2719_4146

7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๓ เดือนเมษายน ๒๕๕๖ ปลาชนิดใหม่จากนอกชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ได้ชื่อศาสตราจารย์จุฬาฯ ราชบัณฑิตไทย จากสิ่งตีพิมพ์เป็นวารสารอนุกรมวิธานปลาระดับนานาชาติ ฉบับปลาย พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่ชื่อ “ Cybium เล่ม ๒๐๑๒, ๓๖(๓) หน้า ๔๔๗-๔๖๐” มีบทความ เรื่อง “Review of the round herrings of the genus Etrumeus (Clupeidae : Dussumierinae) of Africa, with descriptions of two new species” โดย J.D. Dibattisa (๑), J.E. Randall (๒) และ B.W. Brown (๑) จากสถาบันชีววิทยาทางทะเล แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย (๑) และ พิพิธภัณฑ์บิชชอบ ในโฮโนลูลู (๒) นักค้นคว้าวิจัยด้านทรัพยากรปลาเหล่านี้ โดยเฉพาะอันดับหนึ่งของโลกในยุคปัจจุบัน คือ ดร.จอห์น อี แรนดัล เป็นผู้คุ้นเคย กับ ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน และ ศ.กิตติคุณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ เมื่อได้รับเชื้อเชิญให้เริ่มรวมกลุ่มกับนักค้นคว้าระดับเดียวกันจากทั่วโลก โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม เพื่อจัดทำ เอกสารบัญชีทรัพยากรปลาทะเลของโลก รวมหลายชุด หลายเล่ม ตลอดมาจนต่างก็เกษียณจากงานราชการประจำ แต่ก็ยังไม่ละจากงานในพิธิภัณฑ์ปลาตั้ง แต่ครั้งอดีตในส่วนของตน ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ผ่านการศึกษาและฝึกอบรม ในประเทศเยอรมนี โดยมูลนิธิ C.D.G. ที่สถาบัน Biologische Anstalt Fuer Fischerei เมืองฮัมบูร์ก ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ และจบขั้นปริญญาเอกจากอิมพี- เรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน พ.ศ. ๒๕๒๓ ด้วยทุนบริติชเคาน์ซิล และทุนพระราชทานมูลนิธิอานันทมหิดล ได้รับเชิญเป็นทุนให้ไปศึกษาและทำการ วิจัยหลังจบปริญญาเอกถึงขั้นตีพิมพ์ผลงานค้นคว้าทางอนุกรมวิธานปลาใน พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่พิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียน นครซิดนีย์ ในออสเตรเลีย เป็นเวลา ๔ เดือน และที่สมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดีซี ตลอด พ.ศ. ๒๕๒๙ ขณะเริ่มรับราชการในกรมประมงใน พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ปลาทะเลขึ้นทันที สำหรับข้าราชการสถานวิจัยประมงทะเล ต่อมาเมื่อได้รับ พระราชดำริให้เป็นอาจารย์ จึงได้รับโอนมาประจำที่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้สนองพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการ ริเริ่มจัดตั้ง “พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ขึ้น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระเมตตาเสด็จ มาทรงเปิดเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ นอกจากผลงานที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ และได้ก่อประโยชน์ในระดับสากลอย่างกว้างขวาง รวมกว่า ๔๐ ฉบับ อีกทั้งพิพิธภัณฑ์ปลาสำหรับภูมิภาค ที่จัดขึ้นในไทยจนเริ่มก่อประโยชน์ในระดับสากล และการศึกษาค้นคว้าระดับสูงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยเฉพาะสำหรับงานในสายสัตววิทยา ที่ราชบัณฑิตยสถาน ตลอดจนฝีมือวาดภาพ โดยมีหลักฐานเป็นภาพวาดทางวิชาการของปลาทั้งทะเล และน้ำจืด รวมประมาณ ๒๕๐ ภาพ ที่กว่าครึ่งเป็นปลา ในกลุ่มหลังเขียว แมว และกะตัก ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญ จนได้รับการนำไปอ้างอิงเผยแพร่ในระดับสากลครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดมาจนถึงปัจจุบันยังมีการ ให้ความร่วมมือกับนักวิชาการในหลายสถาบัน ตั้งแต่เริ่มจับงานค้นคว้าทางอนุกรมวิธานปลา จนเกิดชื่อเสียงและได้รับการขนานนามเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ของปลาดาบเงินโบราณชนิดใหม่ สมัยโอลิโก-ไมโอซีน คือเมื่อประมาณ ๒๒.