2718_2218

3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๒ เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ตามหน่วยงานต่าง ๆ จึงเป็นงานที่ไม่ได้เกิดจากการวิจัย แต่เกิดจากการ ซื้อระบบสำเร็จมาใช้ ความยุ่งยากของการวิจัยด้านไอซีทีก็คือ นักวิจัย ในสาขาวิชาการอื่น ๆ ที่สนใจใช้ไอซีที มักจะวิจัยงานไอซีทีในเรื่อง ที่ผิวเผินมาก เช่น นักศึกษาปริญญาเอกทางครุศาสตร์ทำวิทยานิพนธ์ เรื่องระบบสารสนเทศโรงเรียน หรือระบบห้องสมุด นักศึกษาปริญญาโท ด้านการจัดการ อาจทำวิทยานิพนธ์เรื่องพฤติกรรมของผู้บริหารเขต การศึกษา หรือแม้แต่อาจารย์ด้านไอซีทีก็ทำวิจัยเรื่องการทำฐานข้อมูล เอกสารใบลาน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรจะทำวิจัยว่างานวิจัยด้านไอซีทีต่าง ๆ ของนักวิจัยไทยนั้น ให้ประโยชน์ต่อวงการไอซีที และสามารถนำไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ดาวหาง แพนสตาร์ส (C/2011 L4) ความโดยสรุปว่า ดาวหางแพนสตาร์ส มีชื่อ ตามกล้องโทรทรรศน์ที่บันทึกภาพดาวหางดวงนี้ได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำเต็มของ Pan-STARRS คือ Panoramic Survey Telescope And Rapid Response System ซึ่งเป็นโครงการ สำรวจท้องฟ้ามีเป้าหมายหลักในการค้นหาดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ที่อาจเป็นภัยคุกคามโลก กล้องดังกล่าวตั้งอยู่ที่ยอดเขาฮาเลอาคาลา (Haleakala) ในหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา C/2011 L4 เป็นชื่อดาวหางตามวิธีตั้งชื่อดาวหางของสหพันธ์ ดาราศาสตร์สากล ซึ่งบอกให้ทราบว่าเป็นดาวหางคาบยาว (C/) ที่ค้นพบ ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน (L) เป็นดวงที่ ๔ ขณะ ค้นพบดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ๗.๙ หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ ระยะดาวเสาร์) มีโชติมาตร ๑๙.๔ ซึ่งริบหรี่มาก ไม่อาจตรวจพบได้ ในกล้องขนาดเล็ก ผลการคำนวณล่าสุดพบว่าดาวหางมีทางโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระยะ ๐.๓ หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณระยะ ดาวพุธ) ในวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ระยะ ๑.๑ หน่วยดาราศาสตร์ โดยระนาบวงโคจร ของดาวหางเอียงทำมุม ๘๔ องศากับระนาบทางโคจรของโลก เวลาค่ำของวันที่ ๙-๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ น่าจะเป็นช่วงที่สังเกต ดาวหางดวงนี้ได้ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย เนื่องจากคาดว่าจะเป็นช่วง ที่ดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด อย่างไรก็ตาม การสังเกต ส่วนหัวของดาวหางแพนสตาร์สอาจยากสำหรับประเทศไทย เพราะดาวหาง ปรากฏให้เห็นได้เฉพาะในเวลาที่มีแสงสนธยา ท้องฟ้าไม่มืดสนิท และ ดาวหางอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าในกลุ่มดาวปลา ถึงกระนั้นเราอาจสังเกตเห็น ส่วนหางที่ทอดยาวขึ้นมาเหนือขอบฟ้าได้ ช่วงสว่างที่สุดดาวหางแพนสตาร์สอาจมีโชติมาตร -๑ สว่างกว่าดาว อังคาร (โชติมาตร ๑) ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน การสังเกตทำได้ตั้งแต่ เวลาหลังดวงอาทิตย์ตก (ภาคกลางของประเทศไทยดวงอาทิตย์ตก ประมาณ ๑๘.๓๐ น.) โดยยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเลือกขอบฟ้า ตะวันตกที่โล่งไม่มีตึกหรือต้นไม้บัง ไม่มีแสงไฟฟ้ารบกวน อาจสังเกต จากอาคารสูง ถ้าท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเมฆบังจะมีโอกาสเห็นดาวหาง แพนสตาร์สด้วยตาเปล่าในช่วงวันที่ ๘-๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระราช- นิพนธ์บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา : การสร้างสีสันให้แก่ยอดของบท ละครใน ความโดยสรุปว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราชทรงพระราชนิพนธ์บทเจรจาละครเรื่องอิเหนาขึ้นในรัชสมัย ของพระองค์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ มีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิต- ปรีชากร และเจ้านายอื่น ๆ ร่วมทรงพระนิพนธ์ด้วย แต่ไม่ได้ทรงระบุบท หรือตอนและพระนามที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ เพื่อพระราชทานแก่คณะ ละครหลวงให้นำไปแสดงละครในเรื่องอิเหนา เนื่องในโอกาสเสด็จเฉลิม พระราชมนเทียรขึ้นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อคราวมีงานสมโภช กรุงเทพมหานครครบ ๑๐๐ ปี พระราชนิพนธ์ บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา นี้ มีเนื้อหาประมาณ ๑ ใน ๓ ของเนื้อหาที่พบในพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือ ตั้งแต่ตอนศึกกะหมังกุหนิง จนกระทั่งถึงตอนสังคามาระตาเตือนสติอิเหนามิให้ทรงแต่เศร้าโศกถึง นางบุษบาที่ถูกลมหอบหายไป มีข้อสังเกตว่าไม่มีฉากทำศึกกะหมังกุหนิง ในพระราชนิพนธ์บทเจรจานี้ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะมีตัวละครตาย ไม่เหมาะ ที่จะนำไปแสดงในโอกาสเฉลิมพระราชมนเทียร ในการพระราชนิพนธ์ บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา ทรงเลือกตัด เนื้อหาตอนสั้น ๆ รวม ๖๖ ตอน จากพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนา ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วทรงพระราชนิพนธ์บท เจรจาละครเรื่องอิเหนาขยายความต่อท้ายแต่ละตอนของพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วที่มีคำสัมผัสคล้องจอง รวมทั้งมีกลอน และโคลงปนอยู่เล็กน้อย ทำให้ไพเราะและช่วยให้ผู้ที่ต้องเจรจาในการ แสดงละครจดจำได้ง่ายขึ้น จากการศึกษาพบว่าทรงพระราชนิพนธ์ไว้รวม ๖๘ ตอน ในจำนวนนี้มี ๒ ตอนที่มิได้ทรงใช้ในการแสดง พระราชนิพนธ์ บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา ต้องใช้ควบคู่กับพระราช- นิพนธ์บทละครในเรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า- นภาลัยเสมอ มีบทบาทสำคัญในการทวนความและขยายความ การทวน ความเป็นการสรุปความสั้น ๆ จากในบทร้องซึ่งเป็นการเจราที่เคยใช้มา แต่เดิมในการแสดงละครในเรื่องต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ เพียงแต่การเจรจา ของเดิมเป็นการเจรจาสด มิได้มีการแต่งไว้ล่วงหน้า พระราชนิพนธ์ บทเจรจานี้จึงเป็นบทเจรจาในการแสดงละครที่แต่งขึ้นเป็นลายลักษณ์ ครั้งแรก ส่วนการขยายความนั้น ทรงมุ่งให้ความขบขันแก่ผู้ชมการแสดง ละครในเป็นสำคัญ ทำให้มีความขบขันแบบละครนอกปนอยู่ในการแสดง ละครในเป็นครั้งแรก ด้วยการเพิ่มบทตลกหรือคำพูดตลกให้แก่ตัวละคร ที่เดิมมีอยู่ในบทละครในเรื่องอิเหนาบ้าง เพิ่มบทตลกหรือคำพูดตลกให้แก่ ตัวละครใหม่ ๆ ที่ทรงเพิ่มเข้าไปเองบ้าง เพิ่มข้าราชบริพารบางคนในราช- สำนักเข้าไปเป็นตัวแสดงในบทละครในครั้งนั้นบ้าง เพื่อทรงล้อเลียน ลักษณะนิสัยของคนเหล่านั้น หรือเพิ่มเรื่องทันสมัยต่าง ๆ ที่เพิ่งมีหรือ นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลงไปในบทละครในเรื่องอิเหนา เช่น ให้จรกา พูดหรือทำท่าทางตลกต่าง ๆ ในตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา ให้อิเหนาขู่นางยุบล ว่ามีไล้อ้อนหรือราชสีห์ฝรั่งอยู่ในป่า ให้อิเหนาชวนจรกาและตัวละครอื่น ๆ ที่ไปในคราวใช้บนเล่นลอนเทนนิส หรือให้นางกำนัลบางคนของบุษบา ตัดเสื้อผ้าที่ห้างแบดแมนซึ่งเป็นห้างที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องอิเหนามีชีวิตชีวา และทำให้ การแสดงละครในเรื่องอิเหนามีสีสัน และผู้ชมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ติดตาม การแสดงละครเรื่องอิเหนาได้อย่างสนุกสนานและไม่เบื่อหน่าย พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อมโลกในละครในเรื่องอิเหนาเข้ากับ โลกของความเป็นจริงในสังคมไทยขณะนั้น โดยไม่ได้ทำให้บทละครใน ของเดิมเสียหาย เพราะนำเสนอด้วยวิธีการแยบคาย คือ ทรงแยก การแสดงออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือ ละครในตามพระราชนิพนธ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=