2720_6364

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ...ความสุขคือ การที่รู้จักคิด คิดเป็น ...ความสุขคือ การมีโอกาสได้ไปพักผ่อนท่องเที่ยว ...ความสุขคือ การมีและได้พักผ่อนกับครอบครัวและกับคนที่รู้ใจ ...ความสุขคือ การได้มีเวลาให้ความสุขกับตนเอง ...ความสุขคือ การได้ทำงานกับความเก่ง คนดี คนมีความสามารถ กลับมาถึงคำตอบต่อคำถามที่ว่า ความสุขคืออะไร ในความคิดของผู้เขียน ความสุขคือ “ความพอใจ” ของแต่ละบุคคล มนุษย์ทุกคน ต้องการความสุข เพราะความสุขเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ แต่ความสุขของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป ความสุขของนักธุรกิจ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือ การได้ทำงานและมีเงินมาก ๆ ... ความสุขของชายกลางคนในเรื่องเดียวกันคือ “ความพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ใน ขณะนั้น” ... ท่านล่ะคะ ... ความสุขของท่านคืออะไร? ในความเห็นของผู้เขียน ความสุขอยู่ที่ใจของเราเอง จะสุขหรือทุกข์ อยู่ที่ตัวของเราเอง การที่จะพัฒนาให้เกิดความสุขในจิตใจ สิ่งที่ควรจะกระทำตามแนวคิดของผู้เขียนคือ ๑. รับสภาพความเป็นจริงของตนเอง และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองบนพื้นฐานความเป็นจริงนั้น ๆ ๒. รู้จักจัดการกับอารมณ์ด้านลบของตนเอง (อารมณ์ อิจฉา ริษยา โลภ โกรธ หลง) ไว้ได้ และ ๓. พัฒนาอารมณ์ด้านบวกให้เกิดขึ้นแทน คือ เมตตา พอใจ สงบ ให้อภัยซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรต่อกันและกัน ๔. สร้างความรู้สึกที่ดีต่อทุก ๆ สิ่งรอบ ๆ ตัวเรา มองโลกในแง่ดี ๕. รักเป็น คือ รู้จักที่จะรับความรักและให้ความรักตอบแทน ๖. ชื่นชม เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข จิตใจที่เป็นสุข คือ สิ่งล้ำค่าที่เราทุกคนควรแสวงหา โดยเฉพาะในยุควิกฤตสังคมไทยในปัจจุบัน. ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประธานคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ “ความสุขในบ้าน” บ้าน เป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนค่านิยม เจตคติ ลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพ ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในบ้านให้มีความสุขได้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการหล่อหลอม บุคคลให้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุข ความสุขคืออะไร ความสุขเป็นนามธรรม มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้ ในหนังสือคำพ่อสอน อ้างถึง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานให้แก่คณะผู้แทน องค์การศาสนา คณะครู และนักเรียน ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เกี่ยวกับความสุขดังนี้ “... ความสุขนี้นะคืออะไร อย่าไปพูดบอกว่า ความสุข คือไปเข้าสวดมนต์ภาวนาแล้วเห็นอะไร ๆ ต่าง ๆ นั่นไม่ใช่ความสุข ความสุขคือหาความสงบในจิตใจแท้ ๆ ของแต่ละคน ...” พระธรรมปิฎก ได้ให้ความหมายความสุขว่า มีอยู่ ๒ แบบ คือ ความสุขจากภายใน หมายถึง มีความสงบใจตนเอง หรือมีความสุขจาก การรู้เท่าทัน เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย เป็นความสุขทางปัญญา เนื่องจากเห็นแจ้งความจริง เป็นความโปร่งโล่ง ไม่มีความติดขัดบีบคั้น ใจ ความสุขภายนอกคือ การมีสุขภาพดี การมีทรัพย์สินเงินทอง การมีอาชีพการงานเป็นหลักเป็นฐาน การมียศ ตำแหน่ง การเป็นที่ยอมรับ ในสังคม การมีมิตรสหาย บริวาร และการมีชีวิตครอบครัวที่ดี สรุปได้ว่า ความสุข หมายถึง เจตคติที่ดีของบุคคลที่มีต่อการดำเนินชีวิตของตน เป็นความรู้สึกของความพึงพอใจและความรู้สึกทาง บวกที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกตน รู้จักและเข้าใจตนเอง มีความสงบในจิต รับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ความคิด และความ สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของตนในขณะใดขณะหนึ่ง สามารถจัดการกับปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองและ ครอบครัวเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความสุขในบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงจะทำให้บ้านมีความสุข หรือจะสร้างบรรยากาศในบ้านให้มีความสุขได้อย่างไร พระธรรมปิฎก กล่าวว่า การมีชีวิตครอบครัวที่ดีจะทำให้มีความสุข นอกจากนี้ คุณพ่อของผู้เขียนเคยพูดว่า บ้านใดก็ตามที่สมาชิก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=