2717_9737
7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๑ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้วางผังอย่างไทยเดิม มีศาลาท่าน้ำ แต่สร้างห้องน้ำไว้ในเรือน บ้านพัก อาศัยมีหอขวาง มีหลังคาแฝด และห้องมีพื้นที่กว้าง หากทำหลังคา ตามพื้นที่ หลังจะสูงมาก มีห้องนอน ห้องนั่งเล่น เรือนของเจ้าของบ้าน เรือนของลูกสาว มีห้องสำหรับจัดเลี้ยง และเรือนสำหรับเตรียมอาหาร มีห้องน้ำรวม มีหอนั่ง ๒ หอ หอกลางสำหรับพ่อแม่อยู่อาศัย มีหอรีอยู่ ๒ ข้างสำหรับลูกสาว หอนก และมีศาลาท่าน้ำอยู่ริมแม่น้ำสำหรับนั่งชม ทิวทัศน์ มีลมเย็น และเห็นเรือทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ เรือนใหญ่มีบันขั้นได เป็นบันไดคี่ มีเรือนประดิษฐานอัฐิบรรพบุรุษและเป็นที่ทำบุญบ้าน ในการสร้างบ้าน ได้ถมพื้นให้สูงจากเดิมประมาณ ๑ เมตร ๘๐ เซนติเมตร จึงทำให้พื้นที่ของบ้านสูงกว่าที่อื่น ครั้งที่น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วน้ำท่วมไม่ถึง การก่อสร้างได้ทำฐานรากคอนกรีต ตอกเสาเข็มแล้วนำเสาไม้แดงวางบน ตอหม้อซี่งทำสูงจากพื้นดิน ๑๕ เซนติเมตร นอกชานกว้าง โล่ง ใช้ไม้แดง มีร่องสำหรับฝนตกให้น้ำไหลลง ฝาเรือนใช้ไม้สัก พื้นใช้ไม้แดง เสาใช้ ไม้มะค่า และโครงสร้างใช้ไม้แดง หน้าต่างมีลวดลาย กลางนอกบ้านได้นำ ต้นอินจันทร์ โดยยกทั้งต้นมาปลูก (ต้นไม้ที่จะใช้ปลูกในบริเวณบ้านต้อง แข็งแรง กิ่งไม่หักง่าย ไม่ผลัดใบง่าย และมีดอกหอมยิ่งดี รากไม่ชอนไช มาก) นอกจากนี้ ผู้บรรยายยังได้รวบรวมคติข้อห้ามของคนโบราณ ทางสถาปัตยกรรมไทยไว้โดยชี้แจงเหตุผล ศ.ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง วัฒนธรรมการสร้าง และที่มาของแนวความคิดของวรรณกรรมทักษิณ ความโดยสรุปว่า วรรณกรรมทักษิณที่กล่าวในที่นี้เน้นเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์ที่บันทึก ในหนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลานเท่านั้น โดยประมวลมาจากวรรณกรรม เพียงส่วนหนึ่งที่มีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนวรรณกรรมที่มีอยู่ จำนวนมาก คำตอบที่ได้จึงยังคงต้องมีการศึกษาค้นคว้าอีกต่อไป วรรณกรรมทักษิณที่บันทึกในหนังสือบุดและใบลานอันเป็นวัฒนธรรม เดิมก่อนที่การพิมพ์แพร่หลาย ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าใครคือผู้แต่ง และแต่ง เมื่อใด ตอนท้ายเรื่องมักบอกชื่อผู้สร้างซึ่งหมายถึงผู้แต่ง ผู้เขียน ผู้คัดลอก หรือผู้ใช้ทุนทรัพย์และการจัดการให้มีการแต่งหรือให้คัดลอกวรรณกรรมก็ได้ คตินิยมในการสร้างก็เพื่อเป็นพุทธบูชาเพราะเป็นทุนและทางให้เกิดปิติสุข และเป็นวิทยาทาน ให้แก่กุลบุตรกุลธิดาสวดอ่านเพื่อการศึกษาเล่าเรียน อีกด้วย สำหรับแนวความคิดของวรรณกรรมทักษิณ มีทั้งแนวความคิดที่รับ มาจากอินเดีย แนวความคิดที่ได้รับมาจากราชธานี และแนวความคิดที่เกิด ขึ้นภายในท้องถิ่น แนวความคิดที่รับมาจากอินเดียเป็นแนวความคิดที่ผ่อง ถ่ายมาจากวัฒนธรรมฮินดู ได้แก่ คติพราหมณ์ คติพราหมณ์อันผสมผสาน กับคติทางพุทธศาสนา และคติพุทธศาสนา วรรณกรรมที่มีแนวความคิดนี้ เช่น บทขับเรียกผีตายาย บทโองการพระอิศวร ตำนานสร้างโลกฉบับบ้าน ป่าลาม นางโภควดี พระปรมัตถ์ คำกาพย์ พระพุทธโฆษาจารย์ คำกาพย์ พระนิพพานโสต คำกาพย์ ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ฯลฯ ด้านแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากราชธานี หรือรับมาจาก เมืองหลวง หรือเมืองศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมของไทย ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ เช่น วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิ พระร่วงฉบับบ้านกระบี่น้อย พระมาลัย คำกาพย์ วรรณกรรมชาดก รามเกียรติ์ โลกนิติคำโคลง ฯลฯ ส่วนแนวความคิดที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น เป็นแนวความคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ แรงบันดาลใจในเหตุการณ์ต่างๆ หรือจากญาณทัศนะของผู้แต่ง เช่น วรรณกรรมเรื่องนายดัน คำกาพย์ วันคาร คำกาพย์ เจ็ดจา คำกาพย์ ป้องครก คำกาพย์ ภาษิตลุงสอนหลาน สรรพลี้หวน ฯลฯ • วันอังคารที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เมื่อไตรภูมิ พระร่วงไม่ได้มีอิทธิพลต่อวรรณคดีและศิลปกรรมไทย ความโดยสรุปว่า ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ พระเจ้าลิไท เป็นวรรณคดีโลกศาสตร์ เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย เนื้อความกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วงว่าด้วยภูมิทั้ง ๓ ก็จริง แต่ก็ได้แทรกนิพพานภูมิไว้ในเรื่องอยู่หลายตอน ไตรภูมิพระร่วง คงไม่ได้รับความนิยมจากชาวสุโขทัยมากนัก ดังจะเห็นได้จากงานนิพนธ์ ของพระสังฆราชเมธังกร พระอาจารย์ของพระเจ้าลิไท ที่มีชื่อว่า โลก- ทีปกสาร ไม่ได้อ้างไตรภูมิพระร่วงในฐานะที่มาเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ พระเจ้าลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงเป็นภาษาไทย มิใช่เป็น ภาษาบาลีตามขนบที่ปฏิบัติกันมา นอกจากนี้ สภาพของบ้านเมืองที่ไม่สงบ มีสงครามกับกรุงศรีอยุธยาอยู่เสมอ ทำให้ไตรภูมิพระร่วงไม่เป็นที่แพร่หลาย เท่าที่ควร ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการรจนาไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาทั้ง ๒ สำนวน ก็มิได้มีการอ้างถึงไตรภูมิพระร่วงในฐานะเป็นที่มา หากจะกล่าวว่า ไตรภูมิพระร่วง ไม่ได้เป็นที่รู้จักของชาวอยุธยาเลย ก็ไม่น่าจะผิดความจริงนัก เมื่อเป็นเช่นนั้น ไตรภูมิพระร่วงก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่อศิลปกรรมของไทยเช่นกัน ชาวสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ มีโอกาสที่จะรู้จักเรื่องราว ในไตรภูมิ เช่น นรก สวรรค์ ป่าหิมพานต์ จากพระไตรปิฎก พระสูตร และ วรรณกรรมโลกศาสตร์ ๙ เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่แพร่หลายในขณะนั้น และ เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักดี ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย เนื้อเรื่องมีการเรียบเรียงอย่างสมบูรณ์และมีสัมพันธภาพตั้งแต่ต้นจนจบ รศ.มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง Metamor- phosis-การเปลี่ยนรูปในตำนาน ความโดยสรุปว่า กระบวนการเปลี่ยนรูป มี ๒ แบบด้วยกัน ได้แก่ การเปลี่ยนรูปทางชีววิทยาที่เป็นปรากฏการณ์ แบบค่อยเป็นค่อยไป ตัวอย่างเช่น การที่หนอนผีเสื้อมีการเปลี่ยนรูป หลายขั้นตอน จากตัวอ่อนเป็นดักแด้ จนกลายเป็นผีเสื้อ ซึ่งแตกต่าง จากการเปลี่ยนรูปในตำนานหรือนิทานซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบฉับพลัน การเปลี่ยนรูปแบบนี้มักเป็นผลที่เกิดจากเวทมนตร์หรือคำสาปของพ่อมด แม่มด ผู้วิเศษ ซึ่งจะเปลี่ยนรูปจากคนหรืออมนุษย์เป็นสัตว์/สัตว์ประหลาด ต้นไม้ ดอกไม้ วัตถุ เป็นการลงโทษหรือให้รางวัล อาจเป็นการเปลี่ยนรูป แบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ การเปลี่ยนรูปนี้พบเห็นได้มากในตำนานและ นิยายนิทานของชาติต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มนุษย์สร้างเรื่องราวขึ้นมา เพื่อพยายามอธิบายที่มาของตนเองและสิ่งต่าง ๆ ในโลก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=