2717_9737

5 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๑ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี (บาท) ของประชากร พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่เรียงตามลำดับ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุดคือ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังเรียงตามลำดับรายได้จากมากไปน้อยในระดับจังหวัดและระดับ ประเทศ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรในจังหวัดสมุทรสาครมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๒ ของประเทศ ในจังหวัดนนทบุรี มีรายได้เป็นลำดับที่ ๖ และเป็นลำดับที่ ๒๐ ของประเทศ ภาคกลาง ประชากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีรายได้เป็นลำดับ ที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๓ ของประเทศ จังหวัดอ่างทองมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๖ และเป็นลำดับที่ ๓๓ ของประเทศ ภาคตะวันออก ประชากรในจังหวัดระยองมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๑ ของประเทศ จังหวัดสระแก้วมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๘ และเป็นลำดับที่ ๕๑ ของประเทศ ภาคตะวันตก ประชากรในจังหวัดราชบุรีมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๑๔ ของประเทศ จังหวัดสมุทรสงครามมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๖ และเป็นลำดับที่ ๔๐ ของประเทศ ภาคเหนือ ประชากรในจังหวัดลำพูนมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๑๒ ของประเทศ จังหวัดแพร่มีรายได้เป็นลำดับที่ ๑๗ และเป็นลำดับที่ ๕๙ ของประเทศ ภาคกลาง ประชากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีรายได้เป็นลำดับ ที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๓ ของประเทศ จังหวัดอ่างทองมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๖ และเป็นลำดับที่ ๓๓ ของประเทศ ภาคตะวันออก ประชากรในจังหวัดระยองมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๑ ของประเทศ จังหวัดสระแก้วมีรายได้ เป็นลำดับที่ ๘ และเป็นลำดับที่ ๕๑ ของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรในจังหวัดขอนแก่นมีรายได้เป็น ลำดับที่ ๑ ของภาค และเป็นลำดับที่ ๓๘ ของประเทศ จังหวัดอำนาจเจริญ มีรายได้เป็นลำดับที่ ๑๙ และเป็นลำดับที่ ๗๖ ของประเทศ ภาคใต้ ประชากรในจังหวัดภูเก็ตมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑ ของภาค และ เป็นลำดับที่ ๑๐ ของประเทศ จังหวัดปัตตานีมีรายได้เป็นลำดับที่ ๑๔ และ เป็นลำดับที่ ๕๔ ของประเทศ จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีสูงสุดคือ จังหวัดระยอง จำนวนเงิน ๑.๐๕๒,๕๗๕ บาท ที่มีรายได้ลำดับกลางคือ จังหวัดขอนแก่น จำนวนเงิน ๘๒,๒๑๑ บาท และที่มีรายได้ลำดับต่ำสุดคือ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน เงิน ๓๕,๙๘๖ บาท การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๑ เนื้อที่ของที่ดินประกอบด้วย เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร เนื้อที่ป่าไม้ และเนื้อที่นอกการเกษตร เนื้อที่ถือครองทางการเกษตร พ.ศ. ๒๕๔๗ มีเนื้อที่ถือครองทางการ เกษตรน้อยที่สุดคือ ๑.๒๒๑,๔๗๗ ไร่ ส่วน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเนื้อที่ถือครอง ทางการเกษตรมากที่สุดคือ ๑.๓๗๑,๙๕๙ ไร่ เนื้อที่ป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุดคือ ๕๐๐,๘๗๕ ไร่ ส่วน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒ มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดคือ ๖๑๕,๔๐๑ ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดินทางการเกษตร พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ ซึ่งเป็น ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. ๒๕๔๘ มีเนื้อที่ถือครอง ทางการเกษตรน้อยที่สุดคือ ๑,๒๔๘,๘๔๖ ไร่ ส่วน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเนื้อที่ ถือครองทางการเกษตรมากที่สุดคือ ๑,๓๗๑,๙๕๙ ไร่ • วันอังคารที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “นิคเนม” ในภาษา อังกฤษ ความโดยสรุปว่า nickname เมื่อใช้เป็นคำนาม มีความหมายดังนี้ ๑. ชื่อเรียกโดยย่นย่อหรือแผลงมาจากชื่อตัว (หรือชื่อต้น) ที่เป็น ชื่อจริงของบุคคล และใช้เรียกแทนชื่อจริงของบุคคลนั้น เพื่อแสดงความ เป็นกันเองหรือความเอ็นดู หรือโดยเสน่หา เป็นต้น ๒. ชื่อเรียกบุคคล สัตว์เลี้ยง สถานที่ หรือวัตถุ ที่ใช้แทนหรือใช้ควบคู่ กับชื่อจริง และบ่งบอกลักษณะเด่นหรือเฉพาะของบุคคล สัตว์เลี้ยง สถานที่ หรือวัตถุนั้น อาจใช้เรียกเพื่อแสดงความเป็นกันเองหรือโดยเสน่หา เพื่อ ยกย่องหรือแสดงความชื่นชม เพื่อล้อเลียนหรือแสดงความเหยียดหยาม เป็นต้น คำว่า nickname ยังอาจใช้เป็นคำกริยา เพื่อสื่อความหมายว่า “ตั้งสมญาให้” ลักษณะของ nickname ในความหมายว่า “ชื่อเล่น” nickname ในภาษาอังกฤษ เมื่อใช้ในความหมายที่เทียบได้กับ “ชื่อเล่น” ในภาษาไทย จะดัดแปลงจากชื่อจริงซึ่งเป็นชื่อในรูปเต็ม ตามปรกติจะไม่มีชื่อเล่นที่ตั้งโดยอิสระอย่างในภาษาไทย ชื่อเล่นจากชื่อจริง แต่ละชื่ออาจมีรูปคำมากกว่า ๑ รูป แต่ละรูปนิยมใช้กันมาจนเป็นมาตรฐาน ซึ่งมีบันทึกไว้พจนานุกรมฉบับที่ไม่ลดทอนข้อมูล (unabridged dictionary) เช่น Matthew > Matt, Judith > Judy, Judie วิธีการดัดแปลงชื่อเต็มเป็นชื่อเล่น พอจะสรุปเป็นหลักและข้อสังเกต อย่างกว้าง ๆ ได้ดังนี้ ๑. ชื่อเล่นได้จากการตัดส่วนท้ายของชื่อเต็ม ส่วนใหญ่จะตัดส่วนท้าย ของชื่อเต็มจนเหลือส่วนต้นเพียงพยางค์แรก โดยอาจดัดแปลงตัวสะกด ให้ออกเสียงตรงกับพยางค์แรกของชื่อเต็ม เช่น Daniel > Dan บางชื่อ อาจตัดจนเหลือส่วนต้นที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ก็ได้ เช่น Alexander >  Alex, Alec บางชื่ออาจมีการดัดแปลงตัวสะกดและ/หรือวิธีออกเสียง เช่น Geoffrey > Geoff, Jeff ๒. ชื่อเล่นได้จากการตัดส่วนต้นของชื่อเต็ม บางชื่ออาจตัดจนเหลือ ส่วนท้ายเพียง พยางค์เดียว เช่น Andrew > Drew บางชื่ออาจตัดจนเหลือ ส่วนท้ายที่มีมากกว่า ๑ พยางค์ก็ได้ เช่น Anthony > Tony ๓. ชื่อเล่นได้จากการตัดทั้งส่วนต้นและส่วนท้ายของชื่อเต็ม สำหรับ ชื่อบางชื่อ ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย อาจตัดทั้งส่วนต้นและส่วนท้ายจนเหลือเพียง พยางค์ส่วนตรงกลาง เช่น Ezekiel > Zeke ๔. ชื่อเต็มบางชื่ออาจเอื้อให้ตัดส่วนต้นก็ได้ หรือส่วนท้ายก็ได้ เพื่อใช้ เป็นชื่อเล่น เช่น Abraham > Ham (ตัดส่วนต้น), Abe (ตัดส่วนท้าย) ๕. ชื่อเล่น ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ได้จากการเติมปัจจัยประเภท diminutive คือ -ie หรือ -y (ซึ่งสื่อถึงขนาดเล็ก ความน่ารักน่าเอ็นดู หรือความสนิทสนมคุ้นเคย) เข้าท้ายชื่อเต็ม หรือชื่อที่ย่นย่อหรือดัดแปลง จากชื่อเต็ม ชื่อเล่นในลักษณะนี้มักใช้เรียกเด็ก ๆ โดยญาติมิตรหรือบุคคล ที่รู้จักมักคุ้นหรือใกล้ชิดกัน แต่ที่ใช้เรียกติดปากจนเจ้าของชื่อเติบใหญ่แล้ว ก็มี อยู่ทั่วไปเช่นกัน เช่น Jane > Janey, Deborah > Deb > Debbie ๖. ชื่อเล่นบางชื่ออาจแตกต่างอย่างมากจากชื่อจริง เช่น Barbara > Babs, Charles > Chuck ๗. ชื่อเล่นเดียวกันอาจมาจากชื่อเต็มที่ต่างกันหลายชื่อ เช่น Bert < Albert หรือ Gilbert หรือ Hubert หรือ Robert ๘. ชื่อเต็มเดียวกันอาจมีชื่อเล่นต่างกันหลายชื่อ หรือชุดชื่อเล่นที่ต่างกัน หลายชุด เช่น Margaret > Maggie, Marge, Margie, Moll ๙. ชื่อเล่นของบุคคลบางครั้งอาจใช้ร่วมชื่อจริงได้ด้วย (โดยใส่ชื่อเล่น ไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ) เช่น Edward “Ted” Kennedy ลักษณะของ nickname ในความหมายว่า “สมญา(นาม)” หรือ “ฉายา (นาม)” สมญามักได้จากที่ผู้อื่นตั้งให้ สมญาหลายอย่างก็มีธรรมเนียมในการตั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=