๕ ล้านปีมาแล้ว จากประเทศเบลเยียม ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่า Trichiuridarum wongratanai โดย Dr.Drik Nolf มหาวิทยาลัยเก็นท์ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๔ ปลาทรายแดงชนิดใหม่ของโลกจากทะเลเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งอ่าวไทย ได้รับชื่อว่า Nemipterus thosapornai โดยผลงานของ Dr.Barry C. Russell จากพิพิธภัณฑ์นอร์ธเทิร์น เทอริทอรี แห่งออสเตรเลีย ด้วยผลงานจากความเชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ และมีการอ้างอิงกันทางอนุกรมวิธานของปลาหลังเขียว ปลาแมว และปลากะตัก หรือ Clupeoid fishes จากน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ถึงฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา รวม ๑๕๔ ชนิด ของ ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ กรุงโรม เคยให้ชื่อว่าเป็นงานระดับ “vade mecum” หรือคัมภีร์ จนมีผู้นำไปต่อยอดเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการของโลกอย่างกว้างขวาง โดยปลาทะเลในกลุ่มนี้ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทุกเขตของโลก จับได้ถึง ๑ ใน ๓ ของปริมาณโดยน้ำหนักสัตว์น้ำทั้งหมดที่มีการจับขึ้นใช้ประโยชน์ ทั่วโลกในแต่ละปี จากส่วนหนึ่งของเกียรติคุณที่เป็นประวัติดังกล่าว และคุณภาพของผลงานที่ได้ก่อประโยชน์ต่อนักวิชาการรุ่นต่อ ๆ มาอย่างกว้างจนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง ได้ตั้งชื่อปลาทะเลและน้ำจืดของโลกว่าเป็นชนิดใหม่ไว้รวม ๓๘ ชนิด หลายชนิดในจำนวนนี้พบในน่านน้ำไทย โดย ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ เมื่อมีการค้นพบ ปลาเศรษฐกิจในกลุ่มหลังเขียวที่เรียกว่า กุแลกลม ในทะเลฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา จากอ่าวเอเดน โซมาเลีย ถึงเดอบันว่าเป็นชนิดใหม่ คณะนักวิจัย ดังกล่าวจึงตกลงกันตั้งชื่อปลาดังกล่าวในสิ่งตีพิมพ์ว่า Etrumeus wongratanai sp.nov. โดยแตกต่างจากชนิด E. whiteheadi ที่มีเขตกระจายพันธุ์ ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งค้นพบและตั้งชื่อนี้ไว้ก่อนโดย ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ใน พ.ศ. ๒๕๒๖ Etrumeus wongratanai ซึ่งเป็นปลาชนิดใหม่ เป็นปลาคล้ายปลาในกลุ่มปลากุแลกลมของน่านน้ำไทย แต่ในทางอนุกรมวิธานจัดอยู่ในสกุล Etrumeus ที่แตกต่างไป เป็นปลารวมฝูง ขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๒๒ เซนติเมตร ส่วนหลังมีสีเขียวอมฟ้า ส่วนท้องมีสีเงิน ครีบหลังมีก้านครีบ ๑๘-๒๐ ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบ ๑๒-๑๓ ก้าน ครีบอกมีก้านครีบ ๑๔-๑๗ ก้าน เกล็ดในแนวแกนลำตัวมี ๔๘-๕๑ เกล็ด และแถวเกล็ดหน้าครีบหลังมี ๑๕ เกล็ด ซี่กรองเหงือกมี ๑๔-๑๘ + ๓๐-๓๔ ซี่ กระดูกสันหลังมี ๕๐ ข้อ โคนครีบท้องตั้งอยู่ประมาณแนวใต้ปลายฐานครีบหลัง นอกจากองค์ประกอบของลักษณะ ทางสัณฐานวิทยาดังกล่าว ในการศึกษาหาความแตกต่างของปลาชนิดนี้กับชนิดใกล้เคียง ยังมีการตรวจทางไมโทคอนเดรียดีเอ็นเออีกด้วย ในการเสนอชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ที่คุ้นเคย และรู้ฝีมือกัน คณะผู้ค้นคว้าวิจัยได้สรุปไว้ว่า “The species is named in honour of Dr.Thosaporn wongratana, in recognition of his extensive systematic research on clupeoid fishes.” ศ. ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=