2721_8517
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจส่งผลให้สังคมอเมริกันกลายเป็นสังคมเมือง ประชากรส่วนใหญ่ย้ายไปอาศัยในเมืองใหญ่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการจ้างงานหลากหลาย และมีเสรีภาพ มีการขยายตัวของย่านชานเมือง และเมืองบริวารซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชั้นกลางที่มีฐานะมั่นคง ชาวอเมริกันมีวิถี ชีวิตอิสระ ดำเนินชีวิตตามกระแสวัตถุนิยม โดยให้ความสำคัญกับรถยนต์ เป็นอันดับแรก เพราะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่เชิดหน้าชูตาในสังคม สตรีอเมริกันมีบทบาทมากขึ้นในสังคม มีการยอมรับสถานะทางการเมือง ของสตรีอเมริกันตามรัฐธรรมนูญให้สตรีมีสิทธิเลือกตั้งได้ มีการเติบโต ของวัฒนธรรมราษฎร์อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรีแจ๊ส และวรรณกรรมอเมริกัน อย่างไรก็ดี การเติบโตของสังคมอเมริกันทำให้เกิด ช่องว่างทางสังคมระหว่างเมืองกับชนบท ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิต ค่านิยม และความเชื่อ ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทั้งความขัดแย้งเกี่ยวกับความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคม และความขัดแย้ง ที่เกิดจากอคติและผลประโยชน์ ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ซึ่งได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองมีทัศนะ ในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจ เสรีและไม่เข้าไปควบคุมการบริโภคที่อิงอยู่กับระบบสินเชื่อที่ไม่มีขอบเขต ทำให้ใช้เงินเกินกำลังของตน จึงหันไปแสวงหาวิธีรวยทางลัดด้วยการ เก็งกำไรในตลาดหุ้น หรือซื้อหุ้นในลักษณะสินเชื่อ เมื่อราคาหุ้นดิ่งลงอย่าง รวดเร็ว ทำให้นักลงทุนพากันล้มละลาย คนที่ดำรงชีวิตด้วยระบบสินเชื่อเกิด สภาพหนี้สูญจำนวนมาก ส่งผลต่อสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ต่าง ๆ ปิดตัวลง มีคนว่างงานเพิ่มขึ้น ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญปัญหา เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซึ่งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และใช้เวลานานถึง ๑๐ ปี กว่าจะบรรเทาปัญหาลงได้ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สนิท อักษรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การพัฒนาป่าไม้ ไทย ... สู่ความมั่นคงและยั่งยืน ความโดยสรุปว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขต ที่มีความเหมาะสมทั้งทางสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ และมีพื้นที่ ติดชายฝั่งทะเลและบนบก จึงทำให้ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติหลายประเภท โดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งประเทศไทยมีป่าไม้ เกือบทุกชนิด ตั้งแต่พื้นที่ชายฝั่งทะเลไปสู่ยอดเขา เช่น ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าไม้สัก ป่าไม้สน ป่าดิบเขา สภาพป่าไม้ของประเทศตั้งแต่อดีตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งความ อุดมสมบูรณ์และเนื้อที่ป่า กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ และมีเนื้อที่ถึง ๑๙๒ ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ของประเทศ ช่วงที่มีการทำลายป่าไม้ของประเทศในอัตราสูงสุด คือ พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๓๐ พบว่า พื้นที่ป่าบกและป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลายลงในอัตรา ค่อนฃ้างสูง คือ พื้นที่ป่าไม้เหลือเพียงร้อยละ ๒๘ ของพื้นที่ทั้งประเทศ เท่านั้น จนเริ่มต้นในปลาย พ.ศ. ๒๕๓๐ พื้นที่ป่าไม้ของประเทศเริ่มมีปริมาณ เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นยุคของการปลูกและฟื้นฟู โดยได้รับความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนทำให้พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งคาดหวังว่าในอนาคต ข้างหน้าประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๐ พื้นที่ป่าไม้อาจจะเพิ่มขึ้นถึง ๑๒๘ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ที่กำหนดไว้ว่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่มี ปริมาณเหมาะสมที่จะสร้างความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศ การพัฒนาป่าไม้ไทยสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนได้จะต้องพัฒนาบนพื้นฐาน ๕ ทิศทางหลัก คือ (๑) ทิศทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (going to sustainability) (๒) ทิศทางสู่เส้นทางสีเขียว (going to green) (๓) ทิศทาง สู่การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาชาวบ้าน (going to cultural) (๔) ทิศทางสู่การจัดการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติและสมดุล ธรรมชาติ (going to peace) และ (๕) ทิศทางสู่ความร่วมมือระดับภูมิภาค และระดับโลก (going to regional/globalization) การขับเคลื่อนไปสู่ ความสำเร็จนี้ได้ รัฐและทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสนใจและให้ความร่วมมือ รวมถึงลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ศ. ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การ สังเคราะห์ไมโครแคปซูลของน้ำมันยูคาลิปตัสโดยกลาสเมมเบรนอิมัล- ซิฟิเคชัน (Synthesis of microcapsules of eucalyptus oil via glass membrane emulsification) ความโดยสรุปว่า โครงการวิจัยนี้ ได้ศึกษาการสังเคราะห์แอลจิเนตไมโครแคปซูลห่อหุ้มน้ำมันยูคาลิปตัสและ การปลดปล่อยแบบควบคุมด้วยวิธี Shirasu Porous Glass Membrane Emulsification โดยเลือกใช้กลาสเมมเบรนขนาดรูพรุน ๕.๒ ไมโครเมตร สารห่อหุ้มคือ โซเดียมแอลจิเนต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์เป็นสารเพิ่ม ความเสถียรแก่อิมัลชัน และโซเดียมโดเดกซิลซัลเฟตเป็นสารลดแรงตึงผิว สารทั้งหมดนี้อยู่ในวัฏภาคต่อเนื่อง ส่วนสารผสมระหว่างน้ำมันยูคาลิปตัส พาราฟินเหลว กับปิโตรเลียมอีเทอร์ เป็นวัฏภาคกระจาย ถูกผลักผ่านรูพรุน ของเอสพีจีเมมเบรนสู่วัฏภาคต่อเนื่องโดยการควบคุมความดันของแก๊ส ไนโตรเจนให้คงตัวเพื่อก่อเป็นอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ แปรความเข้มข้น ของสารห่อหุ้มโซเดียมแอลจิเนต ความเข้มข้นของน้ำมันยูคาลิปตัส เพื่อ ศึกษาผลต่อขนาดอนุภาคและค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน พบว่า อิมัลชัน ที่เตรียมได้มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย ๓๓± ๕.๖ ไมโครเมตร และค่าสัมประสิทธิ์ ความแปรปรวนร้อยละ ๑๗.๑ ที่ความเข้มข้นของโซเดียมแอลจิเนตร้อยละ ๐.๑ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และความเข้มข้นของน้ำมันยูคาลิปตัสร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร เมื่อได้อนุภาคที่เสถียรแล้ว ค่อย ๆ หยดสารละลายแคลเซียม คลอไรด์ลงในวัฏภาคต่อเนื่องเพื่อเชื่อมขวางอนุภาคที่มีน้ำมันยูคาลิปตัส อนุภาคของไมโครแคปซูลมีขนาดเล็กลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารเชื่อมขวาง และเวลาเชื่อมขวาง ความเข้มข้นของสารเชื่อมขวางที่เหมาะสมที่สุด คือ ร้อยละ ๑ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และเวลาเชื่อมขวาง ๓๐ นาที พบว่า ไมโครแคปซูลมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย ๓๐.๕± ๖.๙ ไมโครเมตร และค่าสัมประสิทธิ์ ความแปรปรวนร้อยละ ๒๒.๕ ศึกษาการปล่อยน้ำมันยูคาลิปตัสจากไมโคร แคปซูลที่อุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส พบว่า ไมโครแคปซูลมีการปล่อย น้ำมันยูคาลิปตัสออกจากไมโครแคปซูลได้ช้าลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ สารเชื่อมขวางและเวลาเชื่อมขวาง ไมโครแคปซูลเหล่านี้มีประสิทธิภาพ ในการกักเก็บน้ำมันยูคาลิปตัสได้มากสุดร้อยละ ๘๘.๒ ใช้เวลาในการปล่อย นาน ๑๐ วัน • วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและพายุโซนร้อน ในประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกในอนาคต อาจจะทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวโลกสูงขึ้นอีก ๒-๔ องศาเซลเซียส ภายใน พ.ศ. ๒๖๔๓ อันจะส่งผลให้ปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุม ในรูปต่างๆ ทั้งบริเวณขั้วโลกและที่ต่าง ๆ ทั่วโลกละลายลงอย่างมากมาย สู่มหาสมุทร ทำให้ระดับน้ำทะเลในอนาคตอาจเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกอีก ๓๐-๖๐ เซนติเมตร ซึ่งในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีพื้นที่ติดริมชายฝั่งทะเล กำลังให้ความสนใจกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคต สิ่งบอก เหตุที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลทั่วโลกพบเห็นในช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมา คือ ทุกประเทศกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งกันอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าอย่างน้อยร้อยละ ๖๐ ของแนวชายฝั่งทั่งโลก กำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง สำหรับประเทศไทยพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลถูกกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ ๗๙,๗๒๕ ไร่ ตลอดความยาว ของแนวชายฝั่งทะเลทั้งประเทศ ประมาณ ๒,๖๖๗ กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพายุโซนร้อนที่เกิดขึ้น ทั่วโลก พบว่าสภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้นนั้น ส่งผลให้ อุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรทั่วโลกสูงขึ้นด้วย ข้อมูลจากการตรวจวัดอุณหภูมิ ผิวน้ำมหาสมุทรเฉลี่ยทุก ๕ ปีของทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าในช่วง ๓๕ ปีที่ผ่านมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=