2721_8517
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๔๘ พบข้อมูลในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ (NIO) มีอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น ๐.๓ องศาเซลเซียส ข้อมูลในมหาสมุทร อินเดียตอนใต้ (SIO) มีอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น ๐.๗ องศา เซลเซียส ข้อมูลในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก (WPAC) มีอุณหภูมิผิวน้ำ มหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น ๐.๔ องศาเซลเซียส ข้อมูลในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ (SPAC) มีอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น ๐.๕ องศาเซลเซียส ข้อมูล ในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก (EPAC) มีอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทร เพิ่มสูงขึ้น ๐.๕ องศาเซลเซียส และข้อมูลในมหาสมุทรแอตแลนติกตอน เหนือ (NAO) มีอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น ๐.๖ องศาเซลเซียส นักอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกที่ติดตามเรื่องพายุโซนร้อนต่างมีความเห็นชี้ชัดเจนว่า ผลจากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้พายุโซนร้อนมีแนวโน้มที่เพิ่มจำนวนและมี ความรุนแรงมากขึ้นเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศฟิลิปปินส์ มีจำนวนพายุเพิ่มมากขึ้นจากค่าเฉลี่ยประมาณ ๒.๘ ลูก ต่อปี เป็นประมาณ ๔.๒ ลูกต่อปีในปัจจุบัน ผลกระทบของสภาวะโลกร้อนต่อพายุโซนร้อนนั้นไม่ได้มีเฉพาะในพื้นที่ เสี่ยงสูงเท่านั้น พบว่าในบางพื้นที่ที่ในอดีตไม่เคยได้รับผลกระทบจากพายุ โซนร้อนกลับมีพายุพัดผ่านทำความเสียหายอย่างมากมหาศาล เช่น กรณีพายุ เฮอร์ริเคนแซนดา พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งเมืองนิวยอร์ก สำหรับ ประเทศไทยพบว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นจากอิทธิพลพายุโซนร้อนที่เพิ่มมากขึ้น หลายเท่าตัว โดยเฉพาะพายุโซนร้อนที่มีจุดก่อกำเนิดในบริเวณทะเลจีนใต้ เช่น กรณีพายุไต้ฝุ่นเกย์ พ.ศ. ๒๕๓๒ และพายุลินดา ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังนั้น ประเทศไทยควรให้ความสำคัญต่อการศึกษาผลกระทบของสภาวะโลกร้อน กับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและพายุโซนร้อน เพื่อเตรียมความพร้อมในการ รับมือกับพิบัติภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันจะเป็นการช่วยลดความเสียหาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประเทศไทยต่อไป ศ. ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ส้วม : ปัญหา ประเด็น ด้านเทคโนโลยี สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ความโดยสรุปว่า ปัจจุบันประชากรในประเทศกำลังพัฒนากว่า ๒๐,๐๐๐ ล้านคน นอกจาก จะไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะใช้ในการขับถ่ายแล้ว ยังคงใช้งานระบบบำบัด ของเสียจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล เนื่องจากส่วนใหญ่ยังคง ใช้บ่อเกรอะ (septic tank) ที่ไม่ได้กันซึมหรือใช้ถังซึม (cesspool) ซึ่งมี ประสิทธิภาพในการบำบัดสารมลพิษต่ำ และไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อน อยู่ในของเสียดังกล่าวได้ ของเสียที่ถูกกักอยู่ระบบเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “สิ่งปฏิกูล” จะไหลต่อไปในแหล่งน้ำใกล้เคียง ทำให้เกิดการปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลองและน้ำใต้ดิน โดยในสิ่งปฏิกูลจะมีเชื้อโรคอยู่หลากหลายประเภท ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และไข่พยาธิ โดยเชื้อโรคดังกล่าวเหล่านี้ ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งจาก สถิติด้านสาธารณสุขระบุว่า โรคท้องร่วงที่เกิดขึ้นทั่วโลกเกือบร้อยละ ๙๐ มีสาเหตุมาจากปัญหาส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ น้ำอุปโภคบริโภคที่ไม่สะอาด โดยประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเสียชีวิตจากเชื้อโรคที่มาจากสิ่งปฏิกูล ประมาณ ๑๗ ล้านคนต่อปี กอปรกับประชากรในประเทศกำลังพัฒนายังคง เพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัญหาสุขภาพและมลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการ ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและระบบการบำบัดที่มีประสิทธิภาพต่ำ รวมถึงการ รวบรวมสิ่งปฏิกูลซึ่งมีความเข้มข้นของสารมลพิษสูงและมีเชื้อโรคสะสม ในปริมาณมาก ๆ และไม่มีระบบที่เหมาะสม ก็จะทำให้ปัญหาทวีความรุนแรง ขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับปัญหาภัยพิบัติอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งจะส่ง ผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และความมั่นคงของ ประเทศและภูมิภาคในวงกว้าง จากปัญหาดังกล่าว