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำ เหล่านี้ ดังนี้ อุ่นกายสบายใจ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความรู้สึกสุขสบาย ทั้งกายและใจ. อุ่นเครื่อง เป็นคำกริยา หมายถึง เดินเครื่องยนต์ไว้จนถึง ระดับที่เครื่องจะทํางานได้ดี; ออกกําลังกายหรือฝึกซ้อมชั่วขณะก่อนเริ่ม การแข่งขัน, ฝึกซ้อมก่อนแข่งขันจริง. อุ่นใจ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความรู้สึกสบายใจขึ้น, มีความมั่นใจ, ไม่มีกังวล, เช่น มีเงินมากอยู่ใน กระเป๋าทำให้อุ่นใจ. อุ่นหนาฝาคั่ง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มั่นคง, มีหลักฐาน เป็นที่พักพิงมั่นคง, เช่น มีฐานะอุ่นหนาฝาคั่ง; มากมายคับคั่ง เช่น งานนี้ มีผู้คนมาอุ่นหนาฝาคั่ง. อุ่นอกอุ่นใจ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความรู้สึก สบายอกสบายใจและมีความมั่นใจขึ้น เช่น อยู่ใกล้ ๆ ผู้ใหญ่รู้สึกอุ่นอกอุ่นใจ. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม ราชบัณฑิตยสถาน นางนัยนา วราอัศวปติ เลขานุการกรม นายอภิเดช บุญสงค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=