2720_6364
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ในครอบครัวอยู่ด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร และคอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บ้านนั้นจัดได้ว่าเป็นบ้านพรหม สอดคล้อง กับอีริก โฟรมม์ (Erich Fromm) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันซึ่งได้ให้แนวคิดว่าพฤติกรรมที่แสดงความรักจะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ ๑. care คือต้องมีการเอาใจใส่ดูแล และมีความเอื้ออาทรต่อกัน ๒. knowledge คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวเข้าใจกัน รู้อุปนิสัยใจคอของกันและกัน ๓. respect คือการให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สำหรับสามีและภรรยาจะลดปัญหาในบ้านได้ดี ถ้าสมาชิกในครอบครัว ยึดหลักว่า “เมื่อแสดงความเคารพผู้ใด ก็จะได้รับการเคารพตอบ” ๔. responsibility คือความรับผิดชอบ ทุกคนในครอบครัวจะต้องฝึกการรับผิดและรับชอบ ลูก ๆ ควรได้รับการฝึกความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ความรับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัวมาตั้งแต่เล็ก ตามทัศนะของโฟรมม์ ถ้าครอบครัวมีความรัก จะนำไปสู่ความสุขในที่สุด การทะเลาะกันไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อใคร การสื่อสารในขณะที่มี อารมณ์โกรธ ปัญญาจะหายไป ควรสงบอารมณ์โกรธให้ได้เสียก่อนแล้วจึงสื่อสารกันด้วยเหตุผล เมื่อเข้าใจกันแล้ว ควรให้อภัยซึ่งกันและกัน และควรช่วยกันหาทางป้องกันไม่ให้ปัญหานั้น ๆ เกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ ครอบครัวควรมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในวันหยุดเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้น หรือกระชับความสัมพันธ์ ให้อบอุ่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปัญหาต่าง ๆ ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน บางครอบครัวกำหนดให้สมาชิกทุกคนรับประทานอาหารเย็น ร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดสนิทสนมและมีความอบอุ่นเพิ่มมากขึ้น บัญญัติ ๑๐ ประการที่จะทำให้สมาชิกในบ้านมีความสุข หรือเป็นครอบครัวที่มีความสุขดังนี้ ๑. เลือกที่จะทำให้บ้านมีความสุข หรือตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข จากตัวเอง ๒. แสดงลักษณะยิ้มแย้ม แจ่มใส หรือแสดงให้เห็นว่าตนเองมีความสุข ถ้าบุคคลในครอบครัวยิ้มแย้ม แจ่มใสเข้าหากัน ไม่ทำหน้าบึ้ง หรือพูดจาปราศรัยด้วยภาษาดอกไม้ คนในครอบครัวจะมีสุขภาพจิตที่ดี มีอารมณ์ผ่อนคลาย ไม่เครียด ๓. มีการสื่อสารที่สุภาพและเข้าใจชัดเจน ๔. ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ๕. สร้างบรรยากาศในบ้านให้มีชีวิตชีวา ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเกิดการทะเลาะวิวาท ๖. ควรสร้างความภาคภูมิใจให้แก่สมาชิกในครอบครัว นั่นคือเมื่อสมาชิกผู้ใดทำอะไรที่ดี หรือได้รับการยกย่อง หรือได้รับรางวัล ๗. ควรหาเวลาสงบทางใจโดยการไปทำบุญที่วัด สร้างเจตคติที่ดีต่อศาสนา ๘. พ่อแม่ควรเป็นผู้ให้บริการปรึกษาแก่ลูก ๆ ทุกคน โดยเมื่อใดที่ลูกมีปัญหาพ่อแม่จะต้องวางทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อฟังลูกและให้การ ปรึกษาทันที ๙. สมาชิกทุกคนในครอบครัวจำเป็นต้องฝึกการรู้จักที่จะควบคุมตนเอง ๑๐. ควรสร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้นในครอบครัว บุคคลที่มีอารมณ์ขันจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีเสน่ห์ อยู่กับใครก็จะทำให้คนนั้นมีความสุข ดังนั้น ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีอารมณ์ขัน เชื่อได้ว่าครอบครัวนั้นมีความสุขแน่นอน ความสุขในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ การศึกษาในเรื่องความสุขของคน แต่ละประเทศ ต้องพิจารณาเรื่องค่านิยมและวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เช่น ในบางประเทศมีค่านิยมชายเป็นใหญ่ การให้เกียรติผู้หญิง การอยู่ก่อนแต่ง โดยพบว่าประเทศในแถบสแกนดิเนเวียจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้สามารถพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันหญิงชายมีความเท่าเทียมกัน โดยในครอบครัวนั้นแม่ต้องสอนลูกตั้งแต่วัยเยาว์ให้รู้จักหน้าที่และการช่วยเหลือ งานในบ้าน ไม่ดูดาย ผู้หญิงและผู้ชายต้องมีความรับผิดชอบเหมือนกัน สุดท้ายคือ เรื่องคุณภาพของคน ต้องส่งเสริมให้คนในสังคมพัฒนา และให้ความสำคัญกับคุณภาพของคนมากกว่าที่เป็นอยู่ รศ. ดร.ดวงเดือน ศาสตรภัทร กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=