2718_2218

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน บทละครในเรื่องอิเหนาที่ยังคงเน้นความประณีตงดงามของท่ารำ และความไพเราะของบทร้องเป็นหลัก ส่วนที่ ๒ คือ ความสนุกและ ความขบขัน รวมทั้งการล้อเลียนบุคคลและการกระทำต่าง ๆ ในพระราช- นิพนธ์ บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ ผู้ที่ต้องการนำเสนอวรรณคดีหรือการแสดงโบราณแก่คนในสังคมสมัยใหม่ และสะท้อนพระปรีชาสามารถด้านวรรณคดีและวรรณคดีการแสดงของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างเด่นชัด นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง รูปแบบ ที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า ความโดยสรุปว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยรอบด้าน ที่น่าจะเกิดขึ้น และนำมาสู่การคาดหมายสู่ลักษณะของที่อยู่อาศัยที่จะเป็น ไปในทศวรรษหน้าแล้ว น่าจะประกอบด้วยปัจจัย ๑๐ ประเด็น คือ ก. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิ- ภาพมากขึ้น มีความรวดเร็วขึ้น มีขนาดเล็กลง พลังงานจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ กันอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร อัตราการเพิ่มของประชากร น้อยลง เด็กจะมีความสำคัญมากขึ้น จะมีจำนวนคนชรามากขึ้น ค. การเปลี่ยนแปลงและความคงอยู่ทางด้านวัฒนธรรม สังคมไทย เริ่มมีการหวงแหนวัฒนธรรมของชนชาติบางอย่างมากขึ้น ทำให้คนไทย เริ่มเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของชาติมากขึ้น ง. การกลับสู่ธรรมชาติ ใกล้ชิดธรรมชาติ และเข้าใจธรรมชาติ งานก่อสร้างที่เกิดขึ้นจะหลีกเลี่ยงผลที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น การดึงธรรมชาติเข้ามาใกล้ตัวมาก จ. การคำนึงถึงสุขภาพของผู้อยู่อาศัยจะมีสูงขึ้น มีความ “กลัว การเจ็บป่วย” มากขึ้น เนื่องจากการรับรู้ข่าวสารความทรมานของการ เจ็บป่วยชัดเจนขึ้น ฉ. การคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินจะมากขึ้น เป็นผลจากสังคมวัตถุนิยมจะสร้าง การแสวงหาวัตถุของผู้อื่นอย่างมักง่าย จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ช. การเปลี่ยนแปลงเพราะการย้ายถิ่นฐานของคนไทยมีมากขึ้นและ ถี่ขึ้น การแยกตัวออกจากครอบครัวเพื่ออิสระการใช้ชีวิตจะมีมากขึ้น เหมือนในต่างประเทศ ซ. คนรับใช้ส่วนตัวในบ้านจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะความเจริญ ของสังคม การศึกษาที่มากขึ้น เหมือนกับคำว่า “ทาส และ บ่าว” ในอดีตนั้น ได้หายไปแล้ว ฌ. การเปลี่ยนแปลงเพราะข้อตกลงการค้าข้ามชาติและ WTO จะเป็นเหตุให้มีชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัยในประเทศมาก ญ. การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ของอาคารจะมีมากขึ้น เพราะ อาคารมีอายุยืนและคงทน แต่สังคมเปลี่ยนไป ความต้องการชนิด ของอาคารจึงเปลี่ยนไป จากเหตุและปัจจัยที่กล่าวถึง ๑๐ ประการข้างต้น ลักษณะของ อาคารในทศวรรษหน้าได้จะมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันไปบ้าง ตัวอย่างเช่น ๑. บ้านจะเริ่มมีการตรวจสอบตัวเองได้ เป็นการใช้เทคโนโลยีที่จะใช้ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบบ้านขั้นพื้นฐานได้ เช่น เรื่องของไฟฟ้า รั่ว กำลังจะใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง เปิดไฟฟ้าแสงสว่างทิ้งเอาไว้ เปิดอุปกรณ์ ไฟฟ้าบางอย่างทิ้งไว้นานเกินไป น้ำรั่ว หน้าต่าง-ประตูเปิดค้างไว้ ท่อระบายน้ำกำลังจะอุดตัน มีคนบุกรุกเข้ามาในบ้าน ฯลฯ ๒. การก่อสร้างบ้านจะใช้วัสดุและวิธีกรรมการก่อสร้างสำเร็จรูป มากขึ้น เพราะแรงงานขาดแคลนและมีอัตราค่าแรงมีมากขึ้น แรงงาน ที่ชำนาญน้อยลง ๓. การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและโลกจะนิยมขึ้น หรือบางครั้ง กลายเป็นมาตรฐานหรือกฎหมายบังคับ เพราะกระแสการรักษาธรรมชาติ ๔. ระบบสื่อสารทุกประเภทจะต้องมีพร้อมในบ้านหลังเดียว (หรือแม้ แต่ห้องพักชุดเดียว) เพราะการสื่อสารไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือแพง เกินไปแล้ว ๕. บ้านจะยกพื้นสูงขึ้นและมีระบบป้องกันน้ำท่วมดีขึ้น เพราะหาก กระแสโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นอย่างที่มีความคาดหมาย กันไว้หลายพื้นที่ในเมืองไทย ๖. บ้านจะเป็นมิตรกับผู้พิการ ผู้อาวุโส และเด็กมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเตรียมพื้นที่หรือทางสัญจรต่าง ๆ แก่ผู้อาวุโส เด็กและผู้พิการ ให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างสะดวกและปลอดภัย ๗. ลักษณะบ้านจะมีความเป็นไทยร่วมสมัยมากขึ้นเคารพวัฒนธรรม ท้องถิ่นมากขึ้น ๘. จะมีพื้นที่หรือภาชนะที่สามารถปลูกต้นไม้ได้มากขึ้น โดยจะมีลาน คอนกรีตหรือลานหินที่ตากแดดตากลมน้อยลง ๙. หลังคาแบบ roof garden จะเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะต้องการ พื้นที่สีเขียวมากขึ้น และระบบการก่อสร้าง roof garden มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ๑๐. บ้านมือสองจะขายดีขึ้น เพราะการย้ายถิ่นฐานของคนไทยมีมากขึ้น ๑๑. บ้านต่อไปจะต้องบำรุงรักษาง่าย เพราะมนุษย์ต้องการความ สะอาดมากขึ้นแต่จะมีผู้ช่วยดูแลทำความสะอาดบ้านน้อยลง ๑๒. ที่อยู่อาศัยจะมีขนาดเล็กลง เพราะราคาที่อยู่อาศัยต่อตารางเมตร จะสูงขึ้น มีการใช้ที่ว่างทางตั้งมากขึ้น (vertical used) มากขึ้น ๑๓. ที่อยู่อาศัยจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ง่ายขึ้น เพราะการใช้ชีวิตอาจจะต้องการความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ๑๔. ที่อยู่อาศัยจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโจรมากขึ้น ต้องการระบบป้องกันภัยที่ดีขึ้น ทั้งลักษณะของอาคาร และอุปกรณ์ อัตโนมัติ • วันอังคารที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง รพินทรนาถ ฐากุร และสวามีวิเวกานันท์ ปราชญ์ด้านวรรณกรรมและปรัชญา ชาวเบงกอล ประเทศอินเดีย ความโดยสรุปว่า รพินทรนาถเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ และถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นบุตรชายคนที่ ๑๔ ของมหารษี เทเพนทรนาถ ฐากุร ซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ ครอบครัว ของเขาเป็นผู้มีอันจะกิน รพินทรนาถไม่ชอบการศึกษาในโรงเรียน เขาจึง ได้รับอนุญาตให้ยุติการไปโรงเรียนตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี เขาอยู่บ้านและศึกษา ด้วยตนเอง ฝึกแต่งกวีนิพนธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนและกำลังใจจากบรรดา พี่ชายของรพินทรนาถ ในที่สุด เมื่อรพินทรนาถอายุได้ ๑๙ ปี เขาก็เขียน รวมบทกวีที่ชื่อว่า Evening Songs ที่เมืองจันทรนคร (Chandranagar) และตีพิมพ์เมื่ออายุ ๒๐ ปี หนังสือรวมบทกวีเล่มนี้ได้รับการยกย่อง จากนักวิจารณ์ รวมทั้งนักเขียนชื่อดังในขณะนั้น เช่น บันกิมจันทร์ จัตเตอร์จี (Bankim Chandra Chatterjee) นับแต่นั้นมา ฝีมือการเขียน ของรพินทรนาถก็พัฒนาขึ้นตามลำดับ เมื่อภริยาของเขาและลูก ๒ ใน ๕ คน ของเขาเสียชีวิต รพินทรนาถเขียนบทกวี คีตาญชลี ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษา เบงกาลีใน พ.ศ. ๒๔๕๕ หลังจากนั้นเขาก็แปลเป็นภาษาอังกฤษเอง และ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=