2718_2218
5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๒ เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ พิมพ์ใหม่เป็นภาษาอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๕๖ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล ในปีเดียวกัน นับเป็นกวีชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ หลังจากนั้น เขาก็ได้รับเชิญไปปาฐกถาในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก งานกวีนิพนธ์ที่เด่นของรพินทรนาถมิใช่มีเพียงคีตาญชลี เขาได้ชื่อว่า เป็น “พ่อมดแห่งถ้วยคำ” เพราะสามารถบันดาลให้คำทั้งหลายสื่อความคิด ของเขาออกมาอย่างมีศิลปะ กินใจ ประทับใจ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะแปล ออกเป็นภาษาใด สาระในกวีนิพนธ์ยังเด่นชัดและมีคุณค่า คงงดงาม ไพเราะเชิงจินตนาการ งานกวีนิพนธ์ชุด Morning Songs แสดงความรัก และความหวังซึ่งเป็นการมองโลกในแง่บวก ต่างกับธรรมเนียมสละโลก ที่ชาวอินเดียมักสื่อออกมาทางวรรณกรรม กวีนิพนธ์บางชุดทิ้งให้ผู้อ่าน ตีความ เช่น ชุด Fruit-Gathering กล่าวถึงการอ่านสารด้วยใจท่ามกลาง ธรรมชาติ นอกจากด้านกวีนิพนธ์แล้วท่านยังมีชื่อเสียงในด้านเป็นนักการศึกษา ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิศวภารตี ขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาตัวอย่างใน พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อให้เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการชาวตะวันตก และตะวันออก มหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ที่ศานตินิเกตัน (Santiniketan) ภายในมหาวิทยาลัยมีต้นไม้ร่มรื่น มักใช้ร่มไม้เป็นห้องเรียน เน้นการพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากกว่าการฟังคำบรรยาย ในด้านนักปรัชญา แม้รพินทรนาถจะเกิดเป็นคนฮินดู แต่ท่านนับถือ พระเป็นเจ้าสากล คือ นับถือพระเป็นเจ้าในศาสนาอื่น ๆ ด้วย และท่าน เน้นเรื่องจิตวิญญาณซึ่งอยู่เหนือความเชื่อทางศาสนา มีผู้กล่าวว่ารพินทรนาถ ฐากุร มุ่งทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าใกล้ชิดกับ มนุษย์ ซึ่งท่านกระทำโดยนำความงามและความรักมาสู่งานเขียนของท่าน เพื่อให้มนุษย์กับพระเป็นเจ้ามาสู่จุดเดียวกัน รพินทรนาถเป็นนักต่อสู้เพื่อยกฐานะสตรี ในผลงานของท่านทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นกวีนิพนธ์ บทละคร เรื่องสั้น ปาฐกถา ท่านพยายามยกปัญหาฐานะและสิทธิสตรี เช่น ประณามพิธีสตี ประเพณี ที่สตรีต้องจ่ายสินสอดเพื่อแต่งงานกับบุรุษ ท่านมหาตมา คานธี ยกย่อง รพินทรนาถว่าเป็น “คุรุเทพ” ด้วยความนับถือในอัจฉริยะของท่าน นับว่า ท่านเป็นชาวเบงกอลที่สร้างชื่อเสียงให้แก่รัฐเบงกอลแก่ประเทศอินเดีย และแก่โลกสากล ชีวประวัติของสวามีวิเวกานันท์และผลงาน สวามีวิเวกานันท์มีนามเดิมว่า นเรนทรนาถ ทัตตะ (Narendranath Datta) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ และถึงแก่มรณกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ รวมอายุ ๓๙ ปี เป็นคนวรรณะกายัสถะ ซึ่งอาชีพดั้งเดิมของวรรณะนี้คือ อาลักษณ์ แต่นเรนทรนาถมาจากตระกูลนักกฎหมายและศึกษาแบบตะวันตก ที่อินเดีย เขากำลังเตรียมจะไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ แต่ เมื่อได้พบรามกฤษณะ (Ramakrishna) ซึ่งเป็นคุรุที่คนเคารพนับถือมาก นเรนทรนาถเกิดความศรัทธาและตัดสินใจบวชเป็นสันนยาสี ซึ่งหมายถึง ผู้สละโลก ศึกษากับรามกฤษณะจนได้นามใหม่ว่า สวามีวิเวกานันท์ เมื่อ ๑๒ ปี ผ่านไป วิเวกานันท์เปลี่ยนเข็มจากนักกฎหมายมาเป็นผู้สอนศาสนาฮินดู แบบเวทานตะ เหตุการณ์ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก คือ การปาฐกถาที่การประชุมสภาโลกว่าด้วยเรื่องศาสนาที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา เขาสามารถพูดให้ชาวตะวันตกเลื่อมใส ณ ที่ประชุมได้ วิเวกานันท์เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีความเป็นพระเป็นเจ้าแฝงอยู่ในตัว มนุษย์ต้องพยายามนำลักษณะดังกล่าวมาใช้เป็นพลัง และช่วยให้เพื่อน มนุษย์กระทำดังนี้ด้วย วิเวกานันท์มิได้ต่อต้านวรรณะในแง่ที่มนุษย์ทุกคนทำตามหน้าที่ ที่ตนถนัด