2720_6364

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทำได้ยากมาก เพราะนักอนุรักษ์นิยมนกไม่ยอมให้คนเลี้ยงผึ้งกำจัดและฆ่า นก เนื่องจากนกจาบคาเป็นนกสวยงามที่นักนิยมนกหวงแหนมาก นกจาบคาในประเทศไทยมีมากถึง ๑๗ ชนิด และเป็นนกที่มีพฤติกรรม ชอบกินผึ้งมากที่สุด โดยเฉพาะในฤดูอพยพของผึ้งหลวง (Apis dorsata) นกจาบคาเป็นศัตรูธรรมชาติของผึ้งหลวงมาช้านาน ต่อมาเมื่อนำผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) มาเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม นกจาบคาจึงยิ่งถือเป็นศัตรู ที่สำคัญในวงการเลี้ยงผึ้ง อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พบว่า นกจาบคามีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะนกจาบคาช่วยจับแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรกินด้วยเช่นกัน แมลง ดังกล่าวได้แก่ แมลงศัตรูพืชในนาข้าว หอยเชอรี่ และปูนา เช่นเดียว กับแมลงอื่น ๆ ผึ้งย่อมมีศัตรูตามธรรมชาติ ศัตรูตัวฉกาจของผึ้ง เช่น ตัวต่อ มด หนอนกินผึ้ง ผึ้งพันธุ์ซึ่งถูกนำเข้ามาจากยุโรปจะมีภูมิต้านทาน ต่ำกว่าผึ้งพันธุ์พื้นเมือง หรือผึ้งโพรงเอเชีย จึงแทบไม่สามารถป้องกัน ตัวเองจากศัตรูผึ้งได้เลย ตัวต่อ เป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่เป็นศัตรูสำคัญของผึ้ง สามารถจับผึ้ง ตามบริเวณดอกไม้และที่หน้ารังผึ้งกินเป็นอาหาร ถ้าผึ้งพันธุ์อ่อนแอลงมาก ตัวต่อจะยกพวกเข้าโจมตีผึ้งให้เสียหายได้ทั้งรัง แต่ผึ้งโพรงไทยสามารถ ต่อสู้กับตัวต่อได้ดี ถ้ามีการดูแลรักษาให้ผึ้งมีประชากรมาก ๆ และแข็งแรง อยู่เสมอ จะช่วยให้ผึ้งสามารถต่อสู้กับตัวต่อได้ดีมากยิ่งขึ้น มด เป็นศัตรูที่สำคัญของผึ้งทุกชนิด โดยเฉพาะมดแดงที่ชอบสร้างรัง บนต้นมะม่วง และต้นไม้ผลต่าง ๆ มดแดงจะเฝ้าคอยจับผึ้งตามดอกไม้ใน ขณะที่ผึ้งบินมาตอมดอกไม้ บางครั้งมดแดงจะบุกโจมตีผึ้งทั้งรัง ทำให้ผึ้ง หนีรังไปในที่สุด เพราะผึ้งไม่สามารถสู้กับมดแดงได้ ดังนั้น ก่อนตั้งรังผึ้ง ทุกครั้ง ต้องจำกัดมดแดงให้หมดเสียก่อน หนอนผีเสื้อกินไขผึ้ง ถึงแม้ว่าหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งจะไม่ได้เป็นศัตรู โดยตรงกับผึ้ง แต่หนอนผีเสื้อกินไขผึ้งจะเข้าทำลายกินไข และรวงรังผึ้ง เป็นอาหาร ทำให้ผึ้งหนีรังไปในที่สุด การทำความสะอาดบริเวณรังผึ้ง บ่อย ๆ และการบำรุงรักษาผึ้งให้แข็งแรง จะสามารถลดการระบาดของหนอน ผีเสื้อชนิดนี้ได้ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การบรรเลงดนตรี เสมือนจริง ความโดยสรุปว่า ดนตรีเป็นสิ่งขับกล่อมจิตวิญญาณของมนุษย์ ให้อ่อนโยนและมีความสุข การได้เล่นดนตรีนำมาซึ่งความอิ่มเอมในอารมณ์ ก่อกำเนิดสมาธิ และเพิ่มพลังในการดำรงชีวิต แต่เดิมนั้น นักดนตรีต้อง หยิบจับและสัมผัสกับเครื่องดนตรีโดยตรง จึงจะสามารถบรรเลงดนตรีให้ ไพเราะน่าฟังได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้เกิด “เครื่อง ดนตรีเสมือนจริง” ขึ้น ทำให้การบรรเลง หรือการฝึกดนตรี มีความสะดวก ง่ายดายมากยิ่งขึ้น • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ประชาธิปไตย ในบ้าน : ภาพเสนอใน เรื่องสั้นร่วมสมัย ความโดยสรุปว่า เป็นการศึกษา วิจัยเรื่องสั้น ๘ เล่ม ที่รวมพิมพ์เป็นเล่มในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๕๕ และ นิตยสารเรื่องสั้นอีก ๑ เล่ม พบว่ามีเรื่องสั้นที่นำเสนอประเด็นจิตวิญญาณ ประชาธิปไตยในครอบครัวจำนวน ๙ เรื่อง นักเขียนแสดงให้เห็นความ สัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง ที่อยู่ร่วมกันโดยมี อิสระและเสรีภาพในการกระทำและความคิด พร้อมกับเคารพบทบาท หน้าที่ของกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน อันแสดงถึงความเป็น ประชาธิปไตยในครอบครัว และสร้างความสุขความสงบในครอบครัว แต่ ทั้งนี้ผู้เขียนมักเสนอให้เห็นภาพตรงกันข้ามเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนัก และเกิดสำนึกในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในบ้าน เรื่องสั้นบางเรื่อง ยังเสนอให้เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมือง หรือความไม่เป็นธรรมในสังคม ส่งผลกระทบถึงความขัดแย้งทางความคิดและความสัมพันธ์ของคนใน ครอบครัวด้วย ศ. ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เปียโนคอน- แชร์โตแห่งกรุงสยาม ความโดยสรุปว่า “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุง สยาม” เป็นบทประพันธ์เพลงร่วมสมัยของ ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร อยู่ในรูปแบบคอนแชร์โตสำหรับเปียโนบรรเลงประชันกับวงดุริยางค์ เครื่องสายสากล ผู้ประพันธ์เพลงได้นำแนวเดี่ยวเปียโนเพลงไทยที่เรียบ เรียงโดย พันเอก ชูชาติ พิทักษากร (ศิลปินแห่งชาติ) จำนวนทั้งสิ้น ๗ เพลง จากโน้ตเพลงชุด “วรรณกรรมเปียโนแห่งกรุงสยาม” มาเรียบเรียงใหม่ด้วย เทคนิคการประพันธ์เพลงที่ซับซ้อน จนเป็นผลงานสร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์ใน ระดับวิจิตร “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ชุดนี้แสดงเส้นทางเดิน อันยาวนานจากบทเพลงไทยเดิมที่ประพันธ์ขึ้นตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ผ่านการบรรเลง การประดิษฐ์ทางดนตรี และการขัดเกลา ของสำนักดนตรีหลายสำนัก จากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเครื่องดนตรีสากลเข้ามามีบทบาทในการ บรรเลงเพลงไทยด้วย บทเพลงเหล่านี้ได้ผ่านการประดิษฐ์ทางดนตรี สำหรับเครื่องดนตรีสากล ผ่านการเรียบเรียงเสียงประสาน เรียบเรียง เสียงวงดุริยางค์สากล และผ่านการประพันธ์เพลงอย่างประณีต ต่อยอด จากผลงานที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ โน้ตสากลที่บันทึกอย่างละเอียดด้วย มาตรฐานสากล ตลอดจนการบันทึกภาพและเสียง จะทำให้บทเพลงชุดนี้ สามารถนำออกแสดงเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อไป “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” จะออกแสดงเป็นครั้งแรกที่หอ ประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายวิทย์ พิณคันเงิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จิตรกรรมประยุกต์ ความโดยสรุปว่า “จิตรกรรมประยุกต์” เป็นงานจิตรกรรมที่ขยายตัวออกไป อีกหลายประเภท โดยการใช้เครื่องมือ เช่น แอร์บรัช เกรียง พู่กัน ที่ตัดแต่งเฉพาะ กรวยบีบสี ฟองน้ำ ประเภทงานก็มีอยู่หลายประเภท เช่น งานตกแต่ง งานหัตถกรรม งานสิ่งประดิษฐ์ งานเครื่องประดับตกแต่ง งานเครื่องเล่นของเด็ก ตลอดจนงานบาติก ในสมัยโบราณของไทย งานเขียนลายทองบนผืนผ้าที่เรียกว่า ลิขิตภัสตร์ ก็อยู่ในประเภทนี้ด้วย นอกจากนั้นยังมี การเขียนลายบนตัวปลาตะเพียน การเขียนร่ม การเขียน ใบหน้าหัวโขน การเขียนตกแต่งว่าว การเพนต์ผ้า การเขียนผ้าบาติก ตลอดจนงานพาณิชย์ศิลป์ งานผลิตภัณฑ์ และงานตกแต่งทั่วไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=