โครงการพัฒนาส้วม ยุคใหม่ที่มีเป้าหมายในการกำจัดเชื้อโรคและกลิ่นในสิ่งปฏิกูล รวมทั้งสามารถ ใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารในสิ่งปฏิกูล เช่น การผลิตแก๊สเชื้อเพลิง ผลิต ไฟฟ้า ผลิตถ่านอินทรีย์เพื่อการเกษตรกรรม ตัวอย่างส้วมยุคใหม่ที่กำลัง พัฒนา เช่น ส้วมผลิตไฟฟ้า ส้วมไมโครเวฟ ส้วมอุณหภูมิสูง สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ตะวันออก ในตะวันตก : การรับพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมและดนตรีเยอรมัน ยุคต้นสมัยใหม่ ความโดยสรุปว่า ดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธ- ศาสนา คือ ประเทศอินเดีย เป็นเวลาหลายร้อยปีที่พระพุทธศาสนาเจริญ แผ่ขยายในดินแดนนี้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวยุโรปกับศาสนาและวัฒนธรรม อินเดียมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคโบราณ (Antike) ของยุโรป การเดินทาง ของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์แห่งมาซิโดเนียสู่อินเดียประมาณ ๓๒๗-๓๒๕ ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นครั้งแรกที่คนยุโรปได้เข้ามาสัมผัสแหล่งอารย- ธรรมอันยิ่งใหญ่ของอินเดีย ในยุคกลาง ชาวยุโรปเริ่มรู้จักและรับรู้เรื่องราวของพระพุทธศาสนา อย่างจริงจังประมาณช่วงปลายของยุคกลางในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ แต่อันที่จริง เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายในยุโรปก่อนหน้านี้แล้วในรูป ของตำนานและเรื่องเล่า เช่น เรื่อง “จอกศักดิ์สิทธิ์” ในวรรณกรรมเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ของ วิลเฮล์ม ฟอน รูบรุค และวรรณกรรมเดินทางของมาร์โค- โปโล ในกวีนิพนธ์เยอรมันของรูดอล์ฟ ฟอน เอมส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ กล่าวถึงประเทศอินเดียว่า เป็นดินแดนมหัศจรรย์ที่อุดมด้วยสมบัติล้ำค่า ราวเทพนิยาย เป็นดินแดนบริสุทธิ์ กอปรด้วยศีลธรรมเหนือดินแดนยุโรป ที่เต็มไปด้วยบาป ความชื่นชอบในประเทศอินเดียและศาสนาของตะวันออก ดังกล่าวนับเป็นการปูทางสู่หลักการของกวีนิพนธ์กึ่งศาสนาในยุคโรแมนติก ในยุโรป โดยเฉพาะในดินแดนเยอรมนีอันเป็นช่วงเวลาที่คนเยอรมันหันมา สนใจอินเดียและพระพุทธศาสนาผ่านงานวรรณศิลป์และศาสนา สืบเนื่อง มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มิใช่แต่ในงานวรรณศิลป์ แต่ในปรัชญาของอาทัว โชเปนเฮาเออร์ ที่มีอิทธิพลต่องานวรรณกรรมและ ดนตรีในยุคต้นสมัยใหม่ในเยอรมนีและในยุโรปอย่างมาก ชาวยุโรปรู้จักและสนใจเรื่องราวของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อย่างไร ในแง่ใดและเพียงใด เรื่องนี้ได้มีนักวิชาการชาวเยอรมันค้นคว้าไว้ ค่อนข้างมาก เรื่องราวต่อไปนี้น่าจะพอเป็นคำตอบได้ถึงเส้นทางของพระพุทธ- ศาสนาและแนวคิดจากตะวันออกสู่ตะวันตก และอาจจะเป็นคำตอบสำหรับ ข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดชาวเยอรมันจึงสนใจพุทธศาสนามากเป็นพิเศษกว่า ชาวยุโรปชาติอื่น ๆ ในหลายกรณีอีกด้วย ศ.ไขแสง ศุขะวัฒนะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เปียโน ความโดยสรุปว่า เปียโน หรือ เปียโนฟอร์เต เป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด วิวัฒนาการมา จากคลาวิคอร์ด และฮาร์ปซิคอร์ด บาร์โตลอมเมโอ คริสโตโฟรี (Barto- lommeo Christofori) ชาวเมืองฟลอเรนซ์ ได้ประดิษฐ์เปียโน เมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๒ โดยดัดแปลงจากฮาร์ปซิคอร์ด เปียโนมีระบบการเกิดเสียงด้วยการ กดนิ้วบนแป้นนิ้ว (keyboard) ทำให้กลไกที่เป็นลูกค้อนเคาะเส้นลวดทำให้ เส้นลวดสั่น เกิดเสียง และเมื่อนำนิ้วออกจากแป้นนิ้วจะมีตัวหยุดเสียง (damper) ประกบสายไม่ให้สั่นทำให้เงียบ เปียโนในสมัยแรกเรียก “gravicembalo col piono e forte” ซึ่งแปลว่า ฮาร์ปซิคอร์ดที่ส่งเสียงดัง และเบาได้ ต่อมานิยมเรียกว่า piano forte และเรียกสั้น ๆ ว่า piano เปียโนมี ๒ แบบ คือ อัปไรต์เปียโน (upright piano) เป็นเปียโนที่เส้นลวด ตั้งฉากกับพื้น นิยมวางให้ด้านหลังติดกับฝาผนังห้อง และแกรนด์เปียโน เป็นเปียโนที่มีเส้นลวดขนานกับพื้น มีหลายขนาดและเรียกชื่อต่างกัน ตามขนาด ได้แก่ เบบีแกรนด์ บูดัวแกรนด์ และคอนเสิร์ตแกรนด์ เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหลาย คือ ใช้บรรเลงเดี่ยวและใช้บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้ ในตอนท้าย ผู้บรรยายได้แนะนำเครื่องหมายการค้าของเปียโนที่มีคุณภาพและแหล่งผลิต • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นายวิทย์ พิณคันเงิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อิทธิพลสำคัญ ต่อการสร้างสรรค์ศิลปะ ความโดยสรุปว่า อิทธิพลสำคัญต่อการสร้างสรรค์ ศิลปะ ได้แก่ อิทธิพลในทางศิลปะ อิทธิพลด้านความคิด อิทธิพลทางสภาพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=