แต่คนซ่อมรองเท้าต้องมีศักด์ศรีเทียบเท่าผู้ศึกษาคัมภีร์พระเวท การแบ่งวรรณะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม แต่ต้องไม่มีวรรณะใดถืออภิสิทธิ์เหนือวรรณะอื่น ๆ และมนุษย์ทุกคน มีหน้าที่สำคัญที่สุดคือ นำประสิทธิภาพของพระเป็นเจ้าที่อยู่ในตัวมาใช้ ในการแสวงความหลุดพ้น วิเวกานันท์เชื่อว่ามนุษย์มี ๒ ด้าน คือ ด้านจิตวิญญาณและ ด้านกายภาพ ด้านความรู้ทางจิตวิญญาณและด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้ง ๒ ต้องเจริญควบคู่กันไป อินเดียมีความเจริญด้าน จิตวิญญาณ ส่วนโลกตะวันตกเจริญทางเทคโนโลยี ถ้าชาวตะวันตก ต้องการเรียนทางจิตวิญญาณก็ต้องมาคุกเข่าต่อครูอินเดีย ถ้าชาวอินเดีย ต้องการความรู้ทางเทคโนโลยีก็ต้องไปคุกเข่าหน้าครูชาวตะวันตก นอกจากความคิดด้านศาสนาและจิตวิญญาณ สวามีวิเวกานันท์ ยังเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่ เขาตั้ง Ramakrishna Mission เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มีสาขาทั่วประเทศและทั่วทุกมุมโลก แม้สวามี วิเวกานันท์จะมรณภาพไปแล้วเป็นเวลา ๑๕๐ ปีเศษ แต่งานทั้งทางด้าน จิตวิญญาณและสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็ยังดำรงอยู่ต่อไป (ปีนี้เป็นปีฉลองวันเกิดครบ ๑๕๐ ปี) สรุปได้ว่า ทั้งรพินทรนาถ ฐากุร และสวามีวิเวกานันท์ เป็นชาวเบงกอล ที่มีชื่อเสียงและมีคุณค่า เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สนใจ ด้านวรรณกรรม ด้านจิตวิญญาณและปรัชญา ศ. ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เรื่อง สำนึกของกวีต่อแผ่นดินเกิด บทพินิจผลงานร้อยกรองของมณี พยอมยงค์ และประพันธ์ ศรีสุตา ความโดยสรุปว่า ล้านนาเป็นดินแดนหนึ่งที่มี ความมั่งคั่งด้านวรรณกรรม นักเขียนล้านนาซึ่งมีทั้งพระและฆราวาสได้ สร้างสรรค์ผลงานเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ กวีและนักเขียนล้านนา หลายคนได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตแบบล้านนาในการบรรยายวิถีชีวิต ของตัวละครในงานเขียนของตน นอกจากนี้ กวีและนักเขียนบางคน ยังตั้งใจสร้างผลงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ในเรื่องความเป็นมาและ วัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนาให้เยาวชนได้ตระหนักในคุณค่าแล้วช่วยกันหา ทางอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป คำว่า สำนึก มีความหมายว่า รู้สึกซาบซึ้ง ผู้บรรยายใช้เป็นคำนาม หมายถึง ความรู้สึกซาบซึ้ง บทความที่เสนอมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า วรรณกรรมร้อยกรองเรื่อง “คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่” ของ ศ.เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ และวรรณกรรม ร้อยกรอง ๓ เรื่อง คือ “ก๋ำอ่านม่วนเล่น ใจ๋เต้นสั่นไหว และฮ่ำฮิฮ่ำไฮ” ของประพันธ์ ศรีสุตา สะท้อนให้เห็นว่าผู้แต่งทั้ง ๒ คนมีความซาบซึ้ง ต่อแผ่นดินเกิดของตนอย่างไร ศ.เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ แต่ง คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปีเมืองเชียงใหม่ เพื่อร่วมฉลองโอกาสครบ ๗๐๐ ปีที่เมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาใน พ.ศ. ๒๕๓๙ คำว่า “คร่าว” ออกเสียงว่า “ค่าว ในที่นี้หมายถึงคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่พบแพร่หลายในล้านนาและ ในกลุ่มไทขึนที่เชียงตุง คำว่า “ร่ำ” ออกเสียงว่า “ฮ่ำ” แปลว่า รำพัน, พรรณนา “คร่าวร่ำ ๗๐๐ ปีเมืองเชียงใหม่” มีความหมายว่า บทประพันธ์ พรรณนา ๗๐๐ ปีเมืองเชียงใหม่ ศ.เกียรติคุณมณีี พยอมยงค์ แต่ง วรรณกรรมเรื่องนี้ขึ้นด้วยความศรัทธาและความรักในถิ่นฐานล้านนา อันเป็นแดนเกิด เสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ล้านนาโดย เฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในเมืองเชียงใหม่ในช่วงเวลา ๗๐๐ ปี (พ.ศ. ๑๘๓๙-๒๕๓๙) อย่างละเอียด ทั้งในเรื่องของการสร้างบ้าน แปลงเมือง ความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนา การสร้างสรรค์วรรณกรรม การสูญเสียเอกราชและสิ้นราชวงศ์มังราย การกู้เอกราชพ้นจากการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=