2719_4146
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ศึกษาต่อไป จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง การศึกษาวิจัยในแนวกว้างและแนวลึกของประเทศไทย รวมทั้งบุคลากรทาง การแพทย์ที่จะมีส่วนในการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคได้อย่างทันการ สำหรับคน ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศจีน ฮ่องกง หรือมาเก๊า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ สัตว์ปีก และถ้ามีอาการป่วยใด ๆ เกิดขึ้นควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ ไวรัสทันที ยังไม่มีการห้ามเดินทางเข้าสู่แหล่งระบาดหรือควบคุมการเดินทาง รศ. ดร.ปรียา ลีฬหกุล หลักสูตรโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง น้ำมะพร้าว ความโดยสรุปว่า มะพร้าวเป็นพืชยืนต้นสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่ในตระกูลปาล์ม (Cocos nucifera) มะพร้าวในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด มะพร้าวแกง มะพร้าวกะทิ มะพร้าวตาล มะพร้าวเบา และมะพร้าวน้ำหอม ผลิตภัณฑ์ จากมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ทั้งคาวและหวาน นำไปประดิษฐ์ สิ่งของต่าง ๆ ใช้ในครัวเรือน หรือเป็นสิ่งของตกแต่งบ้าน น้ำมะพร้าวที่นิยม ดื่มนั้นเป็นของเหลวใสภายในมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องดื่มที่นิยม กันมานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อน มีทั้งที่เป็นของสดและบรรจุ เป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูป นอกจากนี้ น้ำมะพร้าวยังสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำส้ม (coconut vinegar) ซึ่งใช้ปรุงอาหารได้ ถ้านำน้ำมะพร้าวไปหมักกับเชื้อ Acetobacter xylinum จะได้สารที่มีลักษณะเหมือนวุ้น (Nata de coco) นำไปประกอบอาหารได้ ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นอาหารหวาน น้ำมะพร้าวให้ พลังงานต่ำใกล้เคียงกับน้ำมะเขือเทศ แต่น้อยกว่าน้ำองุ่น น้ำส้มสด และ น้ำสับปะรด ความเข้มข้นของพลังงานประมาณ ๐.๒ กิโลแคลอรี/มิลลิลิตร หรือ ๑๙ กิโลแคลอรี/๑๐๐ มิลลิลิตร ร้อยละ ๑๔, ๙ และ ๗๖ ของพลังงาน เป็น โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ตามลำดับ ร้อยละ ๗๐ ของคาร์โบไฮเดรต เป็นน้ำตาล น้ำมะพร้าวอ่อนเหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและ น้ำตาลในเลือดมากกว่าน้ำผลไม้ชนิดอื่น ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่สูญเสียน้ำมาก หรือภายหลังเล่นกีฬา ดื่มน้ำมะพร้าวจะชดเชยภาวะขาดน้ำได้ดีมาก ไขมัน ในน้ำมะพร้าวน้อยมาก และไม่มีคอเลสเตอรอลเพราะเป็นพืช ผู้ที่มีคอเลสเตอรอล หรือไทรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงสามารถเลือกเป็นเครื่องดื่มประจำได้ น้ำมะพร้าว อ่อนมีโพแทสเซียมสูง มีการศึกษาพบว่าถ้าดื่มประจำจะช่วยลดความดันโลหิต สูงในเลือดได้ ฮอร์โมนพืช (phytohormone) เป็นสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบ สำคัญของน้ำมะพร้าว มีการนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีความจำเป็นต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่น การเพาะเลี้ยง กล้วยไม้จากเนื้อเยื่อ ด้านชีวเคมีทางการแพทย์มีผลการวิจัยออกมามากมาย เกี่ยวกับไซโทไคนินซึ่งเป็นฮอร์โมนพืช ที่สำคัญที่สุดในน้ำมะพร้าว ทำให้เห็น บทบาทที่สำคัญของไซโทไคนินต่อการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด และโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประกอบต่าง ๆ ของน้ำมะพร้าวอ่อน เช่น พันธุ์มะพร้าว ดิน อากาศ น้ำ ที่ปลูก ระยะเวลา ที่เก็บ ดังนั้น การนำไปวิจัยหรือศึกษาเพิ่มเติมต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย และที่สำคัญมากคือ การพัฒนาสายพันธุ์ให้น้ำมะพร้าวมีส่วนประกอบที่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น พร้อมทั้งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารที่มีประโยชน์ เหล่านี้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ทั้งในเชิงการป้องกันการรักษาโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เรื่องของคำ ลักษณนาม ความโดยสรุปว่า คำลักษณนามมักจะต้องปรากฏร่วมกับคำนาม หรือคำกริยา ในกรณีที่ผู้พูดต้องการกล่าวถึงจำนวนหรือปริมาณของคำนาม หรือคำกริยานั้น ๆ มีนักภาษาศาสตร์หลายคนสนใจศึกษาคำลักษณนาม ในภาษาไทย อาจเป็นเพราะคำลักษณนามของไทยมีจำนวนมากและแยก ประเภทย่อยออกไปได้มาก นอกจากภาษาไทยแล้วภาษาอีกหลายภาษา ในทวีปเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และภาษาในทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ก็มีคำลักษณนามคล้าย ภาษาไทย เรื่องของคำลักษณนามประเด็นแรกที่กล่าวถึง คือการใช้คำลักษณนาม บางคำ ได้แก่ คำว่า ปื้น เลา นัด และเล่ม สันนิษฐานว่า คำว่า ปื้น ใช้เป็น ลักษณนามของเลื่อย เพราะปื้นเคยหมายถึง แผ่นเลื่อย คำว่า เลา ใช้เป็น ลักษณนามของปี่และขลุ่ย เพราะ เลา หมายถึง ไม้หรือโลหะรูปกลมยาว มีรูทะลุ ตลอด ปี่และขลุ่ย ก็เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะกลมยาวเช่นนั้น คำว่า นัด ยังไม่แน่ชัดว่าใช้เป็นลักษณนามของกระสุนเพราะเหตุใด มีข้อสันนิษฐาน ๓ ประการ คือ ๑) นัด มาจากคำกริยา นัด ใช้หมายความว่า ครั้ง เมื่อยิงกระสุน ไปนัดหนึ่ง ก็หมายความว่ายิงไปครั้งหนึ่ง ข้อสันนิษฐานนี้ ยังมีปัญหาเพราะนัด ใช้เป็นลักษณนามสำหรับกระสุนทั้งที่ยิงแล้วและยังไม่ได้ยิง ๒) นัด อาจตัดมาจาก คำ เสนัด ซึ่งหมายถึงปืน ๓) นัด เป็นคำลักษณนามที่มีใช้ในภาษาตระกูลไท มานานแล้ว เพราะภาษาเถียนตงซึ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาจ้วงเหนือ ก็มีคำลักษณนาม นัด ใช้กับกระสุน ข้าว ถั่ว เมล็ดผลไม้ ฯลฯ ส่วนคำลักษณนาม เล่ม ใช้กับคำนามหลากหลาย เช่น หนังสือ เกวียน เทียน พัด มีด การสันนิษฐานอาจอาศัยภาษาอื่นในตระกูลไท ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทพ่าเก่ และภาษาไทยเหนือ มีคำที่มีเสียงคล้ายคำว่า เล่ม ใช้เป็นลักษนามสำหรับ สิ่งที่เล็กยาว คำว่า เล่ม ในภาษาไทย ก็น่าจะใช้กับสิ่งเล็กยาว เช่น มีด เข็ม เทียน และใช้กับสมุด หนังสือ เพราะสมุดไทยแต่ก่อนมีลักษณะเล็กยาว และใช้กับ เกวียน อาจเป็นเพราะแอกหรือทูบเกวียน ก็มีลักษณะเล็กยาวเช่นกัน เรื่องของคำลักษณนามประเด็นที่ ๒ กล่าวถึง ความเปลี่ยนแปลงของคำ ลักษณนาม มีข้อสังเกต ๖ ประการ คือ ๑) คำลักษณนามชนิดต่าง ๆ มีครบแล้ว ในไตรภูมิพระร่วง พระยาอุปกิตศิลปสาร จำแนกคำลักษณนามไว้ ๖ ชนิด ได้แก่ ลักษณนามบอกชนิด ลักษณนามบอกหมวดหมู่ ลักษณนามบอกสัณฐาน ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา ลักษณนามบอกอาการ ลักษณนามซ้ำชื่อ ไตรภูมิพระร่วงมีคำลักษณนามเหล่านี้ครบทุกชนิด ๒) ในสมัยที่ยังไม่กำหนด แน่นอนว่าคำนามคำใด ควรใช้ลักษณนามว่าอย่างไร จะมีผู้ใช้ลักษณนามต่าง ๆ กันกับคำนามคำเดียวกัน พบได้ในหนังสือเล่มเดียวกันหรือเอกสารฉบับเดียวกัน มีตัวอย่างในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ประชุมพระราชปุจฉาและไกลบ้าน ๓) การเปลี่ยนรูปของคำลักษณนามสะท้อนถึงการเปลี่ยนรูปคำในภาษาไทย มีตัวอย่างเช่น คำลักษณนาม บอก ลง อุปสรรคเทียม เป็น กะบอก และ กระบอก คำลักษณนาม โมง ประสมกับคำ ชั่ว กลายเป็นคำประสม ชั่วโมง คำลักษณนาม ขวบอาทิตย์ และสัปดาหวาร ตัดสั้นลงเหลือเพียง อาทิตย์ และ สัปดาห์ ๔) คำลักษณนามบางคำเลิกใช้ไป มีตัวอย่าง เช่น คำภาษาอังกฤษ มินิต คำลักษณนามซ้ำชื่อ แรด และคำลักษณนาม ถ่าและลา ๕) ความหมาย ของคำลักษณนามเปลี่ยนแปลงไปทำนองเดียวกับคำชนิดอื่นในภาษา ความหมาย ของคำลักษณนามบางคำอาจแคบลง เช่น คำว่า ฝูง เคยเป็นคำลักษณนาม บอกหมวดหมู่ของสิ่งต่าง ๆ หลากหลาย ปัจจุบันไม่ใช้กับสิ่งของและนามธรรม ความหมายของคำลักษณนามบางคำอาจกว้างขึ้น เช่น คำว่า คัน เคยใช้กับ คำนามที่หมายถึงสิ่งที่มีส่วนสำหรับถือ จัดเป็นคำลักษณนามบอกสัณฐาน ปัจจุบันใช้กับรถชนิดต่าง ๆ ไม่ได้คำนึงถึงลักษณะของรถ ความหมายของ คำลักษณนามบางคำอาจเปลี่ยนไปบ้าง เช่น คำว่า ครอก น่าจะเคยหมายถึง จำพวกหรือสกุล ใช้กับคนหรือสัตว์ก็ได้ ปัจจุบันกลายความหมายไป ใช้เป็น ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราวหนึ่ง ๆ ๖) คำนามบางคำเคยใช้กับ คำลักษณนามหลากหลายกว่าจะกำหนดแน่นอนให้ใช้ลักษณนามคำใด เช่น รถ เคยใช้กับคำลักษณนาม รถ เล่ม คัน และหลัง งา เคยใช้กับคำลักษณนาม อัน กิ่ง และขอน ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง วิวัฒนาการของ “สี” ในงานจิตรกรรม ความโดยสรุปว่า เมื่อกล่าวถึง สี จะรู้จักกันทั่วไป แต่ถ้าให้ อธิบายว่า สีคืออะไร คงเป็นเรื่องยาก ความจริงสีมี ๒ ลักษณะ คือ สีที่ตามองเห็น (colore) และ ตัวสี (colore pigment) สีที่ตามองเห็น เป็นลักษณะของ แสงสว่างที่ปรากฏแก่ตาให้เห็นเป็นสีขาว ดำ แดง เขียว เป็นต้น การรับรู้เช่น นี้เป็นความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นโดยพลังของคลื่นแสง (wavelength) ที่ทำให้เกิด ปฏิกิริยาต่อกลไกของตา แสงสีขาวประกอบด้วยสี ๗ สีเมื่อแสงเหล่านี้ ส่องผ่านแก้วปริซึมสามเหลี่ยม (triangle prism) จะเห็นเป็นแถบสีรุ้ง (rainbow spectrum) ซึ่งเป็นสีแท้ ๗ สี ได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง สี คือ คลื่นแสงที่สายตารับรู้เป็นสี เช่น ผลของแสงที่ส่องผ่านสเปกตรัม (spectrum) ที่รับสีอื่นไว้หมด สะท้อนเพียงสีที่ตามองเห็น เมื่อผิววัตถุถูกแสง ตกกระทบ จะสะท้อนคลื่นแสงตามธรรมชาติของพื้นผิววัตถุให้เห็น เรียกว่า สี เช่น ผิววัตถุสีแดง (cadmium red) จะสะท้อนเพียงแสงที่ทำให้รู้สึกว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=