2719_4146
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นิยามของคำว่า นิยาม ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์หรือชื่อเฉพาะ นิยาม อาจใช้เป็นคำนาม ใช้เป็นคำกริยา และใช้ในวลี - นิยาม เมื่อใช้เป็นคำกริยา จะสื่อความหมายว่า “กำหนดหรือจำกัด ความหมายที่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของคำศัพท์หรือชื่อเฉพาะ” (เทียบได้ กับคำกริยา define ) - นิยาม เมื่อใช้เป็นคำนาม จะสื่อความหมายว่า “การกำหนดหรือจำกัด ความหมายที่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของคำศัพท์หรือชื่อเฉพาะ” (เทียบได้ กับคำนาม definition เมื่อใช้เป็นคำนามที่นับจำนวนไม่ได้ซึ่งมุ่งสื่อความหมาย “การนิยาม”) และอาจสื่อความหมายว่า “ความหมายที่ถูกกำหนดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของคำศัพท์หรือชื่อเฉพาะ” (เทียบได้กับคำนาม definition เมื่อใช้เป็นคำนามที่นับจำนวนได้) ในความหมายหลังนี้ อาจใช้ว่า คำนิยาม หรือ บทนิยาม ก็ได้ - นิยาม เมื่อใช้ในวลี โดยนิยาม สื่อความหมายว่า “เมื่อว่าตามคำ จำกัดความ” (เทียบได้กับวลี by definition ) วัตถุประสงค์ของนิยาม Copi (๑๙๖๘) แสดงวัตถุประสงค์ของนิยามไว้ ๕ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อ เพิ่มพูนคำศัพท์ (๒) เพื่อขจัดความกำกวม (๓) เพื่อขยายความให้กระจ่าง (๔) เพื่ออธิบายเชิงทฤษฎี และ (๕) เพื่อโน้มน้าวเจตคติ จากวัตถุประสงค์ทั้ง ๕ ดังกล่าว อาจจำแนกนิยามได้เป็น ๕ ประเภท กล่าวคือ (๑) นิยามเพื่อบัญญัติ (๒) นิยามตามคำศัพท์ (๓) นิยามเพื่อให้รัดกุม (๔) นิยามทางทฤษฎี และ (๕) นิยามเพื่อโน้มน้าว ความจำเป็นของการนิยาม การนิยามเป็นกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุจำเป็นในการสื่อแสดง ความหมายของถ้อยคำให้มีความชัดเจน รัดกุม หรือแน่นอน เท่าที่ลอง วิเคราะห์ดู การนิยามจะมีที่ใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๑. ในหนังสืออ้างอิง McArthur (๑๙๙๒) จำแนกนิยามที่ปรากฏในหนังสืออ้างอิงเป็น ๒ ประเภทหลัก ได้ - นิยามแบบพจนานุกรม (dictionary definition) เป็นนิยามสั้นๆ ที่มุ่งให้คำอธิบายความหมายหลักของคำศัพท์เป็นสำคัญ - นิยามแบบสารานุกรม (encyclopedic definition) เป็นนิยามที่มุ่งให้ ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ วัตถุ หรือหัวเรื่อง นอกเหนือจาก ความหมายหลักของศัพท์ ๒. ในเอกสารทางกฎหมาย ๓. ในรายงานวิจัย ๔. ในคัมภีร์ศาสนาและปกรณ์ปรัชญา ๕. ในการใช้ภาษาทั่วไป ๖. ในกิจกรรมจำเพาะบางลักษณะ นิยามในพจนานุกรม Svensé n (๒๐๐๙) จำแนกนิยามที่ปรากฏในพจนานุกรมเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. นิยามตามเนื้อหาความหมาย (intensional definition) ๒. นิยามตามขอบเขตความหมาย (extensional definition) ตัวอย่างวิธีนิยามตามเนื้อหาความหมายของคำว่า thermometer และคำว่า barometer ซึ่งอาจพบเห็นในพจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป มีดังนี้ definiendum definiens (=headword) (=definition) genus differentia thermometer: an instrument for measuring temperature barometer: an instrument for measuring atmospheric pressure เนื้อหาของนิยามประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก ดังนี้ • genus หมายความว่า คำแสดงชนิด ประเภท ชั้น หรือกลุ่ม ของสิ่งที่มี ลักษณะร่วมกัน ในที่นี้ได้แก่คำว่า (an) instrument (เครื่องมือหรือ อุปกรณ์) • differentia หมายความว่า ข้อความที่บอกข้อแตกต่าง หรือลักษณะ, จำแนก อันเป็นคุณสมบัติจำเพาะของแต่ละสิ่งในชนิด ประเภท ชั้น หรือกลุ่ม เดียวกัน วิธีนิยามเช่นนี้อาจใช้แก่คำกริยาและคำคุณศัพท์ได้ด้วย ส่วนคำชนิดอื่น ที่เหลือในพจนานุกรมภาษาอังกฤษมักใช้การแสดงวิธีใช้คำและอธิบาย ความหมายแทน ข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีเขียนนิยามในพจนานุกรม ๑. รวบรวมตัวอย่างข้อความภาษาที่ใช้จริงที่มีคำศัพท์นั้นปรากฏอยู่ รวมทั้ง บริบทที่เกี่ยวข้อง ๒. พิจารณาดูวิธีใช้คำศัพท์นั้น ๆ ว่าทำหน้าที่อะไรทางไวยากรณ์ แล้วจึง กำหนดชนิดคำ ๓. วิเคราะห์ชนิดย่อยของคำ ๔. เลือกเฉพาะความหมายที่ต้องการนิยาม ในกรณีที่ศัพท์มีหลาย ความหมาย ๕. สำรวจดูคำที่มีรูปคล้ายหรือมีความหมายสัมพันธ์กับคำและความหมาย ที่ต้องนิยาม เพื่อให้เข้าใจความหมายของศัพท์ที่ต้องการนิยามชัดเจนยิ่งขึ้น ๖. ศึกษาคำพ้องความหมาย (synonym) และคำที่มีความหมายตรงข้าม (antonym) ๗. พึงใช้ถ้อยคำเท่าที่จำเป็น ๘. ใช้ถ้อยคำที่ง่าย ๙. หลีกเลี่ยงการเขียนนิยามที่วนเป็นวงกลม ๑๐. เขียนนิยามโดยอิงรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในพจนานุกรมทั่วไป ๑๑. เขียนนิยามให้สอดคล้องกับชนิดคำของคำตั้งที่ต้องนิยาม ๑๒.ทบทวนและตรวจสอบคำนิยามให้สอดคล้องกับคำและความหมาย ที่ต้องนิยาม ๑๓. ให้บุคคลอื่นช่วยอ่าน ศัพท์ที่ใช้เขียนนิยามในพจนานุกรม หลักข้อหนึ่งในการเขียนนิยามในพจนานุกรมมีอยู่ว่า ต้องอธิบายศัพท์ยาก ด้วยศัพท์ที่ง่ายกว่า โดยอาจกำหนดกลุ่มคำศัพท์จำนวนจำกัดที่ใช้เขียนนิยาม ในพจนานุกรม หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศัพท์ที่ใช้นิยาม (defining vocabulary) ซึ่งได้นำมาใช้ในพจนานุกรม Longman Dictionary of Contemporary English (๑๙๘๗) เป็นฉบับแรก โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการ ควบคุมการจัดทำพจนานุกรมและตรวจสอบบทนิยาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=