2718_2218
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ผลิน ภู่จรูญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การคิดทบทวนใหม่ เรื่องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยแนวคิด ความพอดี ที่มีพลวัต (Rethinking Competitive Advantage : Dynamic Optimum Approach) ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันองค์การธุรกิจส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญอย่างมากในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage) ทั้งนี้ เพื่อยึดครองสัดส่วนทางการตลาด ให้เหนือกว่าคู่แข่งมากที่สุด โดยใช้แนวคิดเรื่องกลยุทธ์การแข่งขัน (competitive strategy) ของพอร์เตอร์ (Porter) มาปฏิบัติ ทำให้ต่างมุ่ง แข่งขันกันมากขึ้น และมีการคิดพัฒนาต่อยอดตามแนวคิดมาเป็นลำดับ มีแนวทางที่แต่ละองค์การสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด โดยให้แต่ละองค์การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและ กัน เพื่อสร้างสินค้าและบริการให้ประชาคมโลกบริโภคและใช้ประโยชน์ ร่วมกัน ไม่มุ่งแข่งขันกันพัฒนาสินค้าที่มีราคาแพง ฟุ่มเฟือย หรูหรา ซึ่งองค์การธุรกิจต้องศึกษาสถานการณ์ทั้งภายนอกและภายใน แล้วนำมา กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม จุดเริ่มของกลยุทธ์ในการแข่งขัน (strategic competition) มีหลักการและทิศทางชี้นำให้องค์การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยให้มีการพัฒนาและปรับตัวไปพร้อมกับ สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แนวคิดการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นที่ยอมรับกันอย่างมากในโลกยุคที่ระบบทุนนิยมมีอิทธิพลต่อการ ดำเนินธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์หลักสำคัญ (generic strategy) ประกอบด้วย (๑) กลยุทธ์การเป็นผู้นำในด้านต้นทุน (cost leadership strategy) ให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุน เพื่อเพิ่มกำไรจากการขายสินค้าหรือ บริการในราคาเท่าเดิม (๒) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation strategy) เน้นการสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ เป็นแนวทาง ในการสร้างให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มที่สูงมากขึ้น (value-added) และ (๓) กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจไปที่สินค้า ลูกค้าตลาดเฉพาะ (focus strategy) ให้ความสำคัญเรื่องความชำนาญเฉพาะด้าน ความสนใจพิเศษ ในธุรกิจหรือตลาดที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวทั้ง ๓ ประการนี้ ไม่ได้มีการแยกกันดำเนินงานอย่างเด็ดขาดบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อาจไม่ได้ดำเนินกลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียว เพราะแรงกดดันจากการ แข่งขันและความต้องการของผู้บริโภคที่รุนแรง ทำให้ต้องนำกลยุทธ์ มาผสมผสานกัน ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันมากเกินไป ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม กระทบต่อ ความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีฐานะปานกลาง มีอิทธิพลครอบงำต่อ ความคิด ความเชื่อ และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดผลเสียได้ ดังนั้น แนวคิดความพอดีที่มีพลวัต (dynamic optimum) เป็นการนำ แนวคิดเชิงกลยุทธ์แบบวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเห็นประโยชน์ของส่วนรวมพร้อม ๆ กับประโยชน์ของส่วนตน มองที่ปัจจัย บุคคล สังคม และประเทศชาติ เป็นการสร้างที่เกิดขึ้นบนความสมบูรณ์ ที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับองค์การแบบอย่างยั่งยืน • วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.วรเดช จันทรศร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง รัฐประศาสน- ศาสตร์ ธรรมาภิบาลโลก และธรรมาภิบาลของประเทศไทย ความโดยสรุป ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะเป็นวิชาที่ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน มีความสัมพันธ์กับธรรมาภิบาลโดยตรง ในฐานะที่ธรรมาภิบาลเป็นวิธีการ บริหารราชการเพื่อประโยชน์สุข สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน ธรรมาภิบาลจึงถือเป็นการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ซึ่งเน้นการ ให้ความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชา สังคม ผลการสำรวจธรรมาภิบาลโลกของประเทศต่าง ๆ รวม ๒๗ ประเทศ เปรียบเทียบใน ค.ศ. ๑๙๙๖, ค.ศ. ๒๐๐๕, ค.ศ. ๒๐๐๖ และ ค.ศ. ๒๐๐๙ นำเสนอใน ๖ มิติ ได้แก่ (๑) ความสามารถและพลังของประชาชนในการเลือกผู้ปกครอง ความเป็นอิสระของสื่อสารมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร (voice) และความพร้อมที่จะรับผิดชอบในผลการกระทำของรัฐ (accountability) (๒) ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุนแรง (political stability and absence of violence) (๓) ประสิทธิผลของภาครัฐ (government effectiveness) ในการ กำหนดนโยบายและการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ (๔) หลักของนิติธรรม (rule of law) ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ ศาล (๕) คุณภาพของกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อภาคเอกชน (regulatory quality) และ (๖) ความสามารถในการควบคุมคอร์รัปชัน (control of corruption) การพัฒนาธรรมาภิบาลของแต่ละประเทศและโดยเฉพาะประเทศไทย สามารถทำได้โดยการปรับปรุง ลดจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็งของตัวชี้วัด ต่าง ๆ ในแต่ละมิติของธรรมาภิบาลทั้ง ๖ มิติข้างต้น สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง แนวโน้มของ การวิจัยด้านไอซีทีของไทย ความโดยสรุปว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือไอซีที เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมาก เพราะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อีกเกือบทุกด้าน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านไอซีทีมีอยู่ ๖ ด้าน คือ ๑) การวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานของไอซีทีเอง คือด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และข้อมูล ๒) การวิจัยเกี่ยวกับเครื่องมือ และเทคนิคด้านไอซีที ๓) การวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ ไอซีที ๔) การวิจัยเกี่ยวกับประเด็นการจัดการที่เกี่ยวกับไอซีที ๕) การวิจัย เกี่ยวกับการประยุกต์ไอซีทีทางด้านมนุษย์และสังคม และ ๖) การวิจัย เกี่ยวกับการประยุกต์ไอซีทีในองค์การทุกระดับ และในศาสตร์อื่น ๆ ทุกศาสตร์ การวิจัยของนักวิจัยไทยจำนวนมาก มุ่งเน้นในเรื่องที่ปลีกย่อย และผิวเผิน ไม่ได้มุ่งสร้างองค์ความรู้ในด้านที่สำคัญและในเรื่องที่เป็นการ ผสมผสานประเด็นทั้ง ๖ ด้านข้างต้น ดังนั้น งานวิจัยไอซีทีในประเทศไทย จึงไม่ได้ตอบโจทย์สำคัญในด้านการใช้ไอซีทีของไทย การประยุกต์ไอซีที
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=