2719_4146

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๓ เดือนเมษายน ๒๕๕๖ เป็นสีแดงเท่านั้น และดูดกลืน (absorb) สีอื่น ๆ ไว้ทั้งหมด สิ่งที่เรียกว่า ตัวสี หรือ สารสี (color pigment) นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ นำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาแปรรูปสำหรับใช้ในทาหรือเคลือบสิ่งต่าง ๆ และใช้ ในงานศิลปะ โดยเฉพาะงานจิตรกรรม สีเป็นวัสดุสำคัญยิ่ง ตัวสีที่เก่าแก่ที่สุด เป็นสีที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ คือ สีฝุ่น (tempera) ภายหลังพัฒนาเป็นสีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคริลิก และสีนานาชนิดได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีอย่างที่ใช้ ในปัจจุบัน สีฝุ่น คนไทยเรียก สีฝุ่น เพราะแต่เดิมทำมาจากดิน หิน แร่ พืช แมลง บางชนิด นำมาบดจนละเอียดเป็นฝุ่นแล้วผสมกาวใช้เขียนรูป ชาวตะวันตก เรียกว่า tempera เป็นสีแห้งเร็วใช้สำหรับเขียนรูป เนื้อสีสามารถผสม สารละลายหลายชนิด เช่น ไข่แดง (egg yolk) ซึ่งใช้เป็นสารละลายและเป็น สารผสานสีกับพื้นผิว ช่วยให้สีสดและติดทนนาน ชาวยุโรปจึงมักเรียกสีฝุ่นว่า egg tempera สีฝุ่นใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๕ เมื่อมีการคิดค้นสีน้ำมันขึ้นใช้ สีฝุ่นจึงใช้น้อยลง สีน้ำ (water color) สีที่มีลักษณะโปร่งใส ตัวสีหรือสารสีมักได้จากพืช หรือแร่ธาตุ เช่น ใบคราม ดินสี นำมาผสมกับสารยึดประเภทกาวที่ละลาย น้ำได้ สมบัติของสีน้ำคือ สามารถผสมน้ำได้ เมื่อแห้งแล้วจะไม่ละลายน้ำ มีลักษณะโปร่ง ผสมกันได้ง่าย ระบายซ้อนทับกันกันได้ ขณะที่สีหนึ่งยังเปียก ก็ระบายอีกสีหนึ่งทับลงไปได้ (wet-in wet) โดยปล่อยให้สีซ้อนทับและผสานกัน ตามการควบคุมของศิลปิน (controlled accidents) ส่วนมากใช้ระบายบนผิว วัสดุที่มีสีอ่อน เช่น ผ้าแพร กระดาษ แผ่นหนัง (parchment) ปัจจุบันนิยมวาด บนกระดาษที่ทำจากเยื่อของพืชหลายชนิด เช่น ปอ เปลือกไม้ ซึ่งมีสมบัติ ดูดซึมน้ำได้ดี ปัจจุบันเนื้อสีน้ำมักผสมกับละอองสารละลายประเภทกาวที่ทำมาจากพืช ประเภทกระถิน ใช้เป็นส่วนประกอบผสานเนื้อสี นอกจากนี้ ยังมีสารเพิ่มความ ยืดหยุ่น เช่น ไฮโดรเมล หรือ น้ำเชื่อมกลีเซอรีน (glycerin) เพื่อช่วยให้สีชุ่มชื้น อยู่เสมอ รวมทั้งสารกันบูด เช่น สารฟีนอล (phenol) ยางไม้หลอมเหลว ในยุคกลาง ของยุโรปใช้สีน้ำเขียนหนังสืออักษรวิจิตร (calligraphy) แต่ใช้กันไม่มากนัก ประมาณ ค.ศ. ๑๗๐๐ มีผู้ผลิตสีน้ำจำหน่าย ในระยะแรกทำเป็นก้อน ๆ ชนิดที่มี ความชื้นในตัวจะใส่ภาชนะก้นตื้น ๆ สีน้ำชนิดนี้ต้องเติมสารกลีเซอรีนเพื่อไม่ให้ สีจับตัวเป็นก้อนในภาชนะและช่วยให้สีแห้งช้าลง ทำให้ระบายสีได้กลมกลืน ก่อนที่สีจะแห้ง ส่วนสีชนิดที่เป็นของเหลวคล้ายครีมบรรจุหลอด ผลิตเมื่อ ประมาณ ค.ศ. ๑๙๐๐ เป็นสีน้ำที่ใช้กันทั่วไป ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ศิลปิน ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaisance) คิดหา วัสดุสำหรับเขียนรูปที่ตอบสนองความต้องการของศิลปินได้ดีกว่าสีฝุ่นคือ สีน้ำมัน (oil color) จิตรกรในยุโรปเหนือ โดยเฉพาะจิตรกรชาวดัตช์ พยายาม นำสีฝุ่นผสมน้ำมันเพื่อให้ได้สีที่สามารถเขียนทับกันจนเนื้อสีหนา และเมื่อแห้งแล้ว ยังมีสีสด จนประสบความสำเร็จ จิออร์จิโอ วาซารี (Giorgio Vasari: ๑๕๑๑~ ๗๔) จิตรกร สถาปนิก และนักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอิตาลี บันทึกว่า จาน ฟาน อิค (Jan van Eyck:d.๑๔๔๑) จิตรกรชาวดัตช์ในสกุลช่างเนเธอร์แลนด์ ยุคแรก (Early Netherlandish School) เป็นผู้คิดทำสีน้ำมันเป็นคนแรก ประมาณ ค.ศ. ๑๔๑๐ โดยใช้น้ำมันลินสีด ซึ่งทำจากเมล็ดต้นแฟลกซ์ (flax) และน้ำมันสน (turpentine) เพื่อช่วยให้สีแห้งเร็ว ผสมกับสีฝุ่น ทำให้ได้สีน้ำมัน ที่มีสมบัติเหมาะสมสำหรับเขียนภาพ ต่อมาการทำสีน้ำมันแพร่ไปในประเทศ อิตาลี โดยจิตรกรอิตาลีพัฒนาจากกลวิธีของ จา ฟาน อิค เช่น อะนาโตเนลโล ดา เมสซินา (Anatonello da Messina: ๑๔๓๐-๑๔๗๙) และจีโอวันนี เบลลีนี (Giovanni Bellini: ๑๔๓๐-๑๕๑๐) และตีซีอาโน เวเซลลีโอ (Tiziano Vecellio: ๑๔๘๕-๑๕๗๖) ได้ปรับปรุงจากส่วนผสมต่าง ๆ ของจาน ฟาน อิค จนได้สีน้ำมัน มีคุณภาพดีและได้รับความนิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นมาจนแพร่หลาย ไปทั่วยุโรป สีชนิดนี้ยุคแรกทำโดยการผสมเนื้อสีฝุ่น มีทั้งสารสีธรรมชาติและสารสี สังเคราะห์ กับน้ำมันลินสีดหรือน้ำมันพืชชนิดที่แห้งแล้วจับตัวเป็นเยื่อแข็ง ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกับสีจนเป็นครีมข้น อาจมีส่วนผสมอื่นด้วย เช่น สารแห้งเร็ว สารหนืด สารทำให้อยู่ตัว และสารเพิ่มความยืดหยุ่น เช่น ไขคล้ายขี้ผึ้ง อะลูมินัมสเตียเรต (aluminum stearate) เพื่อทำให้เนื้อสีเป็นครีมข้นเสมอกัน สีอะคริลิก (acrylic color) สีที่ทำจากเนื้อสีผสมกับตัวผสานเนื้อสี ประเภทพอลิเมทิล (polymethyl) พ่นเป็นละอองผสมกับน้ำมันแร่ บางทีเรียก สีพลาสติก (plastic paint) เพื่อให้ต่างจากสีพอลิเมอร์ (polymer color) สีอะคริลิกไม่หมองหรือเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือคล้ำ แห้งเร็ว ล้างออกง่ายด้วย หัวน้ำมันแร่หรือน้ำมันสนใช้น้ำเป็นตัวละลาย ไม่ผสมน้ำมันสน สีอะคริลิก ทนต่ออากาศที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าร้อนหรือเย็น ผสมกันได้ดีขณะที่ยังเปียก เมื่อ เย็นจะยึดตัวแน่น สีพาสเทล (oil pastel) หรือสีแท่ง ใช้ผงสีผสมกาว ยางไม้ หรือใช้ ขี้ผึ้งผสมสีประเภทนี้มีหลายชนิด เช่น สีชอล์ก สีเทียน สีแท่ง ใช้เขียน บนกระดาษ อาจพ่นน้ำยาเคลือบทับเพื่อรักษาสีให้คงทน ศิลปินหลายคนนิยม ใช้สีแท่งสร้างงานจิตรกรรมและวาดเส้น เช่น แอดกา เดอกา (Edgar Degas: ๑๘๓๔-๑๙๑๗) อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก (Henry de Toulouse-Lautrec: ๑๘๖๔-๑๙๐๑) • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พัฒนาการของศิลป- วัฒนธรรม : เจดีย์ทรงปราสาทยอด ความโดยสรุปว่า เจดีย์ทรงปราสาท ยอดเป็นเจดีย์ทรงหนึ่งในวัฒนธรรมสุโขทัย และวัฒนธรรมอยุธยา ที่สะท้อนถึง การเกี่ยวข้องเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับชาวขอมและชาวล้านนา เจดีย์ทรง ดังกล่าว เรียกในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มีลักษณะดังนี้ ส่วนฐานในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า รองรับส่วนกลางซึ่งมีจระนำซุ้ม มักมีไว้เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนบนเป็นทรงกรวย เริ่มจากทรงระฆัง เหนือทรงระฆังอาจมีบัลลังก์สี่เหลี่ยม หรือไม่มีก็ตาม ต่อขึ้นไปเป็นทรงกรวย ของ “ชุดปล้องไฉน” หรือบางทีก็อีกลักษณะหนึ่ง เรียกว่า “ชุดบัวทรงคลุ่ม” หรือ “บัวทรงคลุ่มเถา” เจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปวัฒนธรรมสุโขทัย “เจดีย์ทรงปราสาทยอด” ยอดทรงกรวยได้รับความนิยมมาก่อนในศิลปะล้านนา (ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเจดีย์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ในศิลปะพุกามของประเทศพม่า เจดีย์รายทรงปราสาทยอดบางองค์สภาพ ชำรุด มากบ้างน้อยบ้าง ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย สุโขทัย สร้าง ประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๐ ทรงกรวยใหญ่คือทรงระฆัง เหนือขึ้นไปเคยมียอด ทรงกรวยขนาดเล็ก หักชำรุดไปแล้ว เจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปวัฒนธรรมอยุธยา เช่น เจดีย์รายทรง ปราสาทยอดในวัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา (สร้างประมาณครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ส่วนล่างและส่วนกลางผ่านการบูรณะครั้งสำคัญ โดยกรมศิลปากร ยังเหลือเค้าของปราสาทแบบเขมร เช่น รูปคล้ายกลีบขนุน ซึ่งยังหลงเหลือประดับบนมุมต่าง ๆ ของส่วนกลาง ต่อขึ้นไปเป็นทรงกรวย อันเป็นส่วนบน คือส่วนยอด ประกอบจากทรงระฆังและปล้องไฉน เจดีย์ทรง ปราสาทยอดประดับที่มุมทั้งสี่ในวัดพระราม พระนครศรีอยุธยา (สร้างในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๒๐) เจดีย์ประจำมุม ทรงปราสาทยอดมีพระพุทธรูปลีลา มีมาก่อนในวัฒนธรรมสุโขทัย ประดิษฐานในจระนำ เจดีย์ประธานทรงปราสาท ยอดวัดวรเชษฐเทพบำรุง พระนครศรีอยุธยา (สร้างสมัยอยุธยา ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒) เจดีย์รายทรงปราสาทยอด ในวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา คงสร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทยอด มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเริ่มรับปรับแรงบันดาลใจจากรูปทรงปราสาทในศิลปะขอม ได้ผ่านการ ผสมผสานในศิลปะของวัฒนธรรมสุโขทัย ผ่านพัฒนาการมาเป็นลำดับในศิลปะ ของวัฒนธรรมอยุธยา โดยจะจางหายไปจากความนิยมในศิลปะของวัฒนธรรม รัตนโกสินทร์ ศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง นิยามใน พจนานุกรม ความโดยสรุปว่า ศัพทมูลของคำว่า นิยาม คำว่า นิยาม ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บอกศัพทมูลแต่เพียงว่ามาจากบาลีและสันสกฤต เมื่อวิเคราะห์ตามรูปศัพท์ นิยาม มาจาก นิ อุปสรรค + ยมฺ ธาตุ (ในความว่า “บังคับ, กำหนด, ควบคุม”) + อ ปัจจัย โดยพฤทธิ์สระที่ตัว ธาตุด้วย คือยืดเสียงสระให้ยาวขึ้นจาก อ เป็น อา สำเร็จรูปเป็น นิยาม เป็นคำนาม หมายความว่า “ความแน่นอน, การกำหนด, แนวทาง, วิธี, กฎ”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=