2718_2218
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เป็นเมืองขึ้นของพม่า การเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสยาม และการปรับเปลี่ยน ของสังคมและวัฒนธรรมในยุคหลัง ผู้แต่งแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจ ในความเจริญรุ่งเรืองและความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง และบรรยาย การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในด้านลบด้วยความเสียดายและห่วงใยอย่างลึกซึ้ง คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปีเมืองเชียงใหม่ เป็นงานประพันธ์ที่แต่งขึ้นจากการใช้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างละเอียด ถ่ายทอดเป็นบทประพันธ์โดยใช้ ถ้อยคำที่มีความงามทั้งด้านเสียงและความหมาย บรรยายภาพได้ชัดเจน หลายตอนอ่านแล้วสะเทือนอารมณ์ ประพันธ์ ศรีสุตา จิตรกรภาพพิมพ์ไม้แต่งวรรณกรรมร้อยกรอง ๓ เล่ม คือ ก๋ำอ่านม่วนเล่น ใจ๋เต้นสั่นไหว ฮ่ำฮิฮ่ำไฮ โดยใช้คำประพันธ์ ง่าย ๆ ที่มักจะพบในเพลงร้องเล่นของเด็ก และในบทรำพันหรือพรรณนา สิ่งต่าง ๆ ผลงานร้อยกรองของประพันธ์ ศรีสุตาทั้ง ๓ เล่มให้ความรู้ ด้านภาษาท้องถิ่นเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งรวมความรู้ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน อาหารการกิน ความคิดความเชื่อและ ประเพณีของผู้คนในล้านนาไว้อย่างละเอียดและน่าสนใจ เนื่องจากประพันธ์ ศรีสุตาแต่งวรรณกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น จึงใช้ ถ้อยคำสำนวนท้องถิ่นและเขียนตามเสียงพูด พร้อมทั้งจัดทำคำอธิบาย ความหมายไว้ที่เชิงอรรถในตอนท้ายของแต่ละหน้า ประพันธ์ ศรีสุตา มีความรัก ซาบซึ้งในความงามของธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็เสียดายที่คนในท้องถิ่นสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และคนที่ร่ำรวยก็ขาดศีลธรรม ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ด้วยความ ห่วงใยบ้านเมือง ประพันธ์ ศรีสุตา จึงเตือนชาวบ้านว่าทุกคนมีศักดิ์ศรี ไม่ควรหลงเชื่อนักการเมืองจนยอมเป็นทาส และให้ข้อคิดว่าคนที่มีอำนาจ ต้องระวังไม่ให้หลงในอำนาจ เพราะจะกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักบาปบุญ คุณโทษ มีจิตใจเหี้ยมโหดและมืดบอด หลงมัวเมาแต่จะหาทรัพย์สิน อย่างไม่รู้จักพอ เมื่อเปรียบเทียบกันอาจกล่าวได้ว่า วรรณกรรมเรื่อง คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปีเมืองเชียงใหม่ ของ ศ.เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ มีความประณีต ในการใช้ถ้อยคำมากกว่าวรรณกรรมคำร่ำ ๓ เรื่องของประพันธ์ ศรีสุตา แต่วรรณกรรมของกวีทั้ง ๒ คน ก็สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกซาบซึ้ง รักและภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมอันดีงามของแผ่นดิน เกิด ในขณะเดียวกันก็บรรยายความเปลี่ยนแปลงในด้านลบที่เกิดขึ้น ในระยะหลังด้วยความรู้สึกเสียดายและห่วงใยได้อย่างชัดเจนไม่ยิ่งหย่อน กว่ากันเลย • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การทับศัพท์ ภาษาพม่า ความโดยสรุปว่า คำยืมอาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ คำยืมแบบดัดแปลง (คำยืมแบบผสม คำยืมแบบแปลง และคำยืม แบบแปล) กับคำยืมแบบทับศัพท์ ต่อไปนี้จะขอเรียกคำยืมแบบดัดแปลง ว่า คำยืม ส่วนคำยืมแบบทับศัพท์ว่า คำทับศัพท์ คำยืม ต่างจาก คำทับศัพท์ ในข้อใหญ่คือ เจตนาของการนำคำจาก ภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาไทย คำยืมอาจจะมีการดัดแปลงทั้งเสียงและ ความหมาย แต่คำทับศัพท์มุ่งรักษาทั้งเสียงและความหมาย โดยมีการ เปลี่ยนเสียงบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับภาษาของผู้ยืม การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานหมายถึงการใช้อักษรไทยเขียนคำ ที่รับมาจากภาษาต่างประเทศซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน (Roman alphabet) โดยให้ใกล้เคียงกับเสียงภาษาเดิมมากที่สุดเท่าที่อักขรวิธีไทย จะอำนวยให้ และแสดงให้เห็นที่มาของคำนั้นได้ตามสมควร ราชบัณฑิตยสถานได้เคยจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษขึ้น เป็นอันดับแรก และได้ประกาศใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและได้ ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ จากนั้นได้ มีการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ อีก ๘ ภาษา คือ ภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และ มลายู และได้ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อมาราชบัณฑิตยสถานได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์ การทับศัพท์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ เพื่อปรับปรุงแก้ไข หลักเกณฑ์ทั้งหมดให้ทันสมัยและใช้ได้สะดวกตามความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการในปัจจุบัน คณะกรรมการฯ ได้วางหลักการเบื้องต้นไว้ว่า การทับศัพท์ควรยึดการออกเสียงเป็นหลัก เพื่อให้คำทับศัพท์อ่านออกเสียง ได้ใกล้เคียงกับคำในภาษาอังกฤษ ในการจัดทำตารางการเทียบเสียงสระ และพยัญชนะ จึงใช้สัทอักษรเป็นตัวตั้งและกำหนดให้ใช้ตัวอักษรไทย ที่มีเสียงใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ราชบัณฑิตยสถานยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ ขึ้นมาอีกหลายภาษา เช่น ภาษา เวียดนาม เกาหลี ดัตช์ และ พม่า โดยใช้หลักเกณฑ์อันเดียวกันคือ ใช้การ ออกเสียงของภาษาเดิมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในสมัยโบราณเมื่อคนไทยต้องการเขียนคำจากภาษา ต่างประเทศโดยใช้อักษรไทย ก็มักจะใช้การฟังเป็นหลัก เมื่อได้ยินเช่นไร ก็จะเขียนไปเช่นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการดัดแปลงเข้าสู่คำหรือเสียง ของภาษาไทย โดยมิได้คำนึงถึงความหมายในภาษาเดิม วิธีการเช่นนี้ เรียกว่า การลากเข้าความ ไม่ใช่ การทับศัพท์ เช่น Bradley = ปลัดเล Cartwright = ครูกัดไร ในกรณีของภาษาพม่าก็เป็นเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ และอื่น ๆ ดังเช่นที่ปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย- สถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เช่น งาปิ ทวาย ไทยใหญ่ ฉาน พม่า พุกาม พูกาม มรัมเทศ มอญ ม่าน หม่อง ในหนังสือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และ ประกาศราชบัณฑิตย- สถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง มีวิธีการกำหนดชื่อถึง ๓ แบบ ตามความเหมาะสม คือ กำหนดตามที่ใช้ ในภาษาอังกฤษ กำหนดตามที่ภาษาไทยใช้ และกำหนดตามที่เจ้าของชื่อใช้ ในกรณีของประเทศพม่า มีการกำหนดให้ชื่อ Myanmar = พม่า ในที่นี้อักษรโรมันเป็นชื่อที่เจ้าของประเทศใช้ แต่ชื่อในภาษาไทยเป็นชื่อ ที่ไทยใช้เรียกเช่นเดียวกับที่ใช้เรียก กัมพูชา เกาหลี จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ หน้าที่ของคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงชื่อเหล่านี้ แต่มุ่งที่การหาหลักเกณฑ์ การเขียนคำพม่าด้วยอักษรไทย ให้ใกล้เคียงเสียงของภาษาเดิมมากที่สุด เท่าที่อักขรวิธีไทยจะอำนวยให้ และที่สำคัญก็คือ ต้องให้คนไทยสามารถ อ่านได้ตามสมควร ศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง พจนานุกรม ศาสตร์ ความโดยสรุปว่า พจนานุกรมศาสตร์ บัญญัติจากคำว่า lexicography ประกอบจากคำที่มีรากศัพท์จากคำภาษากรีก คือ lexic(on) “พจนานุกรม” + -o- (หน่วยเชื่อมคำประสม) + - graphy “การเขียน; ศาสตร์” ปัจจุบันถือเป็นสาขาวิชาเอกเทศที่แยกจาก ภาษาศาสตร์ประยุกต์ พจนานุกรม Random House Webster’ s Unabridged Dictionary ให้ความหมายของ lexicography ไว้ ๒ อย่าง ดังนี้ ๑. การเขียน ตรวจแก้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=