2718_2218
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ ถาม คำว่า อวด ที่ประกอบเป็นคำอื่นในภาษาไทย เช่น อวดดี อวดตัว อวดรู้ และ อวดอ้าง มีความหมายอย่างไรบ้าง ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า อวด ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึง สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอา ของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่น เข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่ มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ. คำว่า อวดดี หมายถึง ทะนงใจว่าตนดี, ถือดี, แสดงให้เขาเห็นว่าตนดี โดยไม่มีดีจริง ๆ. คำว่า อวดตัว หมายถึง แสดงให้เห็นว่าตัวเองดีกว่า ผู้อื่น. คำว่า อวดรู้ หมายถึง แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบ อวดรู้ทุกเรื่อง. และคำว่า อวดอ้าง หมายถึง พูดแสดงสรรพคุณหรือ คุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกินความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มี อยู่จริงหรือที่บิดเบือนไปจากความจริงมาประกอบ. ถาม คำว่า อึกอัก และ อึก ๆ อัก ๆ มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกัน หรือไม่อย่างไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของ ทั้ง ๒ คำเหมือนกัน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกัก อยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่าเป็นต้น, กระอึกกระอัก ก็ว่า; เสียง อย่างเสียงทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่า แจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า. ถาม คำว่า อึ้ดทึ่ด มีความหมายว่าอะไร ตอบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า อึ้ดทึ่ด ซึ่งเป็นวิเศษณ์ว่า อาการที่พองขึ้นเต็มที่ (ใช้แก่ศพคนหรือสัตว์ บางชนิดที่ตายแล้ว), โดยปริยายหมายถึงอาการที่นอนหรือนั่งตาม สบาย มีลักษณะไปในทางเกียจคร้านเป็นต้น เช่น นอนอึ้ดทึ่ด นั่งอึ้ดทึ่ด. ถาม คำว่า อุดมการณ์ และ อุดมคติ อ่านออกเสียงและมีความหมายว่า อะไร ตอบ ๒ คำนี้ สามารถอ่านออกเสียงได้ทั้ง อุ-ดม-มะ- และ อุ-ดม- เป็น อุ-ดม-มะ-กาน หรือ อุ-ดม-กาน และ อุ-ดม-มะ-คะ-ติ หรือ อุ-ดม- คะ-ติ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความ หมายของคำว่า อุดมการณ์ เป็นคำนาม หมายถึง หลักการ ที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้. ส่วน อุดมคติ เป็นคำนามเช่นกัน หมายถึง จินตนาการที่ถือว่าเป็น มาตรฐานแห่งความดี ความงาม และ ความจริง ทางใดทางหนึ่ง ที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน. ถาม คำว่า อุทธรณ์ หรือ อุธรณ์ คำใดเขียนถูกต้อง และมีความหมาย อย่างไร ตอบ คำเขียนที่ถูกต้องคือ อุทธรณ์ ออกเสียงว่า อุด-ทอน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การนำ มาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ชั้นต้น เรียกว่าศาล อุทธรณ์. แต่ถ้าเป็นคำกริยาที่ใช้ในทางกฎหมาย หมายถึง ยื่นฟ้องหรือ ยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม ราชบัณฑิตยสถาน นางนัยนา วราอัศวปติ เลขานุการกรม นายอภิเดช บุญสงค์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=