2717_9737

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษาด้วย โดยมีหลัก และข้อสังเกตกว้าง ๆ ดังนี้ ๑. สมญาอาจตั้งตามอาชีพ ฐานะทางสังคม หรือตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น เช่น Doc (< doctor) – สมญาสำหรับแพทย์ ๒. สมญาอาจตั้งตามรูปร่าง ลักษณะทางกาย หรือลักษณะที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ถือเป็นภาษาที่ไม่สุภาพ สื่อถึงความดูหมิ่น เย้ยหยัน เช่น Fatso – สมญาสำหรับคนอ้วน แต่บางชื่ออาจสื่อความหมายในเชิงบวก เช่น Blondie – สมญาสำหรับหญิงผมบลอนด์ ๓. สมญาอาจตั้งตามบุคลิกลักษณะ เช่น Chatterbox – สมญา สำหรับคนที่ช่างพูดช่างคุย พูดไม่หยุด ๔. สมญาอาจตั้งเพื่อบ่งบอกถึงระดับสติปัญญาหรือความรู้ความสามารถ แต่มักใช้ในลักษณะเสียดสี เช่น Encyclopedia – สมญาสำหรับผู้ที่แสดง ความรอบรู้ ๕. สมญาอาจตั้งเพื่อบ่งบอกถึงนิสัย พฤติกรรม หรือกิริยาอาการ ที่แปลกหรือไม่ปรกติของบุคคลนั้น เช่น Nerd – สมญาสำหรับคนฉลาด แต่มีบุคลิกลักษณะหรือนิสัยประหลาด นายวินัย ภู่ระหงษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ลักษณะของ ความหมายในกวีนิพนธ์ : การวิเคราะห์ตามแนวของ I.A. Richards ความโดยสรุปว่า ลักษณะของความหมายในกวีนิพนธ์ : การวิเคราะห์ ตามแนวของ I.A. RICHARDS มี ๔ อย่าง ดังนี้ (๑) สาร (sense) คือความหมายทางเนื้อหา นอกจากเป็นความหมาย โดยตรงแล้ว ยังเป็นความหมายที่ก่อให้เกิดความนึกคิดบางประการ ที่ผู้แต่ง ต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวกับข้อความนั้น ๆ เช่น ความเข้าใจโลกและชีวิต ความเข้าใจมนุษย์ ความหมายลักษณะนี้เกิดจาก นัยแห่งความหมายที่แฝงอยู่ในถ้อยความ ทั้งในบทประพันธ์บทหนึ่ง ๆ หรือ บทประพันธ์โดยตลอดทั้งเรื่อง (๒) ความรู้สึก (feeling) คือความหมายทางอารมณ์ อันเป็นภาวะ ที่เกิดขึ้นในใจของผู้อ่าน เมื่อได้อ่านบทประพันธ์หนึ่ง ๆ ภาวะนั้นประกอบ ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ (๓) น้ำเสียง (tone) คือความหมายด้านทัศนคติหรือท่าทีของผู้แต่ง ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง น้ำเสียงมีหลายลักษณะ มีทั้งชื่นชม อ่อนโยน จริงจัง เคร่งเครียด เคียดแค้น เศร้าหมอง ขมขื่น ประชด เยาะหยัน เหล่านี้ ปรากฏแฝงอยู่ในถ้อยคำ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา (๔) ความมุ่งหมาย (intention) คือความตั้งใจของผู้แต่งซึ่งแสดง ออกมาในบทประพันธ์ทั้งโดยจิตสำนึกที่แต่งเช่นนั้น หรือ โดยอำนาจ ของจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นความหมายแฝงอยู่ในเนื้อหา (sense) ความรู้สึก (feeling) หรือน้ำเสียง (tone) ตัวอย่างการวิเคราะห์บทพรรณนายุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวร มหาราชกับพระมหาอุปราชาในลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวร มหาราชตรัสเชิญชวนพระมหาอุปราชาให้ทรงกระทำยุทธหัตถี ความหมายของเนื้อหาของบทพรรณนาตอนนี้คือ คำประกาศท้า อย่างห้าวหาญขอทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแก่พระมหา อุปราชา โดยอ้างเหตุผลอันเหมาะสมยิ่ง ต่อจากนั้นภาพการต่อสู้ของจอมทัพ ผู้มีฝีมือทัดเทียมกันก็เริ่มขึ้น ในที่สุดพระมหาอุปราชาเพลี่ยงพล้ำต้องพระแสง ของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรสิ้นพระชนม์เหนือคอช้าง สารอันเกิดจากความหมายทางเนื้อหาของกระบวนความนี้ มีหลายประการ กล่าวคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีน้ำพระทัย เยือกเย็นสุขุม กล้าหาญ มิได้หวาดหวั่นแม้อยู่ท่ามกลางข้าศึก ทรงเป็นผู้ยิ่ง ด้วยการรู้จักมนุษย์และจิตของมนุษย์ โดยเฉพาะทรงรู้จักพระมหาอุปราชา เป็นอย่างดีทั้งพระนิสัยและน้ำพระทัย รวมทั้งทรงเป็นผู้เลิศด้วยวาทศิลป์ วาทะที่ทรงเชิญชวนพระมหาอุปราชาให้ทรงกระทำยุทธหัตถี จึงมีทั้งไพเราะ อ่อนน้อม ท้าทาย อ้างสมด้วยเหตุผล ยั่วยุให้คู่ต่อสู้ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ สูงเสมอกัน ที่ต้องรักศักดิ์ศรีของตนและของประเทศ ออกต่อสู้ตัวต่อตัว อย่างสมพระเกียรติ ประการที่สอง พระมหาอุปราชาในฐานะที่เป็นกษัตริย์รัชทายาท ประเทศที่มีข้าขอบขัณฑสีมาจำนวนหลายชาติ หลายเผ่าพันธุ์ อีกทั้งบรรดา ข้าขอบขัณฑสีมาเหล่านั้นเป็นแม่ทัพร่วมมาในกองทัพด้วย ทำให้พระมหา อุปราชาไม่อาจปฏิเสธคำท้าทายชวนกระทำยุทธหัตถีได้ อีกประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนคือ การตายในสนามรบ เป็นการตายที่น่าภาคภูมิควรแก่การชื่นชมและยกย่องสมเกียรติแห่งนักรบ ดังภาพพระมหาอุปราชาขาดคอช้างสิ้นพระชนม์ ด้วยลีลาที่งดงามของโคลง สร้างภาพที่สง่างามสมพระเกียรติ ไม่เป็นภาพ ที่สร้างความหดหู่ใจใด ๆ และถ้อยคำที่แสดงให้เห็นคติในข้อนี้คือการถวาย พระเกียรติแด่จอมทัพผู้เป็นขัตติยะ คือสารสำคัญของบาทสุดท้ายที่ว่า “วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์” ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือความตื่นตาตื่นใจในภาพการต่อสู้ระหว่างวีรบุรุษ ทั้งสองที่สมเสมอกันทั้งฐานันดรศักดิ์และฝีมือการรบ อันแสดงให้เห็น ท่วงท่าที่สง่างามทั้งสองพระองค์ และในความตื่นตาตื่นใจไปกับภาพที่วาดไว้ อย่างชัดเจนราวกับได้เห็นภาพด้วยตนเองฉะนั้น ความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อ่านคือ ความรู้สึกชื่นชม ภาคภูมิใจในวีรบุรุษของชาติ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงประสบชัยชนะ และความรู้สึกสงสาร พระมหาอุปราชาที่เพลี่ยงพล้ำขาดคอช้างสิ้นพระชนม์ น้ำเสียงหรือท่าทีที่ปรากฏให้เห็นได้ ในกระบวนความพรรณนาตอนนี้ คือ เจตนาของผู้นิพนธ์แม้จะทรงถวายพระเกียรติจอมทัพทั้งสองว่าทรงเป็น วีรบุรุษผู้กล้าหาญสูงด้วยฐานันดรศักดิ์ มีฝีมือทัดเทียมเสมอกัน แต่การ เปรียบช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรฯ เสมอด้วยสมิทธิมาตงค์ของ พระอินทร์ เปรียบช้างของพระมหาอุปราชาว่าเป็นช้างศิริเมขล์ของพญา วัสวดีมาร การนำตัวละครที่เป็นศัตรูกันในวรรณคดีมาเปรียบเป็นคู่ คือพระอินทร์ กับไพจิตราสูร พระรามกับทศกัณฐ์ เป็นเชิงแนะให้ผู้อ่านนึกเปรียบเทียบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา แสดงให้เห็นทัศนะ ของผู้นิพนธ์ที่มีต่อสมเด็จพระนเรศวรฯ และพระมหาอุปราชา แตกต่างกัน เป็นตรงข้ามอย่างชัดแจ้ง นั่นคือแสดงเจตนาที่ยกย่องสมเด็จพระนเรศวร มหาราชว่าเหนือพระมหาอุปราชาในทุกประการ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น เพื่อสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นประการสำคัญ และเพื่อให้มีงาน ประพันธ์ที่ไพเราะเป็นเครื่องสำเริงอารมณ์ พร้อมทั้งขอให้บัณฑิตทั้งหลาย ช่วยพิจารณาติชมหรือแต่งเติมดังที่แถลงเจตนาไว้แต่ต้น ฉะนั้น ความหมายด้านเจตนารมณ์ผู้นิพนธ์ เฉพาะกระบวนความตอนนี้ ก็อาจกล่าวได้ว่า ประสงค์จะแสดงพระเกียรติยศแห่งสมเด็จพระนเรศวร มหาราชให้เป็นที่ปรากฏในความเป็นเลิศ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติแห่งจอมทัพ ผู้สูงด้วยฐานันดรศักดิ์นั่นเอง • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง สถาปัตยกรรม เรือนหมู่เครื่องสับ ความโดยสรุปว่า ประธานกรรมการบริษัท เกียรติชัย ขนส่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีกิจการรับส่งน้ำมันทั่วประเทศ ได้ว่าจ้างผู้ บรรยายออกแบบและสร้างบ้านเรือนไทยหมู่ ๙ ให้ เนื่องจากประสงค์ให้ สร้างเรือนแบบย้อนยุค มีใต้ถุนโล่ง และอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรือนไทย ต้องหันหน้าเข้าแม่น้ำเนื่องจากคติโบราณสัญจรทางแม่น้ำ เรือนที่สร้างขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=