2719_4146

3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๓ เดือนเมษายน ๒๕๕๖ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง (ไม่มีการบรรยายสำนักฯ ในเดือนเมษายน) สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. นพ. ดร.เรือน สมณะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง องคชาต ศิวลึงค์ ปลัดขิก ความโดยสรุปว่า เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาวมนุษย์มักสนใจเรื่องเพศ มากขึ้น จึงเสาะหาสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศหรือแม้แต่การร่วมเพศ เป็นที่น่าสังเกตว่าอวัยวะเพศชายหรือองคชาตที่นำมาปรากฏในสื่อส่วนใหญ่ จะมีขนาดที่ใหญ่และยาวมาก จนทำให้ชายหนุ่มรู้ฝึกใจฝ่อ โดยคิดว่าตนเอง มีอวัยวะเพศขนาดเล็กเกินไป ชายหนุ่มบางคนจึงต้องพยายามทำให้อวัยวะเพศ ของตนใหญ่ขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ฉีดสารเข้าไปในอวัยวะเพศ เกิดการ อักเสบและบางรายเกิดมะเร็งตามมา ข้อเท็จจริงที่ได้จากการวิจัยหลายสำนักเพื่อจะผลิตถุงยางอนามัยให้มี ขนาดพอเหมาะกับองคชาตพบว่า องคชาตมีขนาดเฉลี่ยของเส้นรอบวง ๑๐.๘ ซม. (๔.๒๕ นิ้ว) ความยาว ๑๒.๙ (๕.๐๘ นิ้ว) เส้นรอบวงและความยาวดังกล่าว จะมากกว่าข้างต้นเล็กน้อยในชาวยิว ชาวผิวขาว และชาวผิวดำร่างสูงใหญ่ อย่างไรก็ตาม คงมีคนจำนวนน้อยมากที่มีขนาดองคชาตที่ผิดปรกติไปมาก เท่าที่มีหลักฐานคือ รัสปูตินที่มีองคชาตที่ใหญ่และยาวมาก เพราะมีขนาดยาวถึง ๒๘ ซม. (๑๑ นิ้ว) ทั้ง ๆ ที่ดองอยู่ในขวดโหล ศิวลึงค์ เป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะซึ่งเป็นเทพที่สำคัญที่สุดในศาสนา พราหมณ์ มีลักษณะคล้ายองคชาต อาจจะเป็นสิ่งธรรมชาติหรือประดิษฐ์ขึ้น เชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อจะให้ประชาชนเคารพบูชา จะได้มีอำนาจ มีความสำเร็จ ไม่อับจน เป็นต้น ปลัดขิก เป็นสัญลักษณ์ที่ทำขึ้นแทนองคชาต ในระยะแรกได้ทำขึ้น ในลักษณะคล้ายของจริงทั้งขนาดและรูปร่างในลักษณะที่หดตัวและแข็งตัว ต่อมามีผู้ทำขึ้นมากมายในรูปแบบและขนาดต่าง ๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากลักษณะ ธรรมชาติขององคชาต ปลัดขิกเป็นเครื่องรางของขลังที่เชื่อกันว่าใครมีไว้ ติดตัวและสักการะบูชาจะมีโชค ปลอดภัย ได้รับความเมตตามหานิยม ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปั๊มความร้อน : ประเภทและประสิทธิภาพพลังงานของปั๊มความร้อนในต่างประเทศ ความโดยสรุปว่า ปั๊มความร้อนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีประสิทธิภาพพลังงาน ต่างกัน ปั๊มความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงจะใช้พลังงานน้อยกว่าปั๊มความร้อน ทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ปั๊มความร้อนกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงควร มีการศึกษาประสิทธิภาพพลังงานของปั๊มความร้อนในท้องตลาด และส่งเสริม ให้ผู้บริโภคใช้ปั๊มความร้อนอย่างถูกต้อง โดยสามารถเลือกใช้ปั๊มความร้อน ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ สูงสุด กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็น หน่วยงานที่ทำการศึกษาและจัดทำค่ามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานใน เครื่องจักรอุปกรณ์และวัสดุ และทำหน้าที่นำเสนอออกเป็นกฎหมาย ออกฉลาก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุประสิทธิภาพสูงต่าง ๆ ได้พยายามสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับปั๊มความร้อน ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์ ทำความร้อนที่มีหลักการและชิ้นส่วนเดียวกับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปัจจุบัน นิยมนำมาใช้ดึงความร้อนจากอากาศภายนอกที่อุณหภูมิทั่วไปแล้วถ่ายเท ให้แก่น้ำ แทนการใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้า การพัฒนาปั๊มความร้อนให้มีประสิทธิภาพพลังงานสูงขึ้นและส่งเสริม ให้มีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานลง ซึ่งจะส่งผลดี ต่อการอนุรักษ์พลังงานในประเทศ โดยคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ในการพัฒนาสินค้า ผู้จำหน่าย ผู้ใช้ และเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เนื้อหาการบรรยายในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายในการสัมมนา เปิดตัวโครงการ “การศึกษาปั๊มความร้อนเพื่อจัดทำประสิทธิภาพพลังงาน ร่างกฎกระทรวงเฉพาะด้าน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน (ฉบับที่ ๒)” จัดโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน กระทรวงพลังงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั๊มความร้อน ประเภทของปั๊มความร้อน การประยุกต์ใช้ปั๊มความร้อน จำนวนปั๊มความร้อนในต่างประเทศ เทคโนโลยี ปั๊มความร้อนในต่างประเทศ และสัมประสิทธิ์สมรรถนะปั๊มความร้อนของ ต่างประเทศ • วันพุธที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ไข้หวัดนก H7N9 ความโดยสรุปว่า เป็นที่ตื่นตระหนกกันพอสมควรเมื่อมีข่าวว่ามีการพบผู้ป่วย ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 ในประเทศจีน และมีผู้เสียชีวิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ กรมควบคุมโรคของจีนได้ยืนยันว่ามีการ ระบาดของไข้หวัดนก H7N9 ในผู้ป่วยทั้งหมด ๓ ราย โดยเป็นผู้ป่วยอายุ ๘๗ ปี และ ๒๗ ปี จากเซี่ยงไฮ้ ส่วนผู้ป่วยอีกรายจากมณฑลอันหุ่ยนั้น มีอาการป่วย รุนแรง ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยมีเพียงการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ มีไข้สูง และไอคล้ายไข้หวัดใหญ่ธรรมดาแต่หลังจาก ๕-๗ วัน ทั้ง ๓ รายได้มีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีอาการปอดบวม อย่างรุนแรง และหายใจลำบาก องค์การอนามัยโรค (WHO) และกรมควบคุม โรคของจีนคาดว่าน่าจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ – ๑๕ มีนาคม และกำลังสืบถึงต้นตอของเชื้อไวรัสว่าได้รับเชื้อมาได้อย่างไร ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น ๗๒ ราย เสียชีวิต ๑๔ ราย และ จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดพบกระจายอยู่ใน ๖ พื้นที่ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ (ผู้ป่วย ๒๔ ราย เสียชีวิต ๙ ราย) เจียงซู (ผู้ป่วย ๒๐ ราย เสียชีวิต ๒ ราย) เจ้อเจียง (ผู้ป่วย ๒๑ ราย เสียชีวิต ๒ ราย) อันฮุย (ผู้ป่วย ๓ ราย เสียชีวิต ๑ ราย) เหอหนาน (ผู้ป่วย ๒ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต) และปักกิ่ง (๒ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต) นอกจากนี้ ยังพบเชื้อ H7N9 โดยไม่ก่อโรครุนแรงในสัตว์ปีก เช่น นกพิราบ ไก่ นกกระทา ในตลาดสดที่เซี่ยงไฮ้และมณฑลใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม มี ผู้ป่วยหลายรายที่ไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยกว่าครึ่งหนึ่ง มีอายุเกิน ๖๐ ปี มีผู้ป่วยเพียง ๒ รายเท่านั้นที่เป็นเด็ก เป็นไปได้ว่าน่าจะมี ผู้ป่วยจำนวนมากกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคนี้ที่จะเกิดขึ้น ได้มีการประสานงานร่วมมือกันพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย และศึกษาความเป็นไปได้ ในการระบาด และยังไม่พบอาการป่วยในคนที่เคยมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับ ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวนหลายพันคน และยังไม่พบหลักฐานที่แสดงการติดต่อ ระหว่างคนสู่คน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะไม่มีการติดระหว่างคน สู่คน สำนักข่าวจีนรายงานว่า ก่อนที่ผู้ป่วยรายแรก อายุ ๘๗ ปี จะป่วยนั้น ผู้ป่วยมีลูกชาย ๒ คนที่มีอาการคล้ายกัน โดยทั้งสองมีอาการปอดบวมเหมือนกัน แต่มีเพียง ๑ คนที่เสียชีวิตจากปอดบวมรุนแรงและระบบการหายใจล้มเหลว ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่กรมสุขภาพของเซี่ยงไฮ้รายงานว่า ไม่พบว่าผู้ป่วย ทั้ง ๒ คนมีการติดเชื้อไวรัส H7N9 องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่า การติดเชื้อ ไข้หวัดนกจากสายพันธุ์ H7 ในคนนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่รายที่ป่วยนั้นจะมี การสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีอาการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๙๖- ๒๐๐๙ นั้น มีรายงานการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7 (H7N2, H7N3 และ H7N7) ในคนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ อิตาลี แคนาดา สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเยื่อตาอักเสบ และอาการคล้ายไข้หวัดเพียง เล็กน้อยเท่านั้น แต่ไวรัสสายพันธุ์ H7N9 นั้น มีเพียงรายงานว่าระบาด ในสัตว์ปีกในประเทศเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไม่เคยพบว่ามี การติดต่อสู่มนุษย์มาก่อน สำหรับการรักษานั้น แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน ป้องกัน แต่กรมควบคุมโรคจีนได้ชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ที่ระบาดในครั้งนี้นี้ยังไม่ดื้อ ต่อยาต้านไวรัส Oseltamivir แต่จะรักษาได้ผลดีมากน้อยเท่าไรจะต้องมีการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=