2721_8517
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ๑. จะต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะเมื่อมีความไว้วางใจกันและกันแล้ว ก็จะนำไปสู่ความสุขใจความสบายใจ มีสุขภาพ จิตที่ดี ซึ่งทางจิตวิทยาถือว่า เป็นพลังด้านจิตใจ นำไปสู่ความสำเร็จในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลถึงลูก ถึงหน้าที่การงาน หรือถึง บุคคลทุกคนที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย มีตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพได้เป็นรูปธรรม คือมีการเปรียบครอบครัวที่อบอุ่นด้วยความรัก เป็นเสมือน “สนามบิน” สมาชิกในครอบครัว เปรียบเสมือนนักบินที่บินออกไปทำธุระของตนทุกวัน แต่ถึงเวลาก็ต้องกลับลง สนามบินเดิม สนามบินก็มีหน้าที่ตรวจเช็คเครื่องให้สมบูรณ์ เติมน้ำมัน ทำความสะอาด พร้อมที่จะให้นักบินนำเครื่องออกเดินทาง ได้อีก นอกจากนี้ ขณะที่นักบินกำลังบินอยู่ก็ยังมีการติดต่อกับสนามบิน แต่เป็นที่น่าเสียดายบางครอบครัวไม่ได้ทำตัวเป็นสนามบินที่ดี ไม่ให้เป็นที่ไว้วางใจ ด้วยเหตุนี้นักบินต้องหาสนามบินอื่นลง หรือเด็ก ๆ กระเจิดกระเจิงไปคนละทาง เพราะฉะนั้นขอฝากตัวอย่างนี้ไว้เป็น เครื่องเตือนใจว่า ความไว้วางใจที่แต่ละฝ่ายมีต่อกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในอันที่จะช่วยจรรโลงความรัก ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นได้ ในครอบครัว นำไปสู่ความสุข นำไปสู่ความมั่นคง และสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพให้กับสังคมไทย ๒. ให้กำลังใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกระตุ้นหรือเสริมแรงให้ไปสู่จุดหมาย ปลายทางได้ ในกรณีที่ผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงานหรือภารกิจส่วนตัว การได้รับกำลังใจจะทำให้เกิดความหวังที่จะเริ่มต้นกันใหม่ การให้กำลังใจทำได้ในหลายรูปแบบคือ อาจจะเป็นด้วยคำพูดหรือเป็นการแสดงกิริยาท่าทาง ให้เห็นถึงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุน การแสดงออกให้เห็นถึงการเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจ เป็นต้น ๓. ให้อภัยซึ่งกันและกัน ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า “ความผิดพลาด ย่อมเกิดขึ้นได้” เมื่อเกิดขึ้นแล้วใช้ความผิดพลาดนั้น กลับมาเป็น “ครู” เป็นประสบการณ์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีก ๔. การสื่อสารกันในครอบครัว ต้องรู้จักวิธีการสื่อสารในครอบครัว รู้จักใช้คำพูดที่นุ่มนวล หรือใช้ปิยวาจา ในบางครั้งอาจไม่จำเป็น ที่จะต้องใช้คำพูด อาจใช้อากัปกิริยา หรือสายตาบ่งบอกให้เห็นเข้าใจถึงความรัก ความห่วงใยต่อกันและกัน ปิยวาจาเป็นการใช้คำพูดที่นุ่มนวล แสดงออกถึงความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงออกถึงความเมตตาที่เพิ่มพลัง ให้ในจิตใจ การใช้ปิยวาจาในครอบครัวจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากการให้เวลาแก่กันและกันแล้ว ต้องใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณภาพ เพราะปัจจุบันนี้เราแทบไม่มีเวลาเหลือให้กันและกัน ถึงแม้ครอบครัวจะเป็นครอบครัวเล็ก หรือที่เรียกว่า ครอบครัวเดี่ยว ก็ตาม แต่เสมือน อยู่ใกล้กันกลับไม่ค่อยมีเวลาได้พบปะกัน ฉะนั้น เวลาอันน้อยนิดที่มีอยู่ควรต้องใช้ให้คุ้มค่า นอกจากนี้ ควรจะต้องปรับตัวรับสภาพ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลตามวัย ไม่ใช่แต่งงาน ภรรยาสวยน่ารัก และเราจะให้ภรรยาสวยอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา ย่อมเป็นไปไม่ได้ ธรรมชาติต้องแก่ เมื่อแก่ความสวยลดลงกลับใช้คำไม่เหมาะสมเรียก “อีแก่” ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เราควรปรับตัวรับสภาพ การเปลี่ยนแปลงของคู่สมรส ซึ่งถ้าทำได้ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น อยู่กันอย่างมีความสุข อีกประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ต้องรู้จักภาระหน้าที่ หรือรู้จักรับผิดชอบต่อบทบาทของแต่ละฝ่ายในครอบครัว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าดูดาย รู้บทบาทของตนเอง หากไม่ต้องการให้ภรรยาพูดมาก บ่นมาก ให้เล่นบทบาทให้ถูก หรือภรรยา หากไม่ต้องการให้สามีพูดมาก หรือไม่ต้องการให้สามีออกไปเที่ยว นอกบ้าน ก็ควรทำตัวให้น่ารัก ลดการบ่น การต่อว่า หรือการวิพากษ์วิจารณ์กัน ความรักความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น กลายเป็นครอบครัวที่เข้าใจ และรู้จักการครองรักครองเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลไปถึงสมาชิกตัวน้อย ๆ ของครอบครัวให้เติบโต ขึ้นมามีสุขภาพจิตที่ดี อนึ่ง เรื่องความใกล้ชิดและการสัมผัสซึ่งกันและกันมีความจำเป็นมาก ส่วนใหญ่คนไทยยังขาดอยู่มาก ขอให้มีการโอบกอดกันบ้าง หยอกล้อกันบ้าง หอมแก้มกันบ้าง เดินจูงมือกันบ้าง เพราะยิ่งอยู่นานกันเท่าไร สิ่งเหล่านี้ยิ่งเพิ่มความจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะ ผู้หญิงยิ่งอายุมากยิ่งขึ้นยิ่งต้องการมาก เพราะจะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าอยู่ หากสามีจูงมือบ้าง โอบกอดบ้างสามี หยอกล้อบ้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ฝ่ายหญิงมีความเชื่อมั่นในความสำคัญของตัวเอง มนุษย์หากมีความเชื่อมั่นในความสำคัญของตนเองแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ด้านความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจก็จะไม่เกิดขึ้น ขอฝากแนวคิดเพื่อการปฏิบัติสำหรับพัฒนาความรัก ความอบอุ่นเพื่อนำไปสู่ การมีครอบครัวที่มั่นคงไว้ว่า ... ความรักเป็นศิลปะ ต้องมีการฝึก ต้องมีการเรียนรู้ การที่จะให้ศิลปะมีผลสำเร็จ ต้องฝึกต้องเรียนรู้ ต้องอดทนและต้องสอดแทรก อารมณ์ร่วมไปด้วย ... ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประธานคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=