2720_6364
3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หนึ่งเสาหลักของประชาคมอาเซียน ความโดยสรุป ว่า ประชาคมอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักในปฏิญญาอาเซียน ๗ ประการ คือ (๑) ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้า ทางสังคมและวัฒนธรรม (๒) ส่งเสริมความมีเสถียรภาพ สันติภาพ และ ความมั่นคงของภูมิภาค (๓) ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหาร (๔) ส่งเสริมความร่วม มือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและวิจัย (๕) ส่งเสริมความร่วมมือในด้าน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และ ปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต (๖) ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (๗) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาค และองค์กรระหว่างประเทศ ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ๑. ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อให้ ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและปราศจากภัยคุกคามด้านต่าง ๆ ๒. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายให้ประชาชนเป็น ศูนย์กลางสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการ พัฒนาในทุกด้าน และ ๓. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง เป็นตลาดเดียว และฐานการผลิตร่วมกัน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การสร้างอาเซียนให้เป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน จำเป็น ต้องมีมาตรการในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และ แรงงานอย่างเสรี การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถใน การแข่งขันสูง ต้องจัดระบบการค้าให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาเซียน การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมระหว่างสมาชิกอาเซียน โดยพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลดช่องว่างการพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจ โลก ให้มีท่าทีร่วมมือกันโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่ เจรจาต่าง ๆ การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ก่อให้เกิด ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประเทศไทย คือ ผลกระทบทางบวก เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้ประกอบการมีตลาดการค้าขนาดใหญ่ นักลงทุนได้รับประโยชน์จากสิทธิในการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระได้รับประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายเสรีแรงงานฝีมือ ในอาเซียน ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและ บริการที่หลากหลายและมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม ประเทศจะมีการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น มีการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการ และการแข่งขัน รวมถึงการมี อำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น ส่วนผลกระทบในทางลบ หากไม่มีภาระภาษีนำเข้า จนทำให้ต้นทุนต่ำ ลง สินค้าของประเทศสมาชิกสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าสินค้าของ ประเทศไทย หากผู้ประกอบการไทยไม่ปรับปรุงประสิทธิภาพ ก็จะสูญเสีย ตลาดให้แก่สินค้าเข้าจากประเทศอาเซียนอื่น หากประเทศไทยไม่มีการ พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของแรงงาน ไม่มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ กฎหมาย ให้ทันสมัย อาจทำให้นักลงทุนตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยัง ประเทศอาเซียนอื่นที่เหมาะสมกว่า ทั้งยังอาจเกิดการเคลื่อนย้ายของ แรงงานฝีมือไปยังประเทศอื่นที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า และหากประเทศไทย ไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าเข้ามาขายในประเทศ ทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่มีเป้าหมายในการ พัฒนาอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงไม่ประสบผลสำเร็จ ผู้บริโภคไทยจะได้ บริโภคเฉพาะแต่สินค้าที่มีคุณภาพต่ำที่มีราคาถูกเท่านั้น รัฐบาลจึงควร สร้างความพร้อมและความเข้มแข็ง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง เพื่อรองรับการสู่การเป็นประชาคมอาเซียน สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การแพทย์ เชิงลักษณะส่วนบุคคล (Personalized Medicine) ความโดยสรุปว่า การแพทย์เชิงลักษณะส่วนบุคคลได้มีการบัญญัติคำมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ และยิ่งมีความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๖ เมื่อโครงการจีโนม มนุษย์ได้ประสบผลสำเร็จ โดยได้มีการทำแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ที่สามารถ เข้าใจความสัมพันธ์ระดับสารพันธุกรรมกับการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และเบาหวาน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับวิถีการดำรง ชีวิตและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาวะ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้ ความหมายโดยทั่วไปของการแพทย์เชิงลักษณะส่วนบุคคล คือ การรักษาในปัจเจกบุคคล ให้การรักษาที่มีความเหมาะสมเฉพาะราย โดย พิจารณาจากข้อมูลพันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการ ตอบสนองในการรักษา ในบางกลุ่มได้แปลความหมายของการแพทย์ เชิงลักษณะส่วนบุคคล ในลักษณะ pharmacogenetics ซึ่งเป็นการแสดง ความจำเพาะในทิศทางของการให้ยาที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม เป็นหลัก และยังต้องพิจารณาให้ถูกต้องครบถ้วน ๕ อย่าง คือ การให้การ รักษา (ด้วยยา) การใช้ขนาดยากับผู้ป่วย ในเวลาและผลลัพธ์ที่ตรง ถูกต้อง เหมาะสม จึงถือได้ว่าเป็นการแพทย์เชิงลักษณะส่วนบุคคล • วันพุธที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นกจาบคา และ ศัตรูผึ้ง ความโดยสรุปว่า นกจาบคา คือ นกกินผึ้ง ซึ่งถือเป็นศัตรูสำคัญ ของผึ้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ที่เลี้ยงผึ้ง โดยเฉพาะประเทศ ในตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย เยเมน อิหร่าน นกจาบคา จะจับผึ้ง หรือโฉบกินผึ้งกลางอากาศ โดยมักมากันเป็นฝูงในฤดูหนาว นกจาบคา ๑ ตัว สามารถกินผึ้งได้มากกว่า ๑๐๐ ตัว ต่อ ๑ วัน ในฤดูผสมพันธุ์ ของผึ้ง นกจาบคาจะจับนางพญาผึ้งในขณะที่นางพญาบินขึ้นไปผสมพันธุ์กับ ผึ้งตัวผู้กลางอากาศ จึงทำให้เกิดการสูญเสียต่อวงการเลี้ยงผึ้งเป็นอย่างมาก เพราะผึ้งไม่สามารถขยายพันธุ์ได้เมื่อขาดนางพญา การกำจัดนกกินผึ